งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ผลการวิจัยและประเมินผลโครงการ อย.น้อย ปี 2552

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ผลการวิจัยและประเมินผลโครงการ อย.น้อย ปี 2552"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ผลการวิจัยและประเมินผลโครงการ อย.น้อย ปี 2552
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

2 สภาพปัญหา จากการสำรวจภายในโรงเรียน

3 สภาพปัญหา จากการสำรวจบริเวณหน้าโรงเรียน

4 โครงการ อย.น้อย ตัวชี้วัด/เป้าหมายโครงการ
ร้อยละ 60 ของนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี ได้แก่ ไม่บริโภคน้ำอัดลม ไม่บริโภคอาหารขยะ บริโภคนม ผัก ผลไม้ การใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างถูกต้อง อ่านฉลากอาหาร ยา เครื่องสำอางก่อนใช้ ร้อยละ 90 ของนักเรียน อย.น้อย มีการบูรณาการโครงการที่กระทรวงสาธารสุขรับผิดชอบเข้ากับโครงการ อย.น้อย และมีกิจกรรมเกี่ยวกับการบริโภคอย่างไรให้ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มีการใช้คู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน 4 ภาค รวมไม่น้อยกว่า 400 โรงเรียน

5 วิธีการดำเนินโครงการ อย.น้อย
การประชาสัมพันธ์โครงการ การจัดทำรายการเพื่อเผยแพร่กิจกรรม อย.น้อย ทางสถานีโทรทัศน์ และทางเว็บไซต์ จัดให้ผู้บริหารไปเยี่ยมโรงเรียน อย.น้อย ที่มีผลงานดีเด่น และทำข่าวประชาสัมพันธ์หรือทำเป็นสกู๊ปข่าวเผยแพร่ทางโทรทัศน์

6 วิธีการดำเนินโครงการ อย.น้อย (ต่อ)
การผลิตสื่อสนับสนุนการทำกิจกรรม อย.น้อย แบบสอบถามการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพในครัวเรือน โดยจะสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร และเครื่องสำอาง บทความรู้เพื่อเผยแพร่ทางเสียงตามสายในโรงเรียนหรือวิทยุชุมชน แผ่นพับ/โปสเตอร์ สื่อประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์

7 วิธีการดำเนินโครงการ อย.น้อย (ต่อ)
บทความรู้ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์

8 วิธีการดำเนินโครงการ อย.น้อย (ต่อ)
การจัดทำหลักสูตรและคู่มือ โดยมีการพัฒนาคู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วนำไปใช้ในการดำเนินการเรียนการสอนในสถานศึกษาทั่วประเทศ

9 วิธีการดำเนินโครงการ อย.น้อย (ต่อ)
การสนับสนุนงบประมาณ โดยจัดสนรรให้กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในการทำโครงการ อย.น้อย การจัดประกวดกิจกรรม/โครงงาน โดยเป็นกิจกรรม อย.น้อย และโครงงานเพื่อพัฒนาด้านสุขภาพในโรงเรียนในระดับภาค/ระดับประเทศ พร้อมกับจัดทัศนศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้

10 คำถามการวิจัยและประเมินผล
1) นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม อย.น้อย มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นอย่างไร และผ่านเกณฑ์การประเมินของโครงการ อย.น้อย หรือไม่ 2) ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพ และเจตคติต่อการดูแลสุขภาพของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม อย.น้อย อยู่ในระดับใด และมีสิ่งแวดล้อมใดบ้างที่ส่งผลต่อการดูแลสุขภาพตนเองของนักเรียน อย.น้อย 3) การจัดกิจกรรม อย.น้อย ในโรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง 4) คู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่การเรียนการสอนได้นำไปใช้ในโรงเรียนอย่างไร

11 วัตถุประสงค์การประเมินผลโครงการ
1) เพื่อประเมินพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ของนักเรียน 2) เพื่อประเมินการจัดกิจกรรม อย.น้อย ของโรงเรียน 3) เพื่อประเมินการนำคู่มือบูรณาการความรู้ด้าน ผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่การเรียนการสอนไปใช้ในโรงเรียน

