งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

รองปลัดกระทรวงพลังงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "รองปลัดกระทรวงพลังงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 รองปลัดกระทรวงพลังงาน
ทิศทางพลังงานไทย ปี 2556 นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555

2 นโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล (แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554)
1. ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์ 3.กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน 2. สร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน 4. ส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร นโยบายลังงานของรัฐบาล ส่งเสริมและผลักดันให้อุตสาหกรรมพลังงานสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมเชิงยุทธศาสตร์ เพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงานของภูมิภาคโดยใช้ความได้เปรียบเชิงภูมิยุทธศาสตร์ สร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน โดยแสวงหาและพัฒนาแหล่งพลังงานและระบบไฟฟ้าจากทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งให้มีการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลาย เหมาะสม และยั่งยืน กำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสม เป็นธรรมและมุ่งสู่การสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยปรับบทบาทกองทุนน้ำมันให้เป็นกองทุนสำหรับรักษาเสถียรภาพราคา ส่วนการชดเชยราคานั้นจะดำเนินการอุดหนุนเฉพาะกลุ่ม ส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติมากขึ้นในภาคขนส่ง และส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์และไบโอดีเซลในภาคครัวเรือน ส่งเสริมการผลิต การใช้ ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างน้อยร้อยละ 25 ภายใน 10 ปี ทั้งนี้ ให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างครบวงจร ส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี และมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และอาคารสถานที่ที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนสร้างจิตสำนึกของผู้บริโภคในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพให้เป็นระบบจริงจังและต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือน 5. ส่งเสริมและผลักดันการอนุรักษ์พลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยลดระดับการใช้พลังงานต่อผลผลิตลงร้อยละ 25 ภายใน 20 ปี และมีการพัฒนาอย่างครบวงจร ส่งเสริมการใช้อุปกรณ์และอาคารสถานที่ที่มีประสิทธิภาพสูง ส่งเสริมกลไกการพัฒนาพลังงานที่สะอาดเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกและแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนสร้างจิตสำนึกของผู้บริโภคในการใช้พลังงานอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพให้เป็นระบบจริงจังและต่อเนื่องทั้งภาคการผลิต ภาคการขนส่ง และภาคครัวเรือน

3 ทิศทางการดำเนินงานของกระทรวงพลังงานในปี 2556
มุ่งเน้นโครงการสำคัญตามนโยบายพลังงานของรัฐบาล ความมั่นคง โครงสร้างพื้นฐาน กำกับดูแล เพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน พลังงานทดแทน

4 ด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน
โครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 4 การก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกเส้นที่ 4 จาก LNG Receiving Terminal อำเภอ มาบพุด จังหวัดระยอง ไปยังอำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ความสามารถสูงสุดในการส่งก๊าซฯ 1,400 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน งานก่อสร้างระบบท่อส่งก๊าซฯ เส้นที่ 4 (Mainline) คาดว่าจะแล้วเสร็จไตรมาส 4/ 2556 LNG Receiving Terminal ระยะที่ 2 การก่อสร้างท่าเทียบเรือ การก่อสร้างถังเก็บ LNG ขนาด 160,000 ลบ.ม. จำนวน 2 ถัง การก่อสร้างหน่วยแปลงสภาพ LNG ขนาดกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปี (ประมาณ 700 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน) ระยะเวลาในการก่อสร้างโครงการประมาณ 5 ปี

5 ด้านโครงสร้างพื้นฐานพลังงาน
การขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ จัดทำรายละเอียดรูปแบบการลงทุนท่อขนส่งน้ำมัน กำหนดแนวทางการจัดตั้งศูนย์กลางการจ่ายน้ำมันหลักในแต่ละภูมิภาค จากโรงกลั่นสู่คลังน้ำมันหลัก คลังในกรุงเทพชั้นนอกและภาคกลางโดยท่อ คลังในภาคตะวันตกและภาคใต้โดยเรือ จากคลังน้ำมันหลักสู่คลังน้ำมันภูมิภาค คลังในภาคเหนือ และภาคอีสานโดยท่อ โครงการก่อสร้าง สายส่งไฟฟ้าแรงสูง โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และขอนแก่น เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว โครงการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธรและอำนาจเจริญ เพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว โครงการปรับปรุงและขยายระบบส่งไฟฟ้าที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานระยะที่ ๒ โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า

6 ด้านความมั่นคงทางพลังงาน
การเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 เตรียมการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 สร้างความรู้ความเข้าใจแก่สาธารณชน เกี่ยวกับการจัดหาแหล่งพลังงานใหม่ ๆ และบทบาทการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ การสำรองน้ำมันเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดเป้าหมายการสำรองทั้งหมดที่ 90 วัน ตั้งองค์กรเฉพาะเพื่อบริหารจัดการน้ำมันสำรองเชิงยุทธศาสตร์ เป็นเครื่องมือของรัฐบาลสำหรับบริหารจัดการในภาวะวิกฤติที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำมัน สร้างความมั่นใจให้แก่ประชาชนว่าประเทศจะมีน้ำมันใช้อย่างเพียงพอไม่ขาดแคลน ไม่กระทบต่อการผลิตในภาคต่างๆ

