งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย การออกกำลังกายสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย การออกกำลังกายสุขภาพ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย การออกกำลังกายสุขภาพ
โดย ดร.จรวยพร ธรณินทร์ กรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.) วันศุกร์ 3 ธันวาคม 2553 เวลา น. การประชุมวิชาการแห่งชาติ ของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย ณ โรงแรมจอมเทียนปาล์มบีช เมืองพัทยา ชลบุรี

2 ประเด็นที่ ๑. หลักการเบื้องต้นของเครือข่าย
ประเด็นที่ ๑. หลักการเบื้องต้นของเครือข่าย ความหมาย ประโยชน์ ระดับของความร่วมมือ

3 พูดถึง “เครือข่าย” นึกถึง
ขายตรง UBC AIS/True Internet กิจกรรม แชร์ หวยใต้ดิน ค่ายเทป การสื่อสารไร้สาย การศึกษาไร้พรมแดน 7 eleven เครือญาติ เครดิตบูโร ฐานข้อมูล ปฏิสัมพันธ์ ความร่วมมือ การประสานงาน ความสามัคคี ความกว้างใหญ่ การเชื่อมโยงกัน เป้าหมาย วัตถุประสงค์ร่วม จุดประสงค์ร่วมกัน ผลประโยชน์ร่วม การสื่อสาร ความสามารถ/ถนัดของคนในเครือข่าย ความสัมพันธ์ที่ดี การทำงานเป็นกลุ่ม การเรียนรู้ร่วมกัน ขอบข่ายกว้างขวาง CRMการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ กติกา/ข้อตกลงร่วมกัน ที่มา: นิพัทธ์ กานตอัมพร ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยเพื่อการพัฒนาภาคพื้นเอเซียและแปซิฟิก

4 ความหมายของเครือข่าย (Network)
คือขบวนการทางสังคมอันเกิดจากการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่ม องค์กร สถาบัน ร่วมกันดำเนินกิจกรรม โดยมีเป้าหมายร่วมกัน โดยที่สมาชิกสมัครใจแลกเปลี่ยน มีการจัดระเบียบโครงสร้างยังคงความเป็นเอกเทศไม่ขึ้นต่อกัน (ที่มา : เสรี พงศ์พิศ, 2548)

5 องค์การอนามัยโลกแนะใช้เครือข่ายเป็นยุทธศาสตร์ส่งเสริมสุขภาพ
1.ต้องจัดทำแผน และยุทธศาสตร์ในระดับชาติ 2.ใช้ข้อมูลและประสบการณ์จากองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อใช้เป็นตัวเปรียบเทียบมาตรฐานและผลักดันให้เร่งพัฒนา 3.สร้างพลังเครือข่ายจากชุมชน องค์กรเอกชน และหน่วยงานภาครัฐ 4.ส่งเสริมให้บุคคลมีความรู้สุขภาพ และมีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติจริง 5. เผยแพร่ความรู้ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งใช้สื่อสารมวลชนในเชิงสร้างสรรค์

6 ออสเตรเลียใช้ยุทธศาสตร์เครือข่ายเป็นมาตรฐานการสร้างเสริมสุขภาพ
1. การอุดหนุนที่เพียงพอจากรัฐทั้งเงินและนโยบาย 2. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 3. การพัฒนายุทธศาสตร์แผนงานและกิจกรรม 4. หลักความเสมอภาคและความหลากหลาย 5. ทีมงาน 6. การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน 7. การวิจัยและพัฒนาจัดการความรู้ใหม่ 8. การติดตามและประเมินผล

7 มาตรการที่ 1. สร้างความเข้มแข็งหน่วยงานรัฐที่รับผิด
รัฐไอโอวา สหรัฐ ใช้ยุทธศาสตร์ No Child Left Behind โดยสร้างสุขภาพเพื่อให้เรียนได้ดีขึ้น8 มาตรการ มาตรการที่ 1. สร้างความเข้มแข็งหน่วยงานรัฐที่รับผิด ชอบสุขภาพโดยให้ชุมชนสนับสนุนงานสุขภาพ มาตรการที่ 2. กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 1) ให้บริการแก่เด็กทุกคนไม่ทอดทิ้งใคร 2) จัดองค์ประกอบ 3 ด้าน สุขศึกษา/บริการสุขภาพ/ จัดสิ่งแวดล้อม มาตรการที่ 3. จัดต้นแบบที่ดีของการดำเนินงาน 8 ด้าน 1) การสอนสุขศึกษา 2) ทีมงานสุขภาพของโรงเรียน 3) บริการแนะแนว ) จัดสิ่งแวดล้อมปลอดภัย 5) สร้างเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชน 6) การสอนพลศึกษา 7) การบริการสุขภาพ 8) การบริการอาหารโภชนาการ

8 รัฐไอโอวา สหรัฐใช้ยุทธศาสตร์ No Child Left Behind
มาตรการที่ 4. มีเจ้าหน้าที่ทำงานเต็มเวลา/ให้บริการเต็มที่ด้านสุขศึกษา/บริการสุขภาพ/ สุขภาพจิต/สงเคราะห์ครอบครัวยากจน มาตรการที่ 5 .กำหนดกิจกรรม - เลือกได้หลากหลายจากรูปแบบ ที่แนะนำไว้ - สร้างความตระหนักว่าความสามารถทางการเรียนกับสุขภาพ เป็นปัจจัยเกื้อกูลกัน - มีระบบฐานข้อมูล - สร้างความร่วมมือระหว่างบุคลากร สุขภาพ/การศึกษา/การบริการชุมชน มาตรการที่ 6. สร้างศักยภาพทีมงานพัฒนาสุขภาพชุมชน และโรงเรียน มาตรการที่ 7. จัดแหล่งบริการสุขภาพให้ทั่วถึง มาตรการที่ 8. วิจัยและพัฒนาการจัดการความรู้