12 ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
สิ่งที่มุ่งประเมินสำหรับโครงการ อย.น้อย ปี 2552 ได้แก่ (1) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนที่ทำกิจกรรม อย.น้อย (2) การดำเนินงานโครงการ อย.น้อย ภายในโรงเรียน (3) การนำคู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่การเรียนการสอนไปใช้ในโรงเรียน 2. ขอบเขตด้านประชากร นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 2,589 โรงเรียน 3. ขอบเขตด้านพื้นที่ โครงการ อย.น้อย ได้ดำเนินการทุกภาคในประเทศ ดังนั้นจึงกำหนดพื้นที่ในการศึกษา 5 ภูมิภาค ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) ภาคเหนือ 2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ภาคใต้ 4) ภาคกลาง และ 5) กรุงเทพมหานคร

13 แนวคิดการดำเนินการวิจัยและประเมินผลโครงการ

14 กรอบการดำเนินการวิจัยและประเมินผล

15 กรอบการดำเนินการวิจัยและประเมินผล (ต่อ)

16 กรอบการดำเนินการวิจัยและประเมินผล (ต่อ)

17 กรอบการดำเนินการวิจัยและประเมินผล (ต่อ)

18 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ เพศ ชาย 1071 26.3 หญิง 2998 73.7 รวม 4069 100.0 ระดับชั้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 691 17.0 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 683 16.8 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 672 16.5 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 667 16.4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 675 16.6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 681 16.7

19 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ)
ตัวแปร จำนวน ร้อยละ จังหวัด เชียงใหม่ 355 8.7 ลำปาง 268 6.6 พิษณุโลก ชัยภูมิ ขอนแก่น 266 6.5 หนองคาย 181 4.4 นครศรีธรรมราช พังงา สุราษฎร์ธานี สมุทรสงคราม 269 อ่างทอง ฉะเชิงเทรา 180 ชลบุรี เพชรบุรี 177 4.3 สมุทรปราการ 90 2.2 ปทุมธานี กรุงเทพมหานคร 323 7.9 รวม 4069 100.0

20 ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง (ต่อ)
การเป็น แกนนำ อย. น้อย เป็น 982 24.1 เคยเป็น 459 11.3 ไม่เป็น 2600 63.9 ไม่ตอบ 28 0.7 รวม 4069 100.0

21 ผลการประเมินพฤติกรรมการบริโภค
1 พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่มีอายุระหว่าง 12 – 18 ปี มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี คิดเป็น ร้อยละ * ของนักเรียนทั้งหมด สรุปผลการประเมิน: บรรลุเป้าหมายของโครงการ ที่ตั้งเกณฑ์ไว้ที่ร้อยละ 60 *พฤติกรรมเฉลี่ยได้จากการนำค่าร้อยละของจำนวนนักเรียนที่มี พฤติกรรมที่ดี/ที่ถูกต้องในแต่ละพฤติกรรมทั้งพฤติกรรมการ บริโภคอาหาร พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ การอ่าน ฉลากก่อนใช้

22 พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ดี/ที่ถูกต้อง ร้อยละ ผ่าน ไม่บริโภคน้ำอัดลม 71.40 ไม่บริโภคอาหารจานด่วน 85.60 ไม่บริโภคขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ 53.90 บริโภคนม 79.10 บริโภคผัก 77.90 บริโภคผลไม้ 83.90 พฤติกรรมเฉลี่ย 75.30 5 1 2 3 4 เกณฑ์การประเมินอาหารสีแดง : นักเรียนมีพฤติกรรมระดับ 1 – 3 หรือ ไม่กินเลยถึงกินบางครั้ง ร้อยละ 60 เกณฑ์การประเมินอาหารสีเขียว : นักเรียนมีพฤติกรรมระดับ 4 – 5 หรือกินบ่อยถึงกินเป็นประจำ ร้อยละ 60