7 ด้านความมั่นคงทางพลังงาน
กำหนดเริ่มส่งก๊าซฯในช่วงเดือนเมษายน 2556 ถึง ธันวาคม 2556 ปริมาณสำรองเบื้องต้น 1.4 ล้านล้าน ลบ.ฟุต อายุสัญญา 30 ปี นับจากวันที่เริ่มส่งก๊าซฯ จุดส่งมอบชายแดนไทย-เมียนมาร์ บ้านอิต่อง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี การนำเข้าก๊าซจากเมียนมาร์ แปลง M9

8 ด้านความมั่นคงทางพลังงาน
การเตรียมการประมูลโรงไฟฟ้า IPP จัดทำแนวทางการดำเนินงานการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนรายใหญ่ (IPP) ในช่วงปี ตาม PDP 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3

9 ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
ทบทวนต้นทุนของพลังงานหมุนเวียนที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ที่ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว การส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าชีวมวลให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น การส่งเสริมมีการผลิตไฟฟ้าชีวมวลให้มีกำลังผลิตที่สอดคล้องกับความสามารถในการจัดหาเชื้อเพลิงชีวมวล รวมถึงพืชพลังงาน (Energy Crop) การเสนอแนะแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กและขนาดชุมชน โดยคำนึง ถึงปริมาณและราคารับซื้อที่เหมะสม รวมถึงผลประโยชน์ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยใช้ Feed-in Tariff

10 ด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
การส่งเสริม เชื้อเพลิงชีวภาพ การยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 สร้างความมั่นใจในการใช้แก๊สโซฮอลให้กับประชาชน ใช้มาตรการด้านราคาและขอความร่วมมือจากผู้ค้าน้ำมันให้มีการขยายสถานีน้ำมัน E20 เพิ่มเป็น 1,550 สถานี โครงการส่งเสริมพลังงานทดแทนระดับชุมชน โครงการพัฒนาศูนย์ต้นแบบชุมชนสีเขียว (Green Community) โครงการสนับสนุนการผลิตก๊าซชีวภาพจาก ชีวมวล/ของเสียผสม/พืชพลังงานในพื้นที่นิคมพัฒนาตนเอง โครงการพัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม

11 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในอาคารภาครัฐ (ปี 2556 – 2558) อาคารควบคุมภาครัฐ 800 แห่ง; นอกข่ายควบคุม 1,600 แห่ง เปลี่ยนเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน 180,000 เครื่อง เปลี่ยนหลอดไฟประสิทธิภาพสูง (LED, T5) 3 ล้านหลอด รณรงค์ลดใช้พลังงานในภาคราชการ 10% งบประมาณ 7,300 ล้านบาท (3 ปี) ประหยัดไฟฟ้าได้ 43.5 KTOE ต่อปี เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน SME อุดหนุนการลงทุน 20% ร่วมลงทุนผ่านโครงการ ESCO Fund เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพลังงาน 1,050 แห่ง งบประมาณ 9,895 ล้านบาท (3 ปี) ประหยัดไฟได้ 400 KTOE ต่อปี

12 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
โครงการส่งเสริมวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานขนาดกลางและขนาดเล็ก มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Motor; HEM) อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (Variable Speed Drive; VSD) เครื่องอัดอากาศประสิทธิภาพสูง การเปลี่ยนหม้อไอน้ำ (Boiler) เป้าหมาย -สถานประกอบการที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็กรวม 3,000 แห่ง ใช้งบประมาณ 524 ล้านบาท โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและสาธิตการจัดการพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาบุคลากรของโรงงานอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินการอนุรักษ์พลังงานได้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเป็นระบบและยั่งยืน ถ่ายทอดประสบการณ์และเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานที่เหมาะสม เพื่อจัดทำกรณีตัวอย่างการอนุรักษ์พลังงานในกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นจริงสำหรับนำไปเผยแพร่ขยายผลต่อไป

13 ด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงาน
การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน การปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุน กำหนดกลไกบรรเทาผลกระทบให้กับกลุ่มที่สมควรจะได้รับการช่วยเหลือ โครงการป้องกันและติดตามตรวจสอบการลักลอบส่งออกก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งทีมงานตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมายของโรงบรรจุก๊าซ และสถานีบริการในพื้นที่เป้าหมาย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กรมธุรกิจพลังงาน พลังงานจังหวัด ศุลกากร และตำรวจ วางกำลังเฝ้าระวังโรงบรรจุก๊าซที่มีเบาะแสว่าลักลอบส่งออก ติดตามสถานการณ์ลักลอบส่งออกกับผู้ว่าราชการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและตรวจสอบการลักลอบจำหน่ายก๊าซ LPG ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

14 ด้านการกำกับดูแลและราคาพลังงาน
โครงการบัตรเครดิตพลังงานยกกำลัง 2 เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรเครดิต เพิ่มความสะดวกในการใช้งาน เช่น ช่องทางการชำระเงินที่ทั่วถึง ขยายการให้บริการไปยังกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้าง การขยายสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ ลงนาม MOU ร่วมกับ ปตท. (พื้นที่สนับสนุนเบื้องต้น 4 แปลง) คาดว่าสถานีบริการ NGV ในพื้นที่ราชพัสดุ แห่งแรก เขตพระโขนง จะดาเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการ NGV ได้ในช่วงเดือน ส.ค.56

15 “มุ่งมั่น ตั้งใจ เพื่อไทยทุกคน”
ขอบคุณครับ


ดาวน์โหลด ppt รองปลัดกระทรวงพลังงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google