งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

GDP ประเทศไทย + 10% 4 Megatrend ของโลก Global warming

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "GDP ประเทศไทย + 10% 4 Megatrend ของโลก Global warming"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 GDP ประเทศไทย + 10% 4 Megatrend ของโลก Global warming
Energy and food crisis Going green and Organic Farming Free Trade Movement GDP ประเทศไทย + 10% ด้วย Mega-project TRANS-CHAO PHRAYA AND MEKONG RIVER TRADE ROUTES AEC – ACMECS – BIMSTEC – DAWEI PROJECT GREEN –ENERGY AND GREEN ECONOMY

2 TRANS-CHAO PHRAYA AND MEKONG RIVER TRADE ROUTES

3 จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ปี 1932 เมื่อเศรษฐกิจตกต่ำซบเซา ได้ดำเนินมาตามลำดับ ไม่เพียงแต่สหรัฐอเมริกา ในอังกฤษ เยอรมันตะวันตก สวิสเซอร์แลนด์ เกิดสภาพเดียวกันไปหมดและขยายขอบเขตลุกลามทั่วโลก ตอนนั้นทุกคนไม่มีใครคิดออกว่าจะทำอย่างไรดีกับภาวะเศรษฐกิจที่มืดแปดด้าน ในปี 1936 เคนส์ ได้พิมพ์หนังสือโด่งดังมากชื่อ ทฤษฎีทั่วไปว่าด้วยการจ้างงาน อัตราดอกเบี้ย และเงินตรา เคนส์เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการบอกว่า สิ่งที่นักเศรษฐศาตร์รุ่นก่อนๆ เชื่อกันว่า อุปทานที่บอกว่าเป็นตัวสร้างอุปสงค์ไม่จริงเสมอไป เพราะอุปทานไม่จำเป็นต้องสร้างอุปสงค์ขึ้นมาในจำนวนเท่ากันเสมอไป เคนส์บอกว่า ทางออกก็คือ ต้องสร้างอุปสงค์เทียมขึ้นมา

4 การเป็นหนี้ต่างประเทศ
ถ้าหากว่าการเป็นหนี้ต่างประเทศ เกิดขึ้นพอกพูนขึ้นมา เพราะความจำเป็นใน การสร้างอุตสาหกรรม และขยายการค้าออกไปให้กว้างขวาง เพื่อขยายการผลิตให้สามารถ แข่งขันกับคู่แข่งในเวทีการค้าระหว่างประเทศให้ได้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้มีการส่งออกและทำ รายได้เป็นเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศเพิ่มมากขึ้น หนี้สินดังกล่าว ก็ต้องถือว่า มี สภาพคล่องในตัวของมันเองให้สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองได้ จึงไม่น่ากลัว ? ความเชื่อที่ว่า การใช้เงินงบประมาณแบบจัดสรรงบประมาณให้ขาดดุลอยู่ ตลอดเวลาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น เป็นสิ่งที่ดี ยิ่งมากเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น โดยไม่สนใจว่า หนี้ของประเทศจะมีปริมาณเท่าไหร่ โดยเฉพาะหนี้สินต่างประเทศที่ก่อกันขึ้นมานั้น กลับ เอามาใช้จ่ายเพื่อการบริโภคในปัจจุบันมากกว่า เปรียบเสมือนกับว่าเราเอาบ้านไปจำนอง ธนาคาร เพื่อเอาเงินมาซื้อน้ำมัน แล้วมาเติมรถยนต์ให้วิ่งไปไหนมาไหนได้ โดยไม่ได้ใช้ เพื่อการผลิตสินค้าและบริการให้มีรายได้มากขึ้น ในที่สุด เราก็คงไม่เหลืออะไรทั้งนั้น ไม่ว่า จะเป็นบ้านหรือรถยนต์ เข้ากับคำเปรียบเปรยว่า “เรากำลังจะลงนรกกันอยู่รอมร่อ แต่ก็ยัง ไปด้วยการตีตั๋วชั้นหนึ่ง”

5 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
AEC – ACMECS – BIMSTEC – DAWEI PROJECT ที่มาภาพ : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