23 พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ
พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี/ที่ถูกต้อง ร้อยละ ผ่าน ดูเครื่องหมาย อย.ให้เจอก่อนเลือกซื้อ ผลิตภัณฑ์อาหาร 57.70 ดูวันหมดอายุ หรือเดือนปีที่ผลิต ให้เจอก่อนเลือกซื้อหรือบริโภค 82.10 อ่านชื่อสารอาหารจากข้อมูลโภชนาการบนฉลาก เช่น ไขมัน โปรตีน ก่อนเลือกซื้อ 47.40 สังเกตภาชนะบรรจุอาหารก่อนซื้อว่าสะอาดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่ฉีกขาด รั่วซึม บวมหรือบุบบู้บี้ 84.00 สังเกตสภาพการเก็บรักษาอาหารโดยจะต้องเก็บไว้ให้อยู่ในอุณหภูมิที่เหมาะสมกับชนิดอาหาร 68.00 สังเกตสภาพของอาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุก่อนบริโภคว่าไม่มีฟอง เมือก ไม่มีสี กลิ่นที่เปลี่ยนไป จากเดิม 81.40 อ่านฉลากยาทุกครั้งก่อนจะซื้อหรือใช้ยา 84.30 ปฏิบัติตามคำแนะนำที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด 79.50 พฤติกรรมเฉลี่ย 73.05 5 4 3 2 1 เกณฑ์การประเมิน: นักเรียนมีพฤติกรรมระดับ – 5 หรือทำเป็นส่วนใหญ่ถึงทำทุกครั้ง ร้อยละ 60

24 ผลการประเมินกิจกรรม อย.น้อย
2 การจัดกิจกรรมที่มีการบูรณาการกับโครงการที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบ พบว่า กลุ่มโรงเรียนตัวอย่างที่ดำเนินกิจกรรม อย.น้อย ทุกแห่ง (25 แห่ง) ร้อยละ 100 มีการบูรณาการโครงการที่กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบกับกิจกรรม อย.น้อย โดยที่กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีการดำเนินการอย่างน้อยที่สุด 1 โครงการ/กิจกรรม ผลการประเมินบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการที่ร้อยละ 90 การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า กลุ่มโรงเรียนตัวอย่างทุกแห่ง (25 แห่ง) ร้อยละ 100 มีการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคอย่างปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่กลุ่มนักเรียน อย.น้อย มีการดำเนินการอย่างน้อยที่สุด 1 โครงการ/กิจกรรม ผลการประเมินบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการที่ร้อยละ 90

25 ผลการประเมินการใช้คู่มือ อย.น้อย
3 การใช้คู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่า มีการนำร่องการใช้คู่มือบูรณาการความรู้ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพสู่การเรียนการสอนในโรงเรียน 4 ภาค ๆ ละอย่างน้อย 100 โรงเรียน รวมไม่น้อยกว่า 400 โรงเรียนผลการประเมินบรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ

26 ข้อเสนอแนะ สำหรับโรงเรียน
1) โรงเรียนควรมีการตรวจสอบและติดตามพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่องทุกปี และนำผลการตรวจสอบและติดตามนั้นมาใช้ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอย่างเหมาะสม 2) โรงเรียนควรจัดสภาพสิ่งแวดล้อมภายในและบริเวณใกล้เคียงกับโรงเรียนให้ปลอดอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพของนักเรียน เช่น น้ำอัดลม อาหารหวานจัด ขนมขบเคี้ยวกรุบกรอบ เป็นต้น 3) โรงเรียนควรร่วมมือกับผู้ปกครองและผู้ขายผลิตภัณฑ์สุขภาพภายในชุมชนในการเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชน พร้อมทั้งขยายพื้นที่สุขภาพดีให้ทั่วทั้งชุมชน

27 ข้อเสนอแนะ สำหรับ อย. 1) อย.ควรมีการตรวจสอบและติดตามพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนร่วมกับโรงเรียนและหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยผ่านทางโครงการ/กิจกรรม อย.น้อย 2) อย.ควรมีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยจัดการฐานข้อมูลออนไลน์ในการเก็บรวบรวมและรายงานผลข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ พร้อมทั้งมีการให้ข้อมูลย้อนกลับไปยังโรงเรียนอย่างทันท่วงทีเพื่อใช้เป็นข้อมูลสารสนเทศสำหรับการวางแผน/ออกแบบกิจกรรมในการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 3) อย.ควรจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ การวิจัยของหน่วยงานให้มีความเข้มแข็งและเป็นปัจจุบันทั้งเชิงตัวเลขสถิติและแนวโน้มเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพของเด็กไทยเพื่อนำมาใช้ในงานด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้บริโภค


ดาวน์โหลด ppt ผลการวิจัยและประเมินผลโครงการ อย.น้อย ปี 2552

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google