งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี
การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี อาจารย์พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง บัณฑิตวิทยาลัยสาขาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

2 การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี
จุดประสงค์การศึกษา เสนอแนวทางในการคำนวณภาษี อัตราภาษีรายได้ และการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของกระแสเงินหลังหักภาษี การประมาณกระแสเงินสดก่อนหลังภาษีเพื่อเปลี่ยนเป็นกระแสเงินสดหลังหักภาษีเกี่ยวข้องกับการปรารถนา ผลกระทบของภาษีซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจ เปรียบทางเลือกเพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด โดยวิธี PW, AW และ ROR จะได้นำมาพิจารณาจากกระแสเงินหลังหักภาษี นอกจากนั้นผลกระทบของภาษียังมีผลต่อการวิเคราะห์การทดแทน

3 การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
รายได้เบื้องต้น (Gross income: GI) หมายถึง ผลรวมของรายได้จากผลผลิตของบริษัทและรายได้จากแหล่งอื่นๆ เช่น การขายทรัพย์สิน การขายลิขสิทธิ์ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ รายได้จะถูกแสดงในบัญชีงบกำไรขาดทุนในส่วนของรายได้ ภาษีรายได้ (Income Tax) หมายถึง จำนวนภาษีที่คิดจากรายได้ ซึ่งจะต้องส่งภาษีให้กับตัวแทนของรัฐบาล ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน (Operating expenses; E) หมายถึง ผลรวมของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจาการดำเนินธุรกิจ ค่าใช้จ่ายเป็นส่วนลดภาษี

4 การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
จำนวนของ GI และ E ต้องทำการประมาณเพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่าย = GI – E รายได้ที่ทำไปคิดภาษี (Taxable income; TI) รายได้สุทธิที่จะนำไปคิดภาษีสำหรับบริษัท ค่าเสื่อมราคา (D) และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะถูกนำมาคิด TI = รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่ายดำเนินการ – ค่าเสื่อมราคา TI = GI – E – D [14.1]

5 การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
อัตราภาษี (Tax rate; T) เปอร์เซ็นต์ของภาษี และภาษีสามารถคำนวณได้จากสมการ Taxes = ภาษี = รายได้ที่นำไปคิดภาษี  อัตราภาษี Taxes = (TI) (T) [14.2] กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Net profit after taxes; NPAT) จำนวนเงินที่เหลืออยู่ในแต่ละปีของรายได้ที่หักภาษีแล้ว NPAT = รายได้ที่นำไปคิดภาษี – ภาษี = TI – (TI) (T) NPAT = (TI) (1-T) ตาราง 14.1 หน้า 260

6 การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
อัตราภาษีแบบก้าวหน้า จะทำให้ธุรกิจขนาดเล็กมีข้อได้เปรียบอยู่เล็กน้อย เนื่องจากการคำนวณภาษีแบบข้างต้น มันยากสำหรับคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ TI ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ ซึ่งใช้อัตราภาษีเฉลี่ยซึ่งสามารถคำนวณได้ดังนี้ อัตราภาษีเฉลี่ย (Average tax rate) = taxes/TI [14.4]

7 การคำนวณภาษีรายได้ (Income Tax)
จากที่กล่าวมาเบื้องต้นภาษีประกอบด้วยภาษีสหพันธ์ ภาษีของรัฐ และภาษีท้องถิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการคำนวณ เราจะใช้อัตราภาษีเดี่ยวที่เรียกว่า อัตราภาษีที่แท้จริง (effective tax rate; Te) ซึ่งอัตราภาษีที่แท้จริงสามารถคำนวณได้ดังนี้ Te = state rate + (1-staterate)(federal rate) [14.5] Taxes = (TI) (Te) [14.6] ตัวอย่าง 14.1 หน้า 261

8 กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
จะเห็นว่ากระแสเงินสดสุทธิ (net cash flow ; NCF) หมายถึง กระแสเงินสดจริงของแต่ละปี ซึ่งคำนวณจากกระแสเงินสดรับคูณด้วยกระแสเงินสดจ่าย เนื่องจาก NCF จะถูกนำมาใช้ประเมินทางเลือกโดยวิธี PW, AW, ROR และ B/C ในบทนี้กระแสเงินสดสุทธิจะต้องถูกคำนวณใหม่โดยมีการพิจารณาค่าเสื่อมราคาและภาษีโดย NCF จะแทนด้วยกระแสเงินสดก่อนหักภาษี (Cash flow before taxes ; (FBT))

9 กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
และอีกเทอมที่ใช้คือ กระแสเงินสดหลังหักภาษี (Cash flow After taxes ; CFAT) ในบทนี้จะกล่าวถึงวิธีการในการเปลี่ยน (FBT) ไปเป็น CFAT ในการประเมินทางเลือกในเชิงเศรษฐศาสตร์นั้นยังคงใช้วิธีเดิมและแนวทางเดิมในการเลือกทางเลือกโดยใช้กระแสเงินสดหลังหักภาษีแล้ว

10 กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
CFBI เกิดจากการประมาณค่าจากเงินลงทุน มูลค่าซากที่เกิดขึ้น รายได้และค่าใช้จ่าย CFBT = รายได้เบื้องต้น – ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน – เงินลงทุน + มูลค่าซาก = GT - E – P + S จากบทต้น P คือเงินลงทุน โดยส่วนใหญ่จะเกิดที่ปีที่ 0 และ S คือมูลค่าซากในที่ n เมื่อเราสามารถหาภาษีได้ CFAT จะเป็นสมการ CFAT = CFBT – Taxes [14.8]

11 กระแสเงินสดก่อนและหลังหักภาษี (Cash Flow tax)
ซึ่ง Taxes สามารถคำนวณได้จาก (TI) (T) หรือ (TI) (Te) จากสมการที่ 14.1 ค่าเสื่อมราคา D จะถูกนำมาหักจากเงินรายได้เบื้องต้น ซึ่งเราจะต้องเข้าใจถึงบทบาทของค่าเสื่อมราคาต่อการคำนวณ CFAT ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่กระแสเงินสดแต่ค่าเสื่อมราคาจะถูกนำมาหักเพื่อนำมาคิดภาษี โดยค่าเสื่อมราคานี้จะไม่ได้แสดงอย่างชัดเจน ในกระแสเงินสด ดังนั้นจากสมาการ (14.7) และ (14.8) CFAT = GI – E – P + S – (GI – E – D) (Te)

12 ตารางแสดงวิธีการคำนวณ CFBT และ CFAT

13 ตัวอย่าง ที่ 14.3 หน้าที่ 265 และ การบ้าน
ข้อที่ 14.1 หน้าที่ 279 ข้อที่ 14.3 หน้าที่ 279 ข้อที่ 14.5 หน้าที่ 280


ดาวน์โหลด ppt การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ ของกระแสเงินหลังหักภาษี

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google