9 ระดับของความร่วมมือ ต่ำ เครือข่าย ความร่วมมือ
(Source : Health Canada 1996 in Torjman, S. (1998). Partnerships: the good, the bad and the uncertain. Caledon Institute of Social Policy) ต่ำ เครือข่าย (Networking) แลกข้อมูลตามอัธยาศัย มีแหล่งข้อมูล ใช้เวลาและความไว้ใจกันในความร่วมมือน้อย ประสานงาน (Coordination) แลกข้อมูลจัดกิจกรรมตามเป้าหมายร่วมกัน มีกิจกรรมที่ต้องประสานตกลงกัน มีข้อจำกัดในการทำงานและบริการไม่ซ้ำซ้อน ความร่วมมือ (Cooperation) แลกข้อมูล ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ต้องใช้เวลา และมีความไว้วางใจกันมาก สูง ทำงานร่วมกัน(Collaboration) ทำทุกอย่างตามทุกข้อ แต่มีการสร้างศักยภาพผู้ทำงานสองฝ่ายเพื่อให้บรรลุป้าหมาย มีระบบบริหารที่ต้องพึ่งพากันเพื่อให้งานสำเร็จ มีการใช้ทรัพยากรและมีเงื่อนไขผูกพันเท่ากันทั้งสองฝ่าย

10 การบริหารจัดการเครือข่าย
ประเด็นที่ ๒. การบริหารจัดการเครือข่าย - รูปแบบความร่วมมือ - ลักษณะเฉพาะการทำงานเครือข่าย - กระบวนการทำงานแบบเครือข่าย

11 รูปแบบการรวมตัวของเครือข่าย
1. รวมกลุ่มสนใจ (Community of Practice) 2. รวมกลุ่มหน่วยงาน (Networked Organization) 3. รวมกลุ่มทางอินเตอร์เน็ตไม่เห็นตัวกัน (Virtual Community) What Types of Modern Networks on? The “ Community of Practice”: driven by the need of practitioners to find solutions to practical problems (knowing who knows) The “Networked organization” a cooperation between autonomous organization, by establishing semi-stable relations (using core –competencies and specific market-positions) The “Virtual Community” : wide variety of communities that make use of ICT to exchange information, build public influence, and achieve a specific result. 45

12 รูปแบบเครือข่ายตามวัตถุประสงค์
4.เครือข่ายธรรมชาติ กับ เครือข่ายจัดตั้ง 5.เครือข่ายพื้นที่ (Area Network) กับ เครือข่ายกิจกรรม (Issue Network) 6.เครือข่ายทางการ กับ เครือข่ายไม่เป็นทางการ 7.เครือข่ายภาครัฐ กับ เครือข่ายภาคเอกชน 8.เครือข่ายการเรียนรู้ 9. เครือข่ายผู้ผลิตกับลูกค้า

13 ลักษณะธรรมชาติของกระบวนการทำงานเครือข่าย
เครือข่ายไม่ได้เกิดขึ้นเอง ต้องมีผู้ทำให้เกิด เครือข่ายมีเกิดขึ้นแล้วเลิกไป เครือข่ายมีการสื่อสารสองทาง เครือข่ายทำงานไประยะหนึ่งอาจติดยึดไม่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เครือข่ายขนาดใหญ่จะทำให้ยั่งยืน ต้องมีความเป็นเจ้าของ มีข้อผูกพันและได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า What are your Characteristics of Networks : Networks come and go. Electronic means with agreed codes concerning respect. And Large networks which create a sense of belonging, cohesion and reinforcement of values. 46

14 ลักษณะธรรมชาติของกระบวนการทำงานเครือข่าย
เครือข่ายอาจเริ่มเบี่ยงเบนไม่เป็นที่สนใจ ของสมาชิก เครือข่ายอาจเริ่มก่อตั้งโดยไม่มีวิสัยทัศน์ ต้องการไม่ตรงกัน ทำให้ภารกิจไม่ชัดเจน เครือข่ายอาจยุ่งยากภายหลัง หากไม่ได้กำหนดบทบาททุกฝ่ายไว้ชัดเจน กลุ่มผู้รู้บางคนหรือบางหน่วยอาจเข้มแข็งมีอิทธิพลเหนือผู้อื่น ซึ่งอาจทำลายบรรยากาศความร่วมมือ Please note that there are Risks and pitfalls of networking 1.People in a network may get used to the norms and values it expresses, which becomes a blockage to change.2 Some participants may loosen their involvement .3 A network may be formed without a common vision or purpose, they do not correspond to participants” aspirations. 47 14

15 กระบวนการร่วมมือกันจะเป็นไปอย่างสร้างสรรค์
1.ทุกคนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น 2.ทำให้ “เห็น” ข้อมูลข่าวสาร 3.ข้อมูลข่าวสารต้องเคลื่อนย้ายได้ 4. เพลินและสนุกกับการคิดและทำร่วมกัน

