งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
School of Accounting Accounting Theory AC 4103 Asst.Prof. Dr. Panchat Akarak

2 บทที่ 5 แนวคิดการวัดผลกำไร
หัวข้อสำคัญ วัตถุประสงค์และการวัดผลกำไร ความหมายของผลกำไร แนวคิดในการวัดผลกำไร วิธีการวัดผลกำไร รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีเกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร CRRU

3 วัตถุประสงค์บทเรียน 1. อธิบายวัตถุประสงค์และความหมายของผลกำไรได้
1. อธิบายวัตถุประสงค์และความหมายของผลกำไรได้ 2. อธิบายแนวคิดและวิธีการวัดผลกำไรได้ 3. อธิบายรายการที่ใช้และรายการที่เกี่ยวข้องกับ การคำนวณกำไรได้ CRRU

4 วัตถุประสงค์ของการวัดผลกำไร
วัตถุประสงค์ของการวัดผลกำไร เพื่อผู้ใช้งบ คาดคะเนเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและกำไรในอนาคต ประเมินผลการบริหารงานของผู้บริหาร พิจารณาการตัดสินใจขายหรือถือเงินลงทุนต่อไป กิจการใช้ผลกำไรในการกำหนดนโยบายการเงิน เช่น การจ่ายเงินปันผล การจ่ายภาษีเงินได้ CRRU

5 วัตถุประสงค์ของการวัดผลกำไร
ข้อควรพิจารณาในการวัดผลกำไรของกิจการ มีดังนี้.- 1. รายการใดควรรับรู้ในงบกำไรขาดทุน 2. แนวคิดในการวัดผลกำไรแตกต่างกันจะสามารถตอบสนองความต้องการผู้ใช้งบการเงินได้ทุกกลุ่มหรือไม่ 3. แนวคิดในการวัดผลกำไรใดที่ให้ผลกำไรใกล้เคียงกับกำไรทางเศรษฐศาสตร์ และสามารถใช้แนวคิดในการวัดผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์มาทดแทนแนวคิดการวัดผลกำไรทางบัญชีได้หรือไม่ CRRU

6 ความหมายของกำไรในแต่ละทัศนะ
1. กำไรทางเศรษฐศาสตร์ 2. กำไรของกิจการ 3. กำไรของผู้ลงทุน 4. กำไรของผู้ถือหุ้น 5. กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ CRRU

7 1. ความหมายของผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์
กำไรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง ส่วนที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าของสินค้าหรือบริการเนื่องจากการขาย ดังนั้น กำไรทางเศรษฐศาสตร์ จึงหมายถึง ผลต่างของรายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการกับต้นทุนขายหรือต้นทุนบริการ นั่นคือ กำไรขั้นต้น (Gross Profit) กำไรนี้เป็นของเจ้าของ เจ้าหนี้ พนักงาน กำไรทางเศรษฐศาสตร์ = รายได้จากการขายสินค้าหรือการให้บริการ ลบ ต้นทุนขายหรือต้นทุนบริการ = กำไรขั้นต้น (Gross Profit) CRRU

8 2. กำไรของกิจการ กำไรของกิจการ หมายถึง กำไรที่เกิดจากการดำเนินงานของกิจการ กำไรดังกล่าวใช้วัดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ดังนั้น กำไรของกิจการจึงไม่ควรรวมรายการที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น ดอกเบี้ยจ่าย ผลตอบแทนจากการลงทุนอาจจะเรียกว่า กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี (EBIT) กำไรในความหมายนี้เป็นของเจ้าของ เจ้าหนี้ และรัฐ กำไรของกิจการ = กำไรขั้นต้น-ค่าใช้จ่ายในขายและบริหาร = กำไรจากการดำเนินงาน = กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายและภาษี CRRU

9 3. กำไรของผู้ลงทุน กำไรของผู้ลงทุน หมายถึง ทั้งเจ้าหนี้และเจ้าของเป็นผู้ลงทุนในกิจการ แต่เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องเหนือเจ้าของ และรัฐไม่ได้เป็นผู้ลงทุน ดังนั้น กำไรในความหมายนี้จึงเป็นของ เจ้าหนี้และเจ้าของ กำไรของผู้ลงทุน = กำไรจากการดำเนินงาน-ภาษีเงินได้ = กำไรของกิจการ - ภาษีเงินได้ CRRU

10 4. กำไรของผู้ถือหุ้น กำไรของผู้ถือหุ้น หมายถึง กำไรของเจ้าของ กิจการจะต้องหักด้วยดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ กำไรที่เหลือจึงเป็นของผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ กำไรของผู้ถือหุ้น = กำไรของผู้ลงทุน - ดอกเบี้ยจ่าย = กำไรสุทธิ CRRU

11 4. กำไรของผู้ถือหุ้น กำไรของผู้ถือหุ้น หมายถึง กำไรของเจ้าของ กิจการจะต้องหักด้วยดอกเบี้ยจ่ายและภาษีเงินได้ กำไรที่เหลือจึงเป็นของผู้ถือหุ้นสามัญและผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ กำไรของผู้ถือหุ้น = กำไรของผู้ลงทุน - ดอกเบี้ยจ่าย = กำไรสุทธิ CRRU

12 5. กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ
กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ เป็นกำไรในความหมายที่แคบที่สุด หมายถึง ผู้ถือหุ้นสามัญเป็นเจ้าของโดยแท้จริง เป็นผู้มีสิทธิในการบริหาร ดังนั้นกำไรของผู้ถือหุ้นสามัญคือกำไรต่อหุ้น กำไรของผู้ถือหุ้น= กำไรของผู้ถือหุ้น – เงินปันผลจ่ายของผู้ถือหุ้นสามัญ บุริมสิทธิ CRRU