6 ประเทศไทยและการแข่งขันในระดับโลก
ประเทศไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันกับประเทศอาเซียนอื่นๆ และการ แข่งขันในตลาดโลก การดำเนินยุทธศาสตร์การลงทุนขนานใหญ่ และเสริมสร้างหลัก ค้ำจุนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ อาทิเช่น ยุทธศาสตร์ด้านพลังงาน, เศรษฐกิจ คาร์บอนต่ำ (Low carbon Economy) และระบบ Logistics ข้ามประเทศ (ไม่ใช่ลงทุน บริโภคภายใน ตามระบบรถไฟฟ้า 7 สี ทำให้เงินทุนไหลออกมากกว่าเงินทุนไหลเข้า) การกำหนดยุทธศาสตร์ประเทศไทยให้มีการ GDP ขยายตัว 10% ติดต่อกัน 5 ปี นั้น จำเป็นต้องดำเนินการในยุทธศาสตร์ต่อไปนี้ การผลักดันการสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นสากลและ Asia-hub การจัดวางตำแหน่งของการพัฒนาใหม่กับโอกาสใหม่ทางประวัติศาสตร์ที่เปลี่ยนไป เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เพิ่มการเข้าร่วมในกิจการระหว่างประเทศ และหลอมรวมเข้าสู่โลกการแข่งขัน 5 ช่องเชื่อมโยงต่อกันได้แก ทางหลวง, รถไฟ, การบิน, ท่อน้ำมัน-ก๊าซธรรมชาติ และการขนส่งทางน้ำ ศูนย์กลางซื้อขายตามกรรมสิทธิ์ และทรัพย์สินต่างๆ เปิดประเทศสู่ภายนอกรอบด้าน ไม่ทะเลาะกับใคร และดึงดูดการลงทุนนานาชาติ

7 Asia’s Age of Discovery
ในระบบเศรษฐกิจโลกประกอบด้วยการแข่งขัน รายได้ต่อหัว ในประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ อยู่ที่ประมาณ 50,000 ดอลล่าห์ ส่วนประเทศไทย 3,000 ดอลล่าห์ จีนน่าจะประมาณ 1,500 ดอลล่าห์ และเวียดนามประมาณ 800 ดอลล่าห์ จากจุดต่ำนี้ เศรษฐกิจเอเซียสามารถปรับเพิ่มสูงขึ้นได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า เป็น 2 เท่า แต่ต้องเตรียมการตั้งแต่วันนี้ ผมไม่เห็นว่า ประชาชนในสวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน หรืออเมริกา จะหาเงินได้มากเป็น 2 เท่าในอีก 10 ข้างหน้า (สังคมตะวันตก เมื่อ 250 ปีที่แล้ว เป็นสังคมที่มั่งคั่ง เมื่อเปรียบเทียบกับอีกซีกโลกหนึ่ง ด้วยผลพวง ของระบอบอาณานิคมส่วนหนึ่ง และอีกส่วนเป็นผลจากสงครามโลกครั้งที่ 2) ในอเมริกา เป็นสังคมเบบี้บูม ประชากรเกิดและโตมาหลังสงคราม พวกเขา โตมาพร้อมความมากมี ในยุค 80 คนมีเงินออม 20% แต่ตอนนี้อัตราการออมเป็นศูนย์ พวกเขาไม่มีเงินออมเลย แต่มีหนี้ก่ายกอง กู้ยืมเงินเหมือนบ้าคลั่ง เป็นสำนึกผิดของ คนอเมริกา เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สิ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ธรรมชาติของ มนุษย์ (องค์กรศาสนา และอบายมุขจึงเติบโตได้ตลอด)