16 กระบวนการร่วมมือกันจะเป็นไป อย่างสร้างสรรค์
4. มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน 5. สมาชิกเครือข่ายมีอิสระ 6. เชื่อมโยงกันตามความสมัครใจ 7. มีผู้นำหลายคน 8. มีความสัมพันธ์ติดต่อกันทุกระดับ

17 ลักษณะหน่วยงานที่มีความร่วมมือที่ดี กับหน่วยงานอื่น
แม้ว่าขนาดใหญ่แต่ก็ทำอะไรรวดเร็ว มีการพูดคุยถกแถลงที่เปิดเผย ซื่อตรงเพื่อขจัดความคิดเห็นที่ไม่เข้าท่า มีการคิดร่วมกันและยอมรับนับถือการทำดีของบุคคลแก่หน่วยงาน

18 ประเด็นที่ ๓. ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย
เท็คนิคการสร้างความร่วมมือ ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การจัดทำข้อตกลง กติกามารยาท

19 8 เท็คนิคของการจัดการสร้างความร่วมมือ
1. ทำให้รู้สึกถึงความเร่งด่วนที่จำเป็นต้องมีเครือข่าย - ประเมินสถานการณ์ด้านต่างๆที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของเครือข่ายความร่วมมือ - ชี้ให้เห็นวิกฤตและโอกาสทางเลือกของความสำเร็จ 2. ก่อรูปกลุ่มแกนนำเครือข่าย - การรวมตัวกันของคนและกลุ่มที่มีพลังพอที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือ - ทำกิจกรรมร่วมกันของแกนนำในลักษณะทีม

20 8 เท็คนิคของการสร้างความร่วมมือ
3.สร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ - เขียนเป็นข้อกำหนดไปสู่ความสำเร็จ 4. สื่อสารขยายการรับรู้และยอมรับในวิสัยทัศน์ใหม่ - ใช้ทุกช่องทางในการสื่อวิสัยทัศน์ใหม่ - ใช้กลยุทธ์กลุ่มแกนนำทำเป็นตัวอย่าง 5.ขับเคลื่อนการกระทำระหว่างหน่วยงาน - ลดอุปสรรค - เปลี่ยนระบบและโครงสร้างที่บั่นทอนการเปลี่ยนแปลง - ส่งเสริม “ความคิดใหม่ การกระทำใหม่ที่ดี” 6.ชื่นชมความสำเร็จทีละเล็กละน้อย -ชื่นชมการปรับปรุงผลงานที่เริ่มเกิดขึ้น -สรรเสริญคนที่ปรับปรุงตนเอง - สร้างกระแสเชื่อมั่นในความสำเร็จแม้เป็นเรื่องเล็ก

21 8 เท็คนิคของการสร้างความร่วมมือ
7. ผนึกกำลังผลความสำเร็จ - ก่อตัวเป็นคลื่นของการเปลี่ยนแปลง - รีบปรับระบบโครงสร้างและนโยบายให้คล้อยตาม - ตอกย้ำความเชื่อมั่นด้วยโครงการใหม่ -ใช้แกนนำใหม่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ 8. ปลูกฝังวัฒนธรรมทำงานแบบเครือข่าย - ให้ระบุ ผลงานที่ดีมาจากความร่วมมือที่ดี - มีภาวะผู้นำที่ดีและการจัดการที่ดี -ให้เห็นว่าพฤติกรรมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน นำไปสู่ความสำเร็จของวัตถุประสงค์ - ร่วมกันคิดค้นหนทางที่พัฒนาภาวะผู้นำ -สร้างผู้นำเครือข่ายความร่วมมือรุ่นใหม่

22 ยุทธศาสตร์การเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน
บริหารงานแบบทุกคนมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงาน ผู้บริหารมีหน้าที่ในการเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างวิสัยทัศน์ของกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมแข็งขันในกระบวนการทำงาน ทุกคนเป็นกำลังสำคัญของกลุ่ม ผู้ปฏิบัติงานเห็นและเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างงาน

23 การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ควรจัดทำข้อตกลงให้เป็นลายลักษณ์อักษร
การสร้างเครือข่ายการทำงานร่วมกัน ควรจัดทำข้อตกลงให้เป็นลายลักษณ์อักษร I. ข้อมูลพื้นฐาน :ใคร,ทำอะไร,ช่วงเวลาใด II. หน้าที่ของเครือข่าย III. เงิน/ทรัพยากรที่ใช้ IV. ระบบบริหารจัดการ A. การวางแผนและตัดสินใจ B. การติดต่อสื่อสาร C. การกำกับติดตาม D. การจัดทำรายงานและการจัดทำฐานข้อมูล V. งานบริหารทั่วไป The Partnership Agreement/ Contract should be signed among the partners in order to continue the ongoing project with mutual understanding.. 48

24 ๔.การประเมินความสำเร็จของเครือข่าย
อุปสรรคอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่ไหน ทำอย่างไรให้เครือข่ายยั่งยืน

25 อุปสรรคของการจัดการความร่วมมือ
1.ผู้คนรู้สึกว่าเป็นเรื่องยาก ขาดพลังพอที่จะทำให้เครือข่ายความร่วมมือเป็นไปอย่างต่อเนื่อง 2.ไม่เห็นความก้าวหน้า ไม่ได้กำหนดการทำงานและความสำเร็จทีละขั้นตอน 3.ขาดความวิริยะในการผลักดันให้มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง 4.ไม่ได้ปลูกฝัง “ความร่วมมือกัน”ให้เป็นวัฒนธรรมของหน่วยงาน 5. แย่งผลงานกัน หรือรู้สึกถูกชุบมือเปิบ