13 รายงานผลการดำเนินงาน
รายการ หน่วย: บาท ผู้รับประโยชน์ รายได้จากการขายหรือให้บริการ 10,000,000 ต้นทุนขายหรือให้บริการ 6,000,000 (1) กำไรขั้นต้น= กำไรทางเศรษฐศาสตร์ 4,000,000 เจ้าของ เจ้าหนี้ รัฐ ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,200,000 บุคคลทั่วไป (2) กำไรจากการดำเนินงาน= กำไรของกิจการภาษีเงินได้ 2,800,000 ภาษีเงินได้ 600,000 รัฐ (3)กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย แต่หลังภาษีเงินได้=กำไรของผู้ลงทุน 2,200,000 เจ้าของ เจ้าหนี้ ดอกเบี้ยจ่าย 800,000 เจ้าหนี้ (4) กำไรสุทธิ= กำไรของผู้ถือหุ้น 1,400,000 เจ้าของ เงินปันผลจ่ายของหุ้นบุริมสิทธิ 900,000 ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ (5) กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ 500,000 ผู้ถือหุ้นสามัญ CRRU

14 แนวคิดการวัดผลกำไร 1. แนวคิด ทางการบัญชี 2. แนวคิด ทางเศรษฐศาสตร์
3.แนวคิด เกี่ยวกับ พฤติกรรม 4.แนวคิดเกี่ยวกับ กำไรภายใต้ความ ไม่แน่นอน -การวัดกำไรจากรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี -การวัดผลกำไรจากกิจกรรม -แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของกำไร -แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน -มูลค่าของกำไร -เกณฑ์การวัดมูลค่าทางบัญชี -แนวคิดเกี่ยวกับทุน CRRU

15 แนวคิดในการวัดผลกำไร-แนวคิดทางการบัญชี
1. แนวคิดทางการบัญชี การวัดผลกำไรทางการบัญชี คือ ผลต่างระหว่างรายได้ที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีกับต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจาก 2 ทางดังนี้ 1. ข้อสมมติขั้นมูลฐานทางการบัญชี เช่น หลักการเกิดขึ้นของรายได้ หลักราคาทุน หลักการจับคู่รายได้กับค่าใช้จ่าย หลักรอบระยะเวลา 2. รายการและเหตุการณ์ทางการบัญชีที่เกิดขึ้นแล้ว ตามเกณฑ์คงค้างและการดำเนินงานต่อเนื่อง CRRU

16 วิธีการวัดผลกำไรทางบัญชี
วิธีการวัดผลกำไรทางบัญชี มี 2 ประเภทดังนี้ 1.1 การวัดผลกำไรจากรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี เป็นรายการที่เกิดขึ้นแล้ว เช่น การกู้ยืมเงิน การซื้อสินค้า การขายสินค้า เป็นต้น ข้อดีของแนวคิดนี้ คือ กิจการสามารถแสดงรายละเอียดของกำไรได้หลายรูปแบบ เช่น กำไรตามประเภทสินค้า กำไรตามประเภทลูกค้า เป็นต้น กิจการสามารถแสดงกำไรตามสาเหตุการเกิดของกำไร เช่น กำไรจากการดำเนินงาน กำไรจากการลงทุน กำไรจากการขายสินค้า CRRU

17 วิธีการวัดผลกำไรทางบัญชี
วิธีการวัดผลกำไรทางบัญชี มี 2 ประเภทดังนี้ (ต่อ) 1.2 การวัดผลกำไรจากกิจกรรม กำไรตามแนวคิดนี้จะวัดกำไรโดยพิจารณาจากกิจกรรมในการดำเนินงาน เช่น ผลิต ขาย เป็นต้น ดังนั้นกำไรจึงเกิดขึ้นจากการรายงานความสำเร็จ ไม่ใช่รายงานการคาดคะเน เช่น การวัดกำไรจากกิจกรรมการผลิต กิจการจึงให้ความสนใจในกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงมูลค่า ข้อดีของแนวคิดนี้ มีดังนี้ -กิจการสามารถวัดกำไรตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินงาน -ผู้บริหารสามารถวัดประสิทธิภาพในการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม ได้ CRRU

18 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
วิธีการวัดผลกำไรทางเศรษฐศาสตร์ มี ดังนี้ 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของกำไร นักเศรษฐศาสตร์ ให้ความหมายของ กำไร ดังนี้ กำไร หมายถึง การเพิ่มขึ้นของเศรษฐทรัพย์ หรือทุนที่ได้จากฐานะของเศรษฐทรัพย์หรือทุน ณ วันปลายงวดเปรียบเทียบกับฐานะเศรษฐทรัพย์ หรือทุน ณ วันต้นงวด ทุน หมายถึง ส่วนที่แสดงเศรษฐทรัพย์ ณ จุดใดจุดหนึ่งที่รายงาน CRRU

19 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
นักเศรษฐศาสตร์ จึงยอมรับว่า กำไรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การบริโภคบวกการออม การออม หมายถึง ทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น กำไรทางเศรษฐศาสตร์ จึงแสดงเป็นสมการได้ดังนี้ Ye = C + S = C+ (K t - K t-1) Ye = กำไรทางเศรษฐศาสตร์ C = การบริโภค (Consumption) S = การออม (Saving) K t = ทุน ณ วันปลายงวด K t-1 = ทุน ณ วันต้นงวด CRRU