8 สะดวกสบายเกินไป บางทีก็กลายเป็นด้อยโอกาสไป ปัญหาหนึ่งของ ประเทศไทยคือ มีทรัพยากรอาหารมหาศาล คนมีความสุข ซึ่งเป็นจุดต้องระวัง คน ไทยชอบพูดว่า เราไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร ความเจ็บปวดอย่างสงคราม หรือความทุกข์ทน (Suffering) ก็เป็นสิ่งดี มัน เป็นความสามารถในการฝ่าฟัน เยอรมันเริ่มจากจุดต่ำสุด คนสูญเสียเงิน สูญเสียสิ่ง ต่างๆ ไปในสงคราม แต่ทว่าเมื่อจิตวิญญาณถูกฟื้นตัว คนจะขยันมาก พวกเขาจะ ทำงานหนัก และสำหรับเศรษฐกิจ คนที่มีความทะเยอทะยานจะพัฒนาได้มากกว่าคน ที่มองอะไรๆ ก็ง่ายไปหมด มีอะไรต้องทำอีกเยอะในการที่จะทำให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จ (Mare Faber/Gloom Boom Doom of Investment ใน MBA ฉบับ January 2009)

9 การเติบโตของชนชั้นกลางทั่วโลก
ในอดีต ประชากรส่วนใหญ่ของโลกเป็นคนยากจน ความต้องการพื้นฐานใน การดำรงชีพจึงเป็นเรื่องของปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษา โรค นับตั้งแต่ปี พ.ศ เป็นต้นมา ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นชนชั้นกลาง ซึ่งมีความต้องการบริโภคสินค้า และบริการที่หลากหลาย เพื่อความสะดวกสบายใน การดำรงชีพ เช่น รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ในปี พ.ศ ประชากรชนชั้นกลางทั่วโลก มีจำนวน 3,300 ล้านคน โดย คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 5,100 ล้านคน ในปี พ.ศ.2568 นอกจากการเพิ่มจำนวนชนชั้น กลางแล้ว ยังมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงองค์ประกอบด้วย ในอดีตชนชั้นกลางส่วน ใหญ่ อยู่ในประเทศตะวันตก แต่ในปัจจุบัน 3 ใน 4 ของชนชั้นกลาง อาศัยอยู่ในทวีป เอเซีย ชนชั้นกลางมีรายได้ดี มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง จึงเพิ่มโอกาสของการลงทุน ตัวอย่างเช่น ในประเทศจีนคาดว่ามีจำนวนโทรศัพท์มือถือมากถึง 650 ล้านเครื่อง หากท่านมีส่วนแบ่งการตลาด 10% และทำกำไรเพียงเครื่องละ 100 บาท ท่าน สามารถทำกำไรได้มากถึง 6,500 ล้านบาท (วิน พรหม แพทย์, ในวารสาร ประกันสังคม, มีนาคม 2554) มีกลุ่มประเทศดาวรุ่งพุ่งแรง BRIC ได้แก่ บราซิล- รัสเซีย-อินเดียและจีน และกลุ่มที่กำลังมีปัญหา PIGS ได้แก่ โปรตุเกส-อิตาลี-กรีซ และสเปน ที่ประเทศไทยควรจะได้ศึกษา

10 กลยุทธ์ธุรกิจ สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน (Competitive Advantage) ตั้งแต่ เริ่มต้นโดยเน้น การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (Cost leadership) การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การเจาะตลาด (Focus) กำหนดต้นทุนให้ต่ำที่สุด แต่ผลิตสินค้าได้คุณภาพที่สุด มีเป้าหมายและทิศทางที่แน่ชัดของบริษัท เพื่อวางกรอบกำลังการผลิต, ต้นทุน วัตถุดิบ, การคุมตลาด, การฝึกพนักงาน, การโฆษณาเพื่อกระตุ้นดีมานด์ตลาด ขับเคลื่อนองค์กรด้วยเทคโนโลยีและความรู้ นวัตกรรมกับความคิด คือ หัวใจสำคัญ อิงพื้นฐานแห่งการเป็นผู้ประกอบการที่นำนวัตกรรมไปสร้างผลผลิตต่อยอดให้เกิด ประโยชน์ได้ในที่สุด (ประเทศในเอเซียและละตินอเมริกาต้องเสียหายจากธุรกิจการเงินระยะสั้นที่เรียกกัน ว่า เงินร้อนนั้น ถูกนำเข้ามาหลั่งไหลในประเทศเพียงชั่วข้ามคืน และในขณะเดียวกัน เงินร้อน เหล่านี้ก็สามารถจะถูกทำให้ไหลออกไปได้ในชั่วเวลาข้ามคืนเช่นกัน หรือ เป็นความไร้ประสิทธิภาพของระบบโลกาภิวัฒน์)