26 อุปสรรคของการจัดการความร่วมมือ
6.ผู้คนนิ่งนอนใจ เห็นว่าเครือข่ายความร่วมมือเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นเร่งด่วน 7.ขาดแรงผลักดันที่มากพอจากกลุ่มผู้บริหารระดับสูง 8. ขาดวิสัยทัศน์ที่มีพลังชี้นำการเปลี่ยนแปลง 9. ไม่สามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ให้รู้และยอมรับร่วมกันระหว่างหน่วยงาน

27 หัวใจสำคัญของความสำเร็จของเครือข่ายคือการถอดบทเรียน
๑.การสรุปบทเรียน (Lesson learned) ๒.การถอดบทเรียน (Lesson distilled) ๓.การถอดรหัสการพัฒนา (Development decoded)

28 สรุปข้อมูลที่ได้ทำงานทั้งหมดออกมา อาจสรุปเป็นเอกสาร หรือสื่ออื่นๆ
๑.การสรุปบทเรียน (Lesson learned) ที่มา:ประชาสรรค์ แสนภักดี ( สรุปข้อมูลที่ได้ทำงานทั้งหมดออกมา อาจสรุปเป็นเอกสาร หรือสื่ออื่นๆ โดยผู้ร่วมโครงการร่วมกันสรุป หัวใจสำคัญของการสรุปบทเรียนอยู่ที่ผู้เข้าร่วมการสรุปบทเรียนจะต้องตกผลึกความคิดจึงจะได้บทเรียนที่สมบูรณ์

29 ๒.การถอดบทเรียน (Lesson distilled)
เกิดขึ้นต่อจากการสรุปบทเรียน โดยดึงเอาบางสิ่งออกมาจากบทเรียน ให้ได้งานหรือความสำเร็จ (Best Practice) รวมทั้งความล้มเหลวที่เกิดขึ้น(Bad Practice) หลักในการถอดบทเรียนอยู่ที่กรอบแนวคิดที่ใช้จับประเด็น เช่น บทเรียนการบริหารการพัฒนาองค์กร จะเลือกทำ SWOT ANALYSIS หรือบทเรียนในการทำงานของทีม จะสรุปเป็นคู่มือปฏิบัติในแต่ละขั้นตอน

30 FORD BEST PRACTICE REPLICATION PROCESS (http://www.ikmagazine.com/)
1. สะสมแผนปฏิบัติที่พิสูจน์ดีแล้ว คณะทำงานเสนอแนวปฏิบัติต่อผู้ประสานงานกลาง ตัดสินใจเลือกแนว ปฏิบัติ/ เพชร จัดทำเกณฑ์คัดเลือกเสนอทุกหน่วยเกี่ยวข้อง 2. สื่อสารสิ่งที่ต้องปฏิบัติ แจ้งสิ่งที่เลือกปฏิบัติให้ทุกหน่วยโดย มีผู้ประสานและใช้อีเมล์และเว็บ คณะทำงานแต่ละจุดวิเคราะห์ สิ่งที่ต้องปฏิบัติ คณะตัดสินใจ หากตกลงจะทำเมื่อไร หากไม่เพราะเหตุใด 3. จัดการกระบวนการทำงาน JAN FEB IN RECOGNITION OF REPLICATING HIGH VALUE IDEAS TO DO 30 Days! MAR ผู้ประสานงานแจ้งกลับการดัดสินใจผ่านอีเมล์และเว็บ ตัดข้อด้อยทิ้งไป คณะทำงานสรุปข้อมูลให้คณะผู้บริหารเพื่อสรุปภาพรวมและลงมือปฏิบัติ ทุกคนยอมรับผลงาน

31 ๓.การถอดรหัสการพัฒนา (Development decoded)
คือ การเปิดกุญแจรหัสที่หากไม่ตรงก็ไม่สามารถจะเปิดได้ หลักการถอดรหัส อยู่ที่นำBest หรือ Bad Practice ที่ได้จากการถอดบทเรียนมาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาคำ(word) หรือประเด็น(issue) หลัก ที่ใช้แทนหรืออธิบายสิ่งนั้น เช่น ศ.นพ. ประเวศ วะสี ได้ถอดรหัสการพัฒนาของ ในหลวง - ความดี(Goodness) - วัฒนธรรมชุมชน(Community) และ - ความรู้(Knowledge) นำรหัสการพัฒนาไปใส่ในกระบวนการ (coding) เช่น หากจะทำโครงการ หรือการบริหารองค์กร ก็ใส่รหัส ความดี(G)ชุมชน (C ) และ ความรู้(K) เข้าไปด้วย

32 ๑.พลังความดี/นโยบาย รหัสการพัฒนาคนยุคใหม่แบบเศรษฐกิจพอพียงของในหลวง
(ที่มา : ศ.นพ.ประเวศ วะสี) ๑.พลังความดี/นโยบาย รหัสการ พัฒนาคนตาม กระแสเศรษฐกิจ พอพียง ๒.พลังความรู้ ๓.พลัง ชุมชน 54

33 ถอดรหัส7บริษัท กลุ่ม ปตท
ถอดรหัส7บริษัท กลุ่ม ปตท. The Code to Growth การถอดรหัสสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน

34 คำถามคำตอบที่ใช้ประเมินผล การทำงานของเครือข่าย
1. การร่วมมือกัน อยู่ในรูปแบบใด 2. ความร่วมมือ อยู่ในระดับใด 3.ความคิดของทั้งสองฝ่ายตรงกับสภาพและปัญหาของหน่วยงานหรือไม่ 4. การทำงานในรูปแบบความร่วมมือมีความสำคัญต่อองค์กรในระดับสูงเพียงใด 5. นอกจากร่วมมือกันแล้วทั้งสองฝ่ายยังไปทำข้อตกลงกับหน่วยอื่นๆอีกหรือไม่ 6. มีบทบาทในการตัดสินใจในกระบวนการทำงานของเครือข่ายหรือไม่

35 คำถามคำตอบที่ใช้ประเมินผล การทำงานของเครือข่าย
7. มีพันธะหรือแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันหรือไม่ 8. มีความรู้สึกเป็นเจ้าของเข้าไปแก้ไขช่วยให้ งานสำเร็จบ้างหรือไม่ 9. มีการแสดงความรับผิดชอบในการระบุและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในปัญหาสุขภาพจากหน่วยที่เกี่ยวข้องหรือไม่ 10. มีกระบวนการให้บุคคลได้รับความสนใจเข้าไปร่วมแก้ปัญหาด้วยหรือไม่ The best way to assess your Effective Partnerships Promoting Health and Education for All School - Age Children is to answer these questions. What is the Partnership's view ? Is it a high priority ใ How active the are. Any decision-makingใ Any commitment .

36 คำถามคำตอบที่ใช้ประเมินผลการทำงานของเครือข่าย
11. มีหน่วยงานอาสาสมัครเข้าไปร่วมทำงานด้วยหรือไม่ 12. จะให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้ามามีบทบาทมาก ขึ้นได้อย่างไร 13.ทำอย่างไรจะช่วยให้ทุกฝ่ายรับผิดชอบร่วมทำงานเพื่อช่วยผู้ด้อยโอกาส 14. ทำอย่างไรให้หน่วยงานในพื้นที่ได้รับอุปกรณ์การสนับสนุนให้ทำงานช่วยผู้ด้อยโอกาสได้มากขึ้น 15. ทำอย่างไรให้นักวิชาชีพ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิมีบทบาทช่วยแก้ปัญหา What about the Local Authorities ใ How particular responsibilities are identified. 27

37 คำถามคำตอบที่ใช้ประเมินผลการทำงานของเครือข่าย
16. ทำอย่างไรการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติเป็นปัญหาที่แท้จริงและได้รับการสนับสนุนแก้ไขได้จริง 17. จะร่วมมือกันจัดทำโครงการสู่การปฏิบัติจริงได้อย่างไร 18. จะช่วยแก้ไขความไม่เท่าเทียมขอเครือข่ายได้อย่างไร How to strengthen the National Health Agenda . How to improve health program. And how to act upon inequalities in health status. 29

38 ประเด็นที่ ๕. ตัวอย่างการสร้างเครือข่าย
- ตัวอย่างเครือข่ายทางแนวคิด - ตัวอย่างเครือข่ายระดับกระทรวง/กรม - ตัวอย่างหน่วยงานกับชุมชน

39 -การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างสุขภาพ
ตัวอย่างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดการศึกษากับสุขภาพ (ที่มา Jack T. Jones, WHO, Geneva) -การศึกษาเป็นรากฐานในการสร้างสุขภาพ -เด็กสุขภาพดีทำให้เรียนดี -การเข้าชั้นเรียนเป็นผลจากภาวะสุขภาพ หากป่วยทำให้ขาดเรียน ภาวะที่เกิดจากตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ถูกทำร้ายรุนแรง ถูกกระทำละเมิดทางเพศ ป่วยจากโรคติดต่อมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ สภาพการจัดการศึกษาและนโยบายของสถานศึกษามีผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของนักเรียน The most Effective Partnerships Promoting Health and Education for All School - Age Children is EDUCATION AND HEALTH collaboration. Education is a prerequisite for health. On the other hand, Healthy children learn well. Schools themselves have a powerful influence on health. 4

40 มุมมองด้านการศึกษาต่อ การสร้างเสริมสุขภาพนักเรียน
1. ครูส่วนใหญ่มีทักษะการสอน รู้วิธีสอน แต่มักสอนสุขภาพภาคทฤษฎี การเรียนการสอนทักษะชีวิตเป็นนวัตกรรมที่ดีที่สุด แต่ใช้มานานกว่า10ปีแล้ว ครูอยากได้วิธีปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนจะมีอะไรใหม่ๆอีกหรือไม่ ครูเองก็มีสุขภาพไม่ดี ควรได้รับการดูแลจากผู้บริหารด้วย Here ise my analysis on the educational view of school health promotions. School teachers know very well how to teach classroom health education, but mostly in theories. We are looking the new innovative and effective teaching and learning resources. 10

41 มุมมองด้านการศึกษาต่อ การสร้างเสริมสุขภาพนักเรียน
2.โรงเรียนต้องการการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขในการจัดกิจกรรมบริการสุขภาพ และกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อสร้างสุขนิสัย ปัญหาคือใครควรริเริ่ม ระหว่างกระทรวง ศึกษาธิการหรือกระทรวงสาธารณสุข ทำอย่างไรโครงการร่วมข้ามกระทรวงจะอยู่ยืดยั่งยืน The school need support from the Ministry of Public Health for health services such as vaccination, dental check up, etc. The only question is should MOE or MOPH initiate the activities. 11

42 มุมมองด้านการศึกษาต่อ การสร้างเสริมสุขภาพนักเรียน
3.นโยบายสุขภาพของกระทรวงศึกษาจะต้องมาจากนโยบายของรัฐมนตรีและรัฐบาล ต้องขับเคลื่อนให้เป็นวาระชาติจึงจะได้รับความสนใจและเงินอุดหนุนจากรัฐ นักการเมืองมักอยู่สั้น สนใจโครงการที่ได้รับผลเร็วดีในสายตาคนทั่วไป ทำให้งานไม่ยั่งยืน School health policies depend on the political support from the Minister Of Education in order to get financial allocation from the government. However, politician is a politician who comes and goes, and looks for a quick win and public votes so the political initiating projects is not sustainable. 12

43 มุมมองด้านการศึกษาต่อ การสร้างเสริมสุขภาพนักเรียน
4.ในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยสาธารณสุขต้องการทีมทำงานมืออาชีพ ทีมควรประกอบด้วยผู้ประสานงาน ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการโครงการ ผู้ปฏิบัติงาน และเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ต่างประเทศ จึงจะทำให้โครงการเดินหน้า ปัญหาคือจะหาทีมดีทั้งสองฝ่ายได้จากที่ไหน Another concern for building school partnership for health and education is a task force team to carry on the project. 14

44 มุมมองด้านการศึกษาต่อ การสร้างเสริมสุขภาพนักเรียน
5.การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากชุมชนขึ้นกับฝีมือของผู้บริหารสถานศึกษาและทีมงาน จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรให้ทำงานได้ ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและมีทักษะมนุษยสัมพันธ์ The final point is that the community partnership depends on the school principal leadership . The change management is needed. 15

45 การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ตัวอย่างเช่นหน่วยการศึกษา กับหน่วยงานสาธารณสุข
1. พัฒนาความร่วมมือในกลุ่มผู้กำหนดนโยบายสุขภาพกับนโยบายการศึกษา 2.กำหนดเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานประจำเพื่อติดตามการทำงานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงสาธารณสุข 3.แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงาน หรือกรรมการระดับชาติรับผิดชอบการทำงานร่วมกัน My personal recommendations came from my own experience to Strengthen the PARTNERSHIP Between HEALTH AND EDUCATION. First find the policy makers . 2.Appointing national coordinators . 3.Established a National Coordinating Committee. 21

46 การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน การศึกษากับหน่วยงานสาธารณสุข
4. กำหนดเป็นวาระแห่งชาติให้เกิดการผลักดันจาก ฝ่ายการเมืองและทีมวิชาชีพจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง 5.หากเป็นไปได้ในกฎหมายของหน่วยงานด้านสุขภาพให้กำหนดมีผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการร่วมเป็นกรรมการบริหารด้วย 6. ให้มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานและมีระบบกำกับติดตามให้ทำงาน ก้าวหน้าตามข้อตกลง 4. Setting the political agendas to get strong support of all relevant sectors. 5. If possible, appointing the executive board committee members from the MOE and MOPH representatives in the major governmental health organizations. 6. Developing shared agreements such as memoranda of understanding between the two ministries. 22

47 -ทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข -องค์กรเอกชนด้านสุขภาพ
การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยงานสาธารณสุข 7. ค้นหาและเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือ เช่น -ทุกหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข -องค์กรเอกชนด้านสุขภาพ -หน่วยงานทางการศึกษา เช่น : สมาคมผู้ปกครอง, สมาคมวิชาการ, มหาวิทยาลัย You should look for all kinds of stakeholders Partnerships in School Health Promotion such as Ministry of Public Health, Health related agencies : independent organizations, NGOs, clinics, pharmacies, community health centers, recreation and sporting groups, commercial operators (e.g. vegetable and fruit producers) health issue organizations, etc. ,and Education related agencies . 23

48 การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษากับหน่วยงานสาธารณสุข
8. ความร่วมมือกันควรให้เครดิตเป็นผลงานและมีคุณค่าต่อองค์กร เป้าหมายบรรลุได้จริง มีรูปแบบการทำงานร่วมกันเชิงทางการ มีผู้รับผิดชอบและบริหารที่เป็นมืออาชีพ To make EDUCATION AND HEALTH Partnerships Work, both parties should establish Clear, transparent and achievable goals should be established for the life of the partnership. ♦ Formal partnerships are more likely to be sustained than informal ones. ♦ Leadership of the partnership should be undertaken by someone with skills to liaise with key stakeholders . 24

49 กรณีตัวอย่างการสร้างเครือข่าย การทำงานระหว่างศธ กับสธ
กรณีตัวอย่างการสร้างเครือข่าย การทำงานระหว่างศธ กับสธ ริเริ่มโดยศธ. ศธ.ตระหนักเป็นปัญหาของกระทรวง มองหาความช่วยเหลือจากภายนอก ใช้งบทั้งหมดหรือบางส่วนจากศธ. มีหน่วยงานและผู้รับผิดชอบของศธ.ดำเนินการ เป็นผู้ยกร่างข้อบันทึก ริเริ่มโดยสธ. ตระหนักปัญหาแก้ไขได้จากคนในวิชาชีพสาธารณสุข บางครั้งเข้ามาช่วยโดยไม่ถามหรือไม่มีการร้องขอ ใช้งบของสธ.ทั้งหมดหรือบางส่วน กำหนดประเด็นให้เป็นวาระชาติเพื่อได้เงินจากรัฐ เจ้าหน้าที่สธ.เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ The most important step is setting the Networking/Partnership between MOE and MOPH. Please find your own initiative pattern On our case if it is MOE Initiatives, then MOE Realize its own critical health situation, Request for technical assistance, MOE Partial/full financial support, MOE Project director as a Leader Drafting the MOU. If it is MOPH Initiatives then MOPH Recommend health issues from medical concerns Assistance is provided without request from MOE, MOPH Budget allocation for health services, Setting health issue as national agenda, and MOPH serve as project coordinator. 37

50 ความร่วมมือระหว่าง สพฐ.กับกรมอนามัย ปี 2553
1. พัฒนาโรงเรียนผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับเพชร โดยกรมอนามัย เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ 36 แห่ง 2. สพฐ.ขยายสู่โรงเรียนในฝัน ให้ครอบคลุม 185 เขตๆ ละ 1 แห่ง เฝ้าระวังเด็กวัยเรียน ไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เพื่อลดปัญหาคลอดบุตรก่อนอายุ 20 ปี 4. ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมแปรงฟันหลังอาหาร กลางวันทุกวัน เพื่อให้นักเรียนอายุ 12 ปี มีฟันผุ ไม่เกินร้อยละ 45 50

51 ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับกรมอนามัย ปี 2553
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้เด็กอายุ 6-18 ปี มีภาวะโภชนาการดี มีส่วนสูงตามเกณฑ์ (ไม่เตี้ย) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 83 และ รูปร่างสมส่วน (ไม่อ้วนไม่ผอม) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 76 6. ส้วมได้มาตรฐาน ร้อยละ 60 51

52 ปัญหาการทำงานร่วมกันข้ามกระทรวง
1. สธ.ติดต่อโรงเรียนโดยตรงไม่ผ่านศธ ทำให้ไม่รับรู้และไม่ได้รับการสนับสนุนจากต้นสังกัด 2. หลายหน่วยงานสั่งตรงไปที่สถานศึกษาทำให้สถานศึกษาต้องทำงานหนัก บางครั้งซ้ำซ้อน 3. งานบางโครงการขึ้นกับความสนใจของหน่วยงานผู้สนับสนุน เมื่อหมดเงินจบโครงการ โดยไม่ตรงความต้องการของสถานศึกษา 4. หน่วยงานใช้เป็นผลงานของตนโดยไม่คำนึงว่าเป็นผลงานร่วมกัน

53 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ ระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
1.ค้นหาความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในพื้นที่ในชุมชน : ผู้มีอิทธิพลทางความคิด/นักการเมืองท้องถิ่น/ ผู้นำศาสนา/ภูมิปัญญาชาวบ้านผู้นำชนกลุ่มน้อย/ผู้นำเชิงวัฒนธรรม ฯลฯ 2. หาความร่วมมือจากหน่วยเชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องเช่นอาสาสมัคร หน่วยเอกชน มูลนิธิจัดกิจกรรมร่วมกันเช่น - โรงเรียนจัดหลักสูตรพิเศษให้บริการบุคคลภายนอกเข้ามาเรียนรู้เรื่องสุขภาพ - สำรวจความต้องการของนักเรียนและบุคลากร - ฝึกอบรมพัฒนาบุคลากร - ทำงานร่วมกับผู้ปกครอง - ร่วมกันดูแลสภาพแวดล้อมรอบโรงเรียน      Another kind of partnership is the Family, School, and Community Partnership promotes which should be Whole School Approach to Health Promotion. Parents who work in partnership with schools can make a vital contribution to the well-being and achievement of their children and to the effectiveness of the school as a whole, thereby helping development in the wider community. 25

54 ข้อเสนอการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับชุมชน
3. สำรวจประเด็นเนื้องานที่เป็นที่สนใจของหน่วยงานและชุมชน 4. จัดกิจกรรมที่เน้นการร่วมมือกันทั้งหน่วยงาน 5. พัฒนาให้ทีมและบุคลากรมีความรู้ทักษะใหม่ๆ 6. หน่วยงานสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนและเป็นที่ยอมรับของชุมชน 7. มีการทำงานที่เป็นระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับกลุ่มชุมชน 8.มีทิศทางและเป้าหมายการทำงานร่วมกันที่ชัดเจนและให้รายงานความก้าวหน้าเพื่อให้มีการสนับสนุนจากฝ่ายบริหาร The next guidelines are Exploring meaningful health issues ,using a whole school approach and Providing on going capacity building opportunities for teachers and associated staff 28

55 9.ค้นหาแหล่งสนับสนุนทรัพยากรให้ได้มาเพื่อการทำงานให้เกิดผล
ข้อเสนอการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกับชุมชน 9.ค้นหาแหล่งสนับสนุนทรัพยากรให้ได้มาเพื่อการทำงานให้เกิดผล 10.สร้างการทำงานแบบมีส่วนร่วมในแบบประชาธิปไตยระหว่างหน่วยงานกับชุมชน The final Guideline is : A democratic and participatory school community 30

56 การออกกำลังกายที่มีอยู่จริง
ประเด็นที่ ๖. กรณีศึกษาเครือข่าย การออกกำลังกายที่มีอยู่จริง สสส. แม่ข่ายผู้อุดหนุนทางการเงินผ่านโครงการกับภาคีเครือข่าย สปสช. แม่ข่ายกับภาคีผู้ให้บริการ(Service Providers) สช. แม่ข่ายทางนโยบาย กับภาคีการเรียนรู้, ภาคีข้อมูล กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข

57 สำนักงานกองทุนสนับสนุนและ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ตัวอย่างการใช้ยุทธศาสตร์การทำงานขององค์กร ที่ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนและ สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - ยุทธศาสตร์สร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมจากทุกภาค - ไม่ทำเอง ให้เงินคนอื่นมาช่วยทำ - กำหนดประเด็นงานสุขภาพชัดเจน เพื่อให้มาทำตรงความต้องการ - ใช้กฎหมายมี พ.ร.บ.ทำให้ได้เงิน 2% จากภาษีการจำหน่ายสุรา - มีระบบคณะกรรมการ 2 ชุด ถ่วงดุลกันคือ คณะกรรมการบริหาร + คณะประเมิน และมีการประเมินโครงการที่อุดหนุนไป

58 สสส.กับภาคีเครือข่ายสุขภาพ

59 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ http://www.nationalhealth.or.th
๑) สมัชชาสุขภาพเฉพาะพื้นที่: ใช้อาณาบริเวณที่แสดงขอบเขตเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ ๒) สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น : ใช้ประเด็นเป็นตัวตั้งในการดำเนินการ ๓) สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : เป็นกระบวนการในระดับชาติ (ต้องจัดอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง)

60 สมัชชาสุขภาพ

61 เครือข่ายการออกกำลังกายที่มีอยู่จริงในประเทศไทย
1. เครือข่ายการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพจังหวัดนครสวรรค์ 2. เครือข่ายชมรมจักรยานเชียงใหม่ 3. เครือข่ายชมรมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ๒๕๓ ชมรม กรมพลศึกษา

62 โครงการนำกีฬาไทเก็กสร้างเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน http://www
โครงการนำกีฬาไทเก็กสร้างเครือข่ายในกลุ่มเยาวชน กลุ่มเกิดแนวคิดในการช่วยดูแลและสร้างเสริมสุขภาพใกล้บ้าน  ซึ่งกันและกัน  จากชมรมสู่ชมรม   สู่ชุมชน   สู่ตำบล   และสู่อำเภอ   จึงเกิด โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายแบบไทเก็ก  ชมรมกีฬาออกกำลังกายเพื่อสุขภาพไทเก็กจังหวัดสตูล ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของเทศบาล และจังหวัด ตลอดจนองค์กรเอกชนอื่นๆ  อย่างสม่ำเสมอ  ได้รับรางวัลชมรมออกกำลังกายดีเด่น  ระดับเขต ผู้รับผิดชอบโครงการ : นางช่อมาลี นาตบรรพต ชุมชน : 150/1 ถ.สถิตยุติธรรม อ.เมือง จ.สตูล

63 โครงการที่ดำเนินงานปีงบประมาณ 2553 ชื่อหน่วยงาน: กองออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายออกกำลังกายเพื่อสุขภาพให้กับจนท.ศูนย์อนามัยที่ 1-12 และสำนักงานสาธารณสุข 75 จังหวัด ที่รับผิดชอบงานออกกำลังกาย

64 1.แม่ข่ายบูรณาการ CONCEPTS สุขภาพ+ กีฬา +นันทนาการ
บทส่งท้าย :ข้อเสนอสมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย สวมบทบาทแม่ข่าย 1.แม่ข่ายบูรณาการ CONCEPTS สุขภาพ+ กีฬา +นันทนาการ สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงานทุกระดับ ตั้งแต่ระดับโลก,ทวีป,ประเทศ ในการบูรณาการ สุขภาพ+ กีฬา +นันทนาการ แม่ข่ายจัดการองค์ความรู้เรื่องที่ได้บูรณาการสุขภาพ+ กีฬา +นันทนาการ สร้างเครือข่ายผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำงานได้เร็ว ประหยัด ทันสมัย ทั่วถึง ถอดบทเรียนจากการเรียนรู้จากภาคีเครือข่าย

65 ๒.เป็นผู้เสนอแนะให้บรรจุเรื่องการออกกำลังกายให้อยู่ในใส่ไว้ในแผนอื่นๆ
บทส่งท้าย :ข้อเสนอสมาคมสุขศึกษา พลศึกษาและนันทนาการแห่งประเทศไทย สวมบทบาทแม่ข่าย ๒.เป็นผู้เสนอแนะให้บรรจุเรื่องการออกกำลังกายให้อยู่ในใส่ไว้ในแผนอื่นๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, แผนสุขภาพแห่งชาติ, แผนปฎิรูปการศึกษา, แผนท่องเที่ยวแห่งชาติ, แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด,เทศบาล,อบจ,อบต.

66 บทส่งท้าย : ข้อเสนอการสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล
บทส่งท้าย : ข้อเสนอการสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล เข้าไปสมัครเป็นสมาชิกของสมาคมทางวิชาชีพเพื่อได้รับข่าวสารทางอีเมลฟรี Vic health The Western Australian Health Promotion Foundation Department of Sport and Recreation , Australia American Alliance for Health, Physical education, Recreation International Council for Health, Physical education, Recreation, Sport and Dance

67 การสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล
World Leisure Organization World Health Origination The International Olympic Committee (IOC) Intergovernmental Committee for Physical Education and Sport (CIGEPS) HIVAIDS Clearinghouse

68 บทส่งท้าย : ข้อเสนอการสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล
บทส่งท้าย : ข้อเสนอการสร้างเครือข่าย สายสัมพันธ์