20 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน กำไรทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง จำนวนที่สามารถบริโภคได้ โดยไม่กระทบทุน กิจการสามารถรักษาระดับทุนได้หากจำนวนทุนวันสิ้นงวดเท่ากับเมื่อต้นงวด ดังนั้น จำนวนเงินที่เกินว่าทุนที่ต้องรักษาระดับไว้ คือ กำไร กำไร หมายถึง การเพิ่มขึ้นของทุนหรือสินทรัพย์สุทธิในระหว่างงวด โดยวัดจากหน่วยเงินตามอำนาจซื้อเดิมตลอดรอบระยะเวลานั้น หรือมูลค่าสูงสุดที่สามารถบริโภคได้ โดยทำให้ฐานะ ณ วันปลายงวดดีเท่ากับฐานะ ณ วันต้นงวด CRRU

21 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
แนวคิดเกี่ยวกับทุนและการรักษาระดับทุน มีปัญหา คือมูลค่าของทุนหรือสินทรัพย์สุทธิ มีการวัดมูลค่าได้ 6 วิธี ดังนี้ 2.2.1 วิธีมูลค่าปัจจุบัน (Present Value) การตั้งรายจ่ายขึ้นเป็นทุน(Capitalization) เป็นการใช้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดที่กิจการต้องจ่ายให้เจ้าของตลอดอายุการดำเนินงาน และจำนวนเงินที่กิจการจะต้องจ่ายเมื่อกิจการด้วยการวัดมูลค่าของทุน ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในวิธีนี้ มีดังนี้ P = มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดทั้งหมดที่จะต้องจ่ายให้แก่เจ้าของหรือผู้ถือหุ้น R t = กระแสเงินสดจ่ายในแต่ละปี i = อัตราคิดลด n = ระยะเวลาที่กิจการจะดำเนินงาน CRRU

22 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.2 การวัดมูลค่าตลาด (Market Valuation) วิธีนี้คำนวณจำนวนหุ้นทั้งหมดของกิจการที่ออกจำหน่ายคูณด้วยราคาตลาดหุ้น (พิจารณาจากความเต็มใจในการลงทุนซื้อหุ้นของกิจการ) ตัวอย่าง กิจการออกหุ้นสามัญ 10,000 หุ้น ราคาตามมูลค่าหุ้นละ 10 บาท วันสิ้นงวดราคาตลาดหุ้นละ 15 บาท ดังนั้น มูลค่าของหุ้นตามวิธีนี้ = 10,000x15=150,000 CRRU

23 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.3 มูลค่าเงินสดเทียบเท่าในปัจจุบัน (Current Cash Equivalent) วิธีนี้คำนวณทุนจากมูลค่าสุทธิของสินทรัพย์ที่ขายได้ ได้จากราคาตลาดของสินทรัพย์ทั้งสิ้นหักด้วยราคาตลาดของหนี้สินทั้งสิ้น วิธีนี้ ต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการตีราคาสินทรัพย์และหนี้สิน ซึ่งต้องปรับด้วยความเสี่ยงและความไม่แน่นอนและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์และหนี้สินแต่ละรายการ -ราคาตลาดสินทรัพย์และหนี้สินบางรายการกำหนดได้ยาก CRRU

24 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.4 ราคาทุนเดิม (Historical Input Price) ราคาทุนเดิมเป็นราคาที่มีหลักฐานที่แน่นอน ตรวจสอบได้ และเป็นราคาที่น่าเชื่อถือ แต่ไม่ได้แสดงฐานะของกิจการ หรือส่วนทุนของกิจการที่เป็นอยู่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป เนื่องจากเป็นราคาในอดีต กำไรตามวิธีนี้ คือกำไรที่เกิดจากการดำเนินงาน และกำไรที่เกิดจากการถือสินทรัพย์ไว้เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว CRRU

25 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.5 ราคาปัจจุบันในการจัดหา (Current Input Price) เป็นราคาที่ได้มาจากการพิจารณาว่า ถ้าหากกิจการต้องจัดหาสินทรัพย์ที่มีอยู่ในกิจการขณะนั้น กิจการต้องจ่ายเป็นจำนวนเท่าใด ทุนจะเท่ากับจำนวนเงินที่กิจการต้องจ่ายในการจัดหาสินทรัพย์ใหม่มาแทนสินทรัพย์เดิม หักด้วยมูลค่าของหนี้สินที่ต้องชำระ กำไรตามวิธีนี้ คือกำไรที่เกิดจากการมีกรรมสิทธ์ในสินทรัพย์ทั้งส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว และส่วนที่ยังไม่เกิดขึ้น CRRU

26 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.6 การรักษาระดับความสามารถในการผลิต (Productive Capacity Maintenance) เป็นวิธีวัดทุนจากกำลังการผลิต กำไรตามแนวคิดนี้เกิดขึ้นเมื่อกำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิตหรือใช้ผลิตจริงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่ากำลังการผลิตเมื่อเริ่มระยะเวลาบัญชี การวัดความสามารถในการผลิต ทำได้ดังนี้ -วัดความสามารถในการผลิตของกิจการโดยวัดจากปริมาณสินค้าที่กิจการผลิตได้ในปัจจุบันเทียบกับปีก่อน (วัดมูลค่าสินค้าและบริการที่กิจการผลิตได้ในปัจจุบันเปรียบเทียบกับปีก่อน) -วัดความสามารถในการถือครองสินทรัพย์ CRRU

27 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
ตัวอย่าง การวัดผลกำไรจากแนวคิดการรักษาระดับทุนการผลิต กิจการมีสินทรัพย์สุทธิ วันต้นงวด 10,000 บาท สินทรัพย์สุทธิวันปลายงวด 18,000 บาท มูลค่าราคาตลาดสินทรัพย์ 15,000 บาท หรือสินค้าที่กิจการผลิตได้มีราคาตลาด 15,000 บาท กำไรของกิจการวัดจากมูลค่าที่เป็นจำนวนเงิน กำไร= 18,000-10,000=8,000 กำไรของกิจการซึ่งวัดจากความสามารถในการผลิต กำไร= 15,000-10,000=5,000 CRRU

28 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
2.2.7 อำนาจซื้อคงที่ (Constant Purchasing Power) แนวคิดนี้พิจารณาการเปลี่ยนแปลงในอำนาจซื้อ กิจการจึงต้องปรับมูลค่าสินทรัพย์ ณ วันต้นงวดและสินทรัพย์ ณ วันปลายงวดด้วยอำนาจซื้อก่อนที่จะนำไปเปรียบเทียบเพื่อหากำไร จากตัวอย่างก่อน ถ้าดัชนีราคาเพิ่มขึ้น 10% กำไรของกิจการวัดจากมูลค่าเป็นจำนวนเงิน กำไร= 18,000-(1.1x10,000)=7,000 กำไรของกิจการ วัดจากความสามารถในการผลิต กำไร= 15,000- (1.1x10,000)=4,000 CRRU

29 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม
3. แนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรม เป็นการนำผลกำไรไปใช้ในกระบวนการตัดสินใจของผู้เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง -การใช้ผลกำไรเพื่อคาดคะเนเหตุการณ์ในอนาคต เช่น เงินปันผลที่กิจการจ่ายในอนาคต ราคาตลาดในอนาคตของหุ้น กำไรที่ใช้ในการคาดคะเนดังกล่าวเป็นกำไรที่คำนวณจากราคาปัจจุบัน ผู้สนใจผลกำไรกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ลงทุน(เก่า-ใหม่) เจ้าหนี้ ที่ปรึกษาการลงทุน ผู้บริหาร -ผู้บริหารใช้ผลกำไรในการวางแผนและควบคุมงานในอนาคต -ผู้ลงทุนใช้ผลกำไรในการประมาณกระแสเงินสด ผลตอบแทนการลงทุน CRRU

30 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน
4. แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน การดำเนินธุรกิจย่อมมีความไม่แน่นอน ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้น กำไรจึงไม่อาจใช้วัดผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในอดีตด้วยมูลค่าที่เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติทางการบัญชี (กำไร=รายได้-ค่าใช้จ่าย) แต่กำไรจะหมายถึง การเปลี่ยนแปลงในทุนของกิจการในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่รวมการเพิ่มทุน หรือการจ่ายปันผล มีเกณฑ์การวัด ดังนี้ CRRU

31 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน
4. แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน (ต่อ) 4.1 มูลค่าของกำไร เป็นการวัดจากการแลกเปลี่ยนสิ่งของ 4.2 เกณฑ์การวัดมูลค่าทางบัญชี ใช้จำนวนเงิน ณ วันเกิดรายการ โดยไม่คำนึงถึงอำนาจซื้อ เกณฑ์การวัดมูลค่าอาจแบ่งได้ 2 ระบบ ดังนี้ 4.2.1 ระบบเงินในนาม (Nominal Dollars) เป็นระบบเงินที่ไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงค่าของเงินในระยะเวลาที่ต่างกัน เป็นระบบที่นิยมใช้ทั่วไป 4.2.2 ระบบเงินคงที่ (Constant Dollars) เป็นระบบที่คำนึงถึงค่าของเงินในเวลาต่างกัน จึงใช้ดัชนีราคาเป็นตัวปรับมูลค่า CRRU

32 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน
4. แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน (ต่อ) 4.3 แนวคิดเกี่ยวกับทุน ทุนหมายถึง สินทรัพย์สุทธิ (สินทรัพย์ ลบ หนี้สิน) มี 2 แนวคิด (1) ทุนทางการเงิน หมายถึง ทุนซึ่งวัดจากมูลค่าของสินทรัพย์สุทธิ หรือส่วนที่เจ้าของนำมาลงทุนในรูปของสินทรัพย์ (2) ทุนทางการผลิตหรือทุนทางกายภาพ หมายถึง ทุนที่วัดจากความสามารถของกิจการในการจัดการสินค้าและบริการ แนวคิดกำไรเกิดขึ้นเมื่อกำลังการผลิตที่กิจการสามารถใช้ในการผลิตหรือที่ใช้ผลิตจริงเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีสูงกว่ากำลังการผลิตเมื่อต้นรอบระยะเวลาบัญชี CRRU

33 แนวคิดในการวัดผลกำไร- แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน
4. แนวคิดเกี่ยวกับกำไรภายใต้ความไม่แน่นอน (ต่อ) มูลค่าของทุนจากกำลังผลิต มีความหมาย ดังนี้ -สินทรัพย์ไม่เป็นตัวเงินที่มีอยู่ หมายถึง การรักษาสินทรัพย์ให้อยู่ในสภาพเดิม หากมีการจัดหาสินทรัพย์มาทดแทน กิจการจะใช้ราคาทดแทน -ปริมาณของผลผลิตที่จำหน่าย จะคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคนิค -ปริมาณของผลผลิตที่จำหน่าย ซึ่งคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคนิคและการเปลี่ยนแปลงในราคาขายด้วย CRRU

34 5.4 วิธีการวัดผลกำไร แนวคิดในการวัดผลกำไร มีเพียง 2 วิธี คือ
1. การเปรียบเทียบมูลค่าของสินทรัพย์ในช่วงเวลาต่างกันตามแนวทางของงบแสดงฐานะการเงิน สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้ 1.1 การเปรียบเทียบทุนหรือสินทรัพย์สุทธิทั้งหมดของกิจการ วิธีนี้กิจการจะวัดมูลค่าเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์ตามระยะเวลาที่ถือสินทรัพย์นั้น (วัดกำไรจากการถือสินทรัพย์) 1.2 การวัดมูลค่าเพิ่ม การวัดมูลค่าในราคาที่มีหลักฐานสมบูรณ์ที่สุด หรือวัดมูลค่าตามเงินสดที่ได้รับจากการตีราคาเพิ่มขึ้น เช่น ราคา NRV ของสินค้าคงเหลือ CRRU

35 5.4 วิธีการวัดผลกำไร แนวคิดในการวัดผลกำไร มีเพียง 2 วิธี คือ
2. การเปรียบเทียบรายได้และค่าใช้จ่ายตามแนวทางของงบกำไรขาดทุน (Income Statement approach) เป็นแนวคิดวัดความเกี่ยวพันโดยตรงระหว่างต้นทุนที่เกิดขึ้นกับรายได้ ในบางกิจการอาจจะเปลี่ยนราคาทุนเดิมเป็นราคาที่เป็นจำนวนเงินตามอำนาจซื้อ (กำไร) เช่น กำไรจากการถือครองสินทรัพย์ (สินแร่) CRRU

36 5.4 วิธีการวัดผลกำไร นอกจากวิธีวัดผลกำไรที่แตกต่างกัน นักบัญชีแต่ละกลุ่มยังมีแนวคิดและมุมมองแตกต่างกัน เช่น 1. นักบัญชีกลุ่มดั้งเดิม (Classical School) -ใช้ราคาทุนเดิม 2. นักบัญชีกลุ่มใหม่ (Neoclassical School) –สนับสนุนแนวคิดเรื่องอำนาจซื้อ นั่นคือ ปรับด้วยดัชนีราคา 3. นักบัญชีกลุ่มพัฒนา (Radical School) -ราคาปัจจุบัน -วิธีการบัญชีตามราคาทุนปัจจุบัน (Current Income) -วิธีราคาตามทุนปัจจุบันที่ปรับด้วยดัชนีราคา (General Price Level Adjusted Current Cost Accounting) CRRU

37 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
ความต้องการทราบกำไรขาดทุนสำหรับงวด ปัจจัยที่กระทบกำไรได้แก่ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน เป็นหน้าที่ผู้บริหารที่จะต้องจัดการ การแสดงกำไรที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแนวคิด 2 แนวคิด คือ 1. แนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบัน 2. แนวคิดรวมหมดทุกอย่าง CRRU

38 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
1. แนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบัน แนวคิดนี้เน้นตัวเลขกำไรจากการดำเนินงานตามกิจกรรมภายใต้สถานการณ์ตามปกติของกิจการ ดังนั้น การคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิจะไม่รวมรายการซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามปกติ ตามแนวคิดวิธีนี้ รายการที่ไม่รวมคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิจะปรับปรุงเข้ากำไรสะสมโดยตรง แนวคิดนี้มุ่งวัดประสิทธิภาพของกิจการในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น ที่ดิน ทุน แรงงาน และผู้บริหาร CRRU

39 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
แนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบัน (ต่อ) AICPA สนับสนุนแนวคิดนี้ ให้เหตุผลสนับสนุน ดังนี้ -ผู้ใช้งบกำไรขาดทุน สนใจ กำไรสุทธิ ดังนั้น งบกำไรขาดทุนควรแสดงให้เห็นกำไรสุทธิที่มาจากกิจกรรมหลักของธุรกิจ -ผู้บริหารและนักบัญชีเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญทางการบัญชี ดังนั้น จึงควรให้ผู้บริหารและนักบัญชีตัดสินใจว่า รายการใดควรเป็นรายการที่รวมอยู่ในการดำเนินงานของกิจกรรมตามปกติ รายการควรเป็นรายการพิเศษ CRRU

40 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
แนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบัน (ต่อ) มีผู้คัดค้านแนวคิดนี้ ให้เหตุผล ดังนี้ -ถ้างบกำไรขาดทุน แสดงเฉพาะรายการที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในงวดปัจจุบันนั้น ผู้ที่ไม่มีความรู้อาจจะไม่สนใจ รายการอื่น นอกจาก กำไรสุทธิที่แสดงในงบกำไรขาดทุน -การเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและนักบัญชีเป็นผู้ตัดสินใจว่ารายการใดควรเป็นรายการที่รวมอยู่ในการดำเนินงาน อาจเป็นช่องทางของการตกแต่งรายการทางการเงินได้ง่ายขึ้น CRRU

41 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” แนวคิดนี้มองว่ากำไรที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ข้อมูลมากที่สุด ควรรวมรายการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นหรือการลดลงในส่วนของเจ้าของ (ยกเว้นการจ่ายปันผลและการเพิ่มทุนลดทุน) นั่นคือ แนวคิดของงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ ปัจจุบัน -แนวคิดนี้ได้รับการสนับสนุนจาก AAA 1936,1941,1948 ว่า งบกำไรขาดทุนสำหรับงวดใดงวดหนึ่งควรแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นผลจากการดำเนินงานในปัจจุบันหรือไม่ CRRU

42 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
2. แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” เหตุผลสนับสนุน มีดังนี้ 1. การแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดในงบกำไรขาดทุน ทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายและสามารถประเมินความสำคัญของรายการและผลกระทบของรายการที่มีผลต่อการดำเนินงาน 2. การแสดงรายการดังกล่าว พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดของรายการที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถจัดหมวดหมู่ได้ และวิเคราะห์รายการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. การที่ผู้บริหารสนใจแต่เฉพาะกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน อาจะทำให้กิจการประมาณรายการต่าง ๆ ผิดพลาดได้ CRRU

43 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
2. แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” เหตุผลสนับสนุน มีดังนี้ 4. ผู้สนับสนุนแนวคิดนี้ ผลรวมของกำไรขาดทุนสุทธิในแต่ละงวดควรเท่ากับกำไรขาดทุนสุทธิรวมทั้งหมด ดังนั้นกิจการควรรวมรายการพิเศษ และรายการปรับปรุงแก้ไขกำไร หรือแก้ไขข้อผิดพลาดที่สำคัญ ไว้ในงบกำไรขาดทุน 5. กิจการควรแสดงรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกิดขึ้น ไม่ว่ารายการนั้นจะเป็นรายการปกติหรือรายการพิเศษในงวดที่รายการดังกล่าวเกิดขึ้น CRRU

44 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
2. แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” เหตุผลสนับสนุน มีดังนี้ 6. บางกรณี การจัดประเภทรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีเป็นรายการพิเศษ อาจมีข้อโต้แย้งหรือไม่ชัดเจน ดังนั้น หากยอมให้มีการใช้ดุลยพินิจ อาจจะเกิดความไม่ชัดเจน หรือมีข้อโต้แย้งอย่างมาก CRRU

45 5.5 รายการที่ใช้ในการคำนวณกำไร
2. แนวคิด “รวมหมดทุกอย่าง” เหตุผลที่คัดค้าน มีดังนี้ การแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยไม่คำนึงถึงว่าเป็นผลมาจากการดำเนินงานตามปกติหรือไม่ อาจทำให้เกิดการอธิบายรายการที่ไม่ชัดเจน หรือการไม่เข้าใจตัวเลขในงบกำไรขาดทุน ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการวิเคราะห์ ถ้าหากรายได้และค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นรายการพิเศษในงวดก่อนผิดพลาด และรายการดังกล่าวไม่นำมารวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนของงวดบัญชีปัจจุบันแล้ว จะมีผลทำให้กำไรขาดทุนของกิจการผิดพลาดไปอย่างน้อย 2 งวด คือ งวดก่อนและงวดปัจจุบัน CRRU

46 ผลการดำเนินงานในงวดปัจจุบัน
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบวิธีการแสดงรายการในการคำนวณกำไรตาม 2 แนวคิด รายการ แนวคิด ผลการดำเนินงานในงวดปัจจุบัน รวมหมดทุกอย่าง งบกำไรขาดทุน (P/L) รายได้ 200,000 ค่าใช้จ่าย 140,000 กำไรก่อนรายการพิเศษ 60,000 รายการพิเศษ ขาดทุนจากการเวนคืนที่ดิน - 20,000 (สุทธิจากภาษีเงินได้) กำไรสุทธิ 40,000 CRRU

47 ผลการดำเนินงานในงวดปัจจุบัน
ตัวอย่าง การเปรียบเทียบวิธีการแสดงรายการในการคำนวณกำไรตาม 2 แนวคิด รายการ แนวคิด ผลการดำเนินงานในงวดปัจจุบัน รวมหมดทุกอย่าง งบกำไรสะสม (R/E) กำไรสะสมต้นงวด 240,000 กำไรสุทธิ 60,000 40,000 รายการพิเศษ ขาดทุนจากการเวนคืนที่ดิน 20,000 - (สุทธิจากภาษีเงินได้) กำไรสะสมปลายงวด 280,000 CRRU

48 จากความขัดแย้งระหว่าง 2 แนวคิด
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร จากความขัดแย้งระหว่าง 2 แนวคิด AICPA ออก APB Opinion ฉบับที่ 8 “Reporting the Results of Operations” โดยแบ่งประเภทรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีไว้ 4 ประเภท ได้แก่ 1. รายการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับงวดปัจจุบัน 2. กำไรขาดทุนที่มีสาระสำคัญ 3. การแก้ไขและปรับปรุงรายการปกติหรือรายการและเหตุการณ์ ทางบัญชีที่เกิดขึ้นใหม่ 4. การปรับปรุงรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อน CRRU

49 1. รายการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับงวดปัจจุบัน
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร 1. รายการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับงวดปัจจุบัน AICPA ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับรายการพิเศษไว้ใน APB ฉบับ 30 โดยกล่าวถึง ลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีจะถือว่าเป็นรายการพิเศษ ซึ่งต้องเข้าลักษณะ 2 ประการ คือ (1) ลักษณะไม่ปกติ และ (2) เกิดขึ้นไม่บ่อย CRRU

50 5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร
2. กำไรขาดทุนที่มีสาระสำคัญ APB ฉบับ 30 จำแนกรายการกำไรขาดทุนที่ไม่ถือเป็นรายการพิเศษ เนื่องจากโดยลักษณะของรายการเหล่านี้คาดได้ว่าจะเกิดขึ้นในอีกอนาคตอันใกล้ เช่น -การตัดจำหน่ายบัญชีลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ รายจ่ายต่อตัดบัญชีหรือสินทรัพย์ไม่มีตัวตน -รายการกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ -การยกเลิกการดำเนินงานบางส่วน -รายการกำไรหรือขาดทุนจากการขาย หรือจำหน่ายที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ -รายการขาดทุนจากการนัดหยุดงานของพนักงาน -การปรับปรุงรายการเกี่ยวกับสัญญาเช่า CRRU

51 -การเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานเครื่องจักร
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร 3. การแก้ไขและปรับปรุงรายการปกติหรือรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกิดขึ้นใหม่ รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีดังกล่าว หมายถึง รายการที่ไม่เข้าลักษณะของรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อน แต่เป็นรายการที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไรขาดทุนในงวดปัจจุบันหรืองวดหน้า เช่น -การเปลี่ยนแปลงอายุการใช้งานเครื่องจักร -การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี CRRU

52 4. การปรับปรุงรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อน
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร 4. การปรับปรุงรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อน รายการที่ถือว่าเป็นรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อนต้องเข้าลักษณะตามที่ APB ฉบับที่ 9 ระบุไว้ในรายการดังกล่าวเป็นรายการที่มีสาระสำคัญ และเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในงวดก่อน กิจการจะปรับปรุงรายการนี้กับกำไรสะสมต้นงวด CRRU

53 สรุป การรายงานผลการดำเนินงาน
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร สรุป การรายงานผลการดำเนินงาน 1. รายการพิเศษที่เกี่ยวข้องกับงวดปัจจุบัน 2. กำไรขาดทุนที่มีสาระสำคัญ 3. การแก้ไขและปรับปรุงรายการปกติหรือรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี ที่เกิดขึ้นใหม่ 4. การปรับปรุงรายการที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีก่อน สรุป -รายการที่ 1 2 และ 3 ต้องนำมารวมคำนวณกำไรขาดทุนสำหรับงวดในงบ กำไรขาดทุน -รายการที่ 4 ต้องปรับปรุงกับกำไรสะสมต้นงวด CRRU

54 1. การดำเนินงานตามปกติ (Ordinary Activities)
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร การพัฒนาของแนวคิดอดีตจนถึงปัจจุบันมีความสอดคล้องกัน โดยรายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสำหรับงวด มี 3 รายการ ดังนี้ 1. การดำเนินงานตามปกติ (Ordinary Activities) 2. รายการพิเศษ (Extraordinary Items) 3. การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี (Changes in Accounting Estimates) CRRU

55 1. การดำเนินงานตามปกติ (Ordinary Activities)
5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร 1. การดำเนินงานตามปกติ (Ordinary Activities) หมายถึง กิจกรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประกอบธุรกิจ หรือเกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจหรือการดำเนินงาน คือ -รายได้และค่าใช้จ่ายทุกรายการที่รับรู้ในระหว่างงวด รายการที่เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก เช่น -การปรับปรุงสินค้าคงเหลือเป็นมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ การปรับปรุงที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ให้เป็นมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน รวมทั้งการกลับรายการ CRRU

56 5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร
1. การดำเนินงานตามปกติ (Ordinary Activities) (ต่อ) รายการที่เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายแยกต่างหาก เช่น -การจำหน่ายที่ดินอาคาร และอุปกรณ์ -การจำหน่ายเงินลงทุนระยะยาว -การรับและจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากคดีความตามกฎหมาย -การกลับรายการประมาณการหนี้สินอื่น ๆ CRRU

57 5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร
2. รายการพิเศษ (Extraordinary Items) รายการพิเศษ หมายถึง รายได้หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากรายการหรือเหตุการณ์ทางบัญชีที่ต้องเข้าลักษณะครบทั้ง 2 ประการคือ ความแตกต่างอย่างชัดเจนจากการดำเนินงานตามปกติของกิจการ เช่น ค่าเสียหายจากภัยธรรมชาติ ค่าเสียหายจากไฟไหม้ (ข) ไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นเป็นประจำหรือเกิดขึ้นไม่บ่อย เช่น การถูกยึดหรือเวนคืนสินทรัพย์ ปัจจุบันของไทยได้ยกเลิกรายการพิเศษ แต่ใช้การพิจารณาความมีสาระสำคัญและแสดงรายการนั้นแยกต่างหากจากรายการปกติหากมีสาระสำคัญ และไม่ต้องแสดงสุทธิจากภาษี (ดูตัวอย่าง งบกำไรขาดทุน/งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ) CRRU

58 5.6 รายการและเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณกำไร
3. การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี (Changes in Accounting estimates) การจัดทำงบการเงิน อาจใช้การประมาณในการวัดมูลค่าของบางรายการ เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อสินค้าเสื่อมสภาพล้าสมัย อายุการใช้งานสินทรัพย์ เป็นต้น กิจการจะต้องนำผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีมารวมคำนวณ เพื่อหากำไรหรือขาดทุนสุทธิสำหรับงวด การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางการบัญชี จะมีผลกระทบต่องวดปัจจุบันเพียงงวดเดียว เช่น ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ หรือต่องวดปัจจุบันและงวดต่อ ๆ ไป เช่น ค่าเสื่อมราคาอาคารและอุปกรณ์ CRRU

59 จบบทที่ 5

60 คำตอบ ก. พิจารณาสภาพคล่องของกิจการ
แบบฝึกหัด 1. ผู้ใช้งบการเงินอาจใช้ผลกำไรเพื่อประโยชน์หลายอย่าง ยกเว้นข้อใด ก. พิจารณาสภาพคล่องของกิจการ ข. คาดคะเนผลกำไรในอนาคตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ค. ประเมินการบริหารจัดการของผู้บริหารกิจการ ง. ตัดสินใจว่าควรขายหรือถือเงินลงทุนในกิจการนั้นต่อไปหรือไม่ จ. ประเมินกระแสดเงินสดรับในอนาคต คำตอบ ก. พิจารณาสภาพคล่องของกิจการ CRRU

61 คำตอบ ข. กำไรของผู้ลงทุน=กำไรของกิจการ - ภาษีเงินได้
แบบฝึกหัด 2. ข้อใดแสดงความสัมพันธ์ของผลกำไรแต่ละทัศนะได้ถูกต้อง ก. กำไรทางเศรษฐศาสตร์=กำไรของกิจการ - ดอกเบี้ยจ่าย ข. กำไรของผู้ลงทุน=กำไรของกิจการ - ภาษีเงินได้ ค. กำไรของผู้ถือหุ้น=กำไรของผู้ลงทุน- เงินปันผลจ่าย ง. กำไรของผู้ถือหุ้นสามัญ=กำไรของกิจการ- เงินปันผลจ่าย คำตอบ ข. กำไรของผู้ลงทุน=กำไรของกิจการ - ภาษีเงินได้ CRRU

62 คำตอบ ค. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
แบบฝึกหัด 3. แนวคิดเกี่ยวกับทุนทางการผลิต และการรักษาระดับทุนทางการผลิต จัดเป็นแนวคิดในการวัดผลกำไรประเภทใด ก. แนวคิดทางกฎหมาย ข. แนวคิดทางการบัญชี ค. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ง. แนวคิดทางพฤติกรรม คำตอบ ค. แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ CRRU

63 แบบฝึกหัด 4. บริษัทมีสินทรัพย์สุทธิต้นงวด 40,000 บาท และปลายงวด 72,000 บาท ในระหว่างงวดบริษัทได้ออกทุนหุ้นสามัญเพิ่มเติม 12,000 บาท บริษัทมีกำไรเท่าใดตามแนวคิดเกี่ยวกับการรักษาระดับทุน ก. 60,000 บาท ข. 32,000 บาท ค. 28,000 บาท ง. 20,000 บาท คำตอบ ง. 20,000 บาท CRRU

64 คำตอบ ข. อำนาจซื้อคงที่
แบบฝึกหัด 5. วิธีการวัดมูลค่าของทุนวิธีใด นิยมนำดัชนีราคาของสินค้าและบริการมาใช้ในการคำนวณ ก. ราคาทุนปัจจุบันในการจัดหา ข. อำนาจซื้อคงที่ ค. ระบบเงินคงที่ ง. ระบบเงินในนาม คำตอบ ข. อำนาจซื้อคงที่ CRRU

65 แบบฝึกหัด คำตอบ ง. ระบบเงินในนาม
6. การวัดมูลค่าทางการบัญชีที่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี คือระบบใด ก. ระบบเงินค้าง ข. ระบบเงินสด ค. ระบบเงินคงที่ ง. ระบบเงินในนาม คำตอบ ง. ระบบเงินในนาม CRRU

66 แบบฝึกหัด คำตอบ ข. กลุ่มดั้งเดิม
7. แนวคิดของนักบัญชีกลุ่มใดที่วัดผลกำไรตามวิธีกำไรทางบัญชี โดยใช้ราคาทุน และไม่คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของอำนาจซื้อ ก. กลุ่มใหม่ ข. กลุ่มดั้งเดิม ค. กลุ่มพัฒนา ง. กลุ่มก้าวหน้า คำตอบ ข. กลุ่มดั้งเดิม CRRU

67 แบบฝึกหัด คำตอบ ก. งบกำไรสะสม
8. รายการพิเศษ แสดงอยู่ในงบการเงินใด ตามแนวคิดผลการดำเนินงานในปัจจุบัน ก. งบกำไรสะสม ข. งบกำไรขาดทุน ค. งบแสดงฐานะการเงิน ง. งบกระแสเงินสด คำตอบ ก. งบกำไรสะสม CRRU

68 แบบฝึกหัด คำตอบ ข. งบกำไรขาดทุน
9. ผลสะสมการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่มีผลต่องบการเงินงวด ก่อน ๆ ตามแนวคิดรวมทุกอย่าง ก. งบกำไรสะสม ข. งบกำไรขาดทุน ค. งบแสดงฐานะการเงิน ง. งบกระแสเงินสด คำตอบ ข. งบกำไรขาดทุน CRRU

69 แบบฝึกหัด คำตอบ ง. งบกระแสเงินสด
10. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชีที่มีต่องบการเงินงวดก่อน ๆ ตามแนวคิดหมดทุกอย่างแสดงอยู่ในงบการเงินใด ก. งบกำไรสะสม ข. งบกำไรขาดทุน ค. งบแสดงฐานะการเงิน ง. งบกระแสเงินสด คำตอบ ง. งบกระแสเงินสด CRRU

70 ทำแบบฝึกหัดท้ายบท 5 ข้อ 2 ข้อ 5


ดาวน์โหลด ppt สำนักวิชาบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google