11 ชีวิตและการทำงาน เจ้าของกิจการที่รวย มีเงิน มักประสบปัญหาด้านลูกน้องไม่ซื่อสัตย์ (ขี้ประจบ) คนทำงานเก่งมักประจบไม่เก่ง คนกินแรงคนอื่นมักประจบเก่ง และ ก่อให้เกิดเจ้านายหูเบา, พนักงานที่เก่งมักมีปัญหาด้านลูกน้อง ไม่อดทนต่อ ปัญหาน้ำเน่าในที่ทำงาน และหลายองค์กร ปัญหาเกิดจากยอดเจดีย์ แต่ยอด เจดีย์กลับพยายามให้ฐานเจดีย์เป็นคนแก้ปัญหา มีการเอาระบบ เอาอุปกรณ์ ต่างๆ นำเทคโนโลยี นำเอาหลักสูตรอันยอดเยี่ยมมาช่วยแก้ ซึ่งในที่สุด ก็พัน กันเป็นเกลี่ยวแน่น (เอกสิทธิ์ ใจงาม, Thailand Industrial Today, March 2011)

12 The Poor and Rich จอห์น เอฟ เคนเนดี กล่าวว่า หากสังคมที่มีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันแล้ว ไม่สามารถช่วยคนยากจนจำนวนมากได้ มันก็คงไม่สามารถรักษาและปกป้องคน ร่ำรวยในสังคมได้เช่นเดียวกัน “If a free society cannot help the many who are poor, it cannot save the few who are rich” (วีระพงษ์ ชุติภัทร์, 2554) กรณีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ประเทศอียิปต์, ตูนีเซีย, เยเมน, ลิเบีย เป็นต้น จากการสำรวจของธนาคารพัฒนาเอเซีย หรือ ADB พบว่าประเทศไทยเป็น ประเทศที่มีความไม่เท่าเทียมในด้านรายได้สูงที่สุด ในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียง ใต้ (ไทย มี Gini index = ณ สิ้นปี 2552, อินโดนีเซีย มาเลเซีย และ เวียดนาม ต่ำกว่า 0.40) ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการกระจายรายได้ว่า ประเทศไทยมี ประชากร 20% ที่รวยที่สุด มีรายได้ถึง 54.2% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่ ประชากร 20% ที่จนที่สุดกลับมีรายได้ 4.8% ของรายได้ทั้งหมด (พรชัย ฐีระเวช-ผู้ปลุกการเงินรากหญ้า)

13 จุดแข็ง – จุดอ่อน ทว่า บางทีจุดแข็งก็กลายเป็นจุดอ่อนได้ อย่างความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ของนโปเลียน ทำให้เขาต้องแพ้ภัยตัวเองเช่นกัน เพราะเมื่อสามารถเอาชนะข้าศึก ด้วยจุดแข็งข้อนี้ได้อย่างต่อเนื่อง ความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว ก็กลายเป็นความเชื่อมัน ในตัวเอง เมื่อความเชื่อมั่นมีมาก ก็ทำให้นโปเลียนถูกมองว่า เป็นผู้นำที่มักเอาแต่ใจ ตัวเอง และจองหอง ไม่ยอมฟังใคร (กรณีประเทศไทยก็เป็นเช่นเดียวกัน : การมีชัย ชนะมาตลอด และไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร อาจกลายเป็นจุดอ่อนได้ เช่นเดียวกัน) นโปเลียน เป็น CEO ที่สามารถจัดองค์กรให้เกิดศักยภาพในการส่งมอบงาน หรือ Delivery ได้ด้วยดี สาเหตุที่นโปเลียนทำได้ ก็เพราะนโปเลียนรู้จริงงานที่ทำ จุดอ่อนของนโปเลียนคือ ความสำเร็จที่ได้มาเร็วเกินไปจึงออกอาการว่า เริ่มจะไม่ฟัง ใคร เชื่อมั่นในตัวเองสูง หรือกลายเป็นเหยื่อของคำว่า Hubris คือจองหอง และไม่ฟัง ใคร การบุกรัสเซียทำให้นโปเลียนสูญเสียกำลังพลมหาศาล ผลลัพท์ของการโจมตี คือ ความพ่ายแพ้อย่างใหญ่หลวง และเริ่มปรากฎเป็นลางว่าจะต้องพ่ายแพ้ต่อไป การ ไม่ฟังใครเพราะความสำเร็จที่ได้มาอย่างรวดเร็ว กลับกลายเป็นความพินาศ ว่ากันว่า ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวตัดสินให้นโปเลียนต้องพ่ายแพ้ต่อ Lord Wellington ที่ Waterloo นั้น ก็เพราะว่าบรรดานายธนาคารทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งตระกูล Rothschild หยุดอำนวยธุรกรรมทางด้านการเงินให้กับเขา เพราะไม่ไว้ใจนโปเลียน กลัวว่าถ้าชนะแล้วจะไม่ทำตามสัญญา เพราะช่วงหลังนโปเลียนมักไม่ฟังใคร (MBA ฉบับ January 2009)

14 การพัฒนาความมั่งคั่งอีสานจีน
จี๋หลิน เป็นมณฑลขนาดเล็กทั้งในเชิงภูมิศาสตร์และขนาดเศรษฐกิจในภูมิภาคจีน หรือประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจของมณฑลเติบโตในอัตราร้อยละ 10 มานับตั้งแต่ปี 2546 และขยายตัวรวมถึงร้อยละ 51 ในระหว่างปี ณ สิ้นปี 2552 มีผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ประมาณ 105,500 ล้านดอลล่าห์สหรัฐ ขยายตัวในอัตราร้อยละ 13.3 นับว่าสูงยิ่งกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศจีน รายได้เฉลี่ยตัวหัวอยู่ที่ประมาณ 3,850 ดอลล่าห์สหรัฐ จี๋หลิน มีโครงสร้างเศรษฐกิจจำแนกเป็น ภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 15 ภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 45 และภาคบริการ ร้อยละ 40 อุตสาหกรรมสำคัญได้แก่ การผลิตรถไฟและยานยนต์ ปิโตรเคมี ยา อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร-ป่าไม้ และปศุสัตว์ รวมทั้งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุทางธรรมชาติ นครฉางชุน ในมณฑลจี๋หลิน มีจุดแข็งในภาคบริการหลายด้าน อาทิเช่น การเป็นแหล่งท่องเที่ยวภูมิภาคตอนเหนือ และการเป็นเมืองแห่งป่าไม้ เมืองมหาวิทยาลัย และนครแห่งภาพยนต์ ด้วยความพร้อมของทั้งปัจจัยการผลิตที่ธรรมชาติให้มา และมนุษย์สร้างขึ้น รวมทั้งความพยายามในการเปิดประตูเศรษฐกิจสู่โลกภายนอก มูลค่าและสัดส่วนการค้าและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ FDI ต่อ GDP ของมลฑลก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร,2554)

15 จากนี่ถึงทิมบักตู เมกกะแห่งซาฮาร่า
                 ทิมบักตู นั้นเป็นเมืองเล็กๆเมืองหนึ่งในประเทศมาลี ตั้งอยู่บริเวณขอบตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาร่า ซึ่งห่างจากจุดที่แม่น้ำไนเจอร์ขึ้นไปทางเหนือประมาณ 15 กิโลเมตร เมืองนี้เป็นต้นกำเนิดวลีในภาษาอังกฤษที่ว่า “From here to Timbuktu” (จากที่นี่ถึงทิมบักตู) ซึ่งเมื่อได้ยินฝรั่งพูดวลีนี้ ก็ขอให้ทราบว่าเขากำลังหมายถึงสถานที่ซึ่งห่างไกลมากๆ อีกทั้งยังค่อนข้างลี้ลับและแปลกประหลาดอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม หากได้ทราบเรื่องราวที่กำลังจะเล่าเกี่ยวกับเมืองนี้แล้ว ก็จะพบว่าเมืองทิมบักตูจริงๆ นั้นช่างแตกต่างจากความหมายที่วลีดังกล่าวสื่อออกมาอย่างสิ้นเชิง เพราะที่นี่เคยมีอดีตอันเกรียงไกรในฐานะเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ศิลปวิทยาการอิสลามของทวีปแอฟริกา จนถึงขนาดได้รับการขนานนามว่าเป็น นครเมกกะแห่งทะเลทรายซาฮาร่า (the Mecca of Sahara) หรือ กรุงเอเธนส์แห่งทวีปแอฟริกา (the Athens of Africa)

16 ความมั่งคั่ง ทิมบุกตู (Timbuktu)
เมื่อจักรวรรดิ์กานา (Ghana Empire) เรืองอำนาจทำให้มีเส้นทางช่วยเชื่อมภูมิภาคต่างๆ ของอัฟริกาเข้ากับภูมิภาคต่างๆ ของโลกอีกด้วย (Trans-Saharan Trade Routes) และทิมบักตูก็ตั้งอยู่บริเวณจุดตัดระหว่างแม่น้ำในเจอร์ และเส้นทางการค้าเหล่านี้ ปัจจัยทั้งหมดนี้เองส่งผลให้เมืองแห่งนี้กลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญของอัฟริกา ได้แก่ ทองคำ งาช้าง เกลือ ทาส และม้าจากอาหรับ ความรุ่งเรืองทางการค้านี้ได้ชักนำศาสนาอิสลาม เข้ามาสู่ทิมบักตูในศตวรรษที่ 11 และในศตวรรษที่ 14 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยที่สำคัญถึง 3 แห่ง Sankore University, Jingaray University และ Sidi Yahya University และยังเป็นที่ตั้งสำนักสอนคำภีร์กุรอ่านอีก 180 สำนัก ทำให้ทิมบุกตูเป็นศูนย์กลางผลิตตำรา และศึกษาศาสตร์อิสลามของอัฟริกาแถบตะวันตก ความเสื่อมของทิมบุกตู เพราะเต็มไปด้วยปัญหาการฉัอราษฏร์บางหลวง และการกดขี่ข่มเหงประชาชนในศตวรรษที่ 15 ผู้นำชาวตัวเร็กเผ่ามาคซารัน ซึ่งเคยเป็นผู้ก่อตั้งทิมบุกตู หมดอำนาจลงในช่วงจักรวรรดิ์มาลีเรืองอำนาจ ก็ถือโอกาสเข้ารุกราน และยึดครองทิมบุกตู ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการเสื่อมของทิมบุกตู ก็คือการค้นพบทวีปอเมริกา โดยก่อนหน้านี้ชาวยุโรปต้องพึ่งพ่อค้ามุสลิม ทั้งที่เป็นอาหรับและอัฟริกาเป็นอย่างมาก ในการที่จะได้มาซึ่งทองคำ เครื่องเทศ งาช้าง ทาส รวมถึงสินค้าหายากอื่นๆ นอกทวีปยุโรป ชาวยุโรปมีความไม่พอใจในมาตรการด้านภาษี

17 และการกำหนดราคาสินค้าเหล่านี้โดยพ่อค้ามุสลิม ซึ่งทำให้ยุโรปพยายามค้นหาเส้นทางการค้าใหม่ เพื่อลดบทบาทของพ่อค้ามุสลิม ในการผูกขาดสินค้าดังกล่าวและในที่สุดก็ทำสำเร็จ เมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกาได้นำไปสู่การค้นพบแหล่งทองคำแหล่งใหม่ การพัฒนานิคมเพาะปลูก อ้อย กาแฟ โกโก้ และนิคมเหมืองแร่เงิน ส่งผลให้เกิดความต้องการแรงงานทาสจากอัฟริกาเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดเส้นทางการค้าข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (Trans-Atlantic Trade Routes) มีความสำคัญขึ้นมาแทนเส้นทางการค้าข้ามทะเลทรายซาฮาร่า ทิมบุกตู ทำให้ทิมบุกตูได้รับผลกระทบอย่างหนักจนพบกับความเสื่อมสลายในที่สุด เพราะสูญเสียความมั่งคั่งจากผลประโยชน์โดยตรงจากกิจกรรมทางการค้าบนเส้นทางดังกล่าว


ดาวน์โหลด ppt GDP ประเทศไทย + 10% 4 Megatrend ของโลก Global warming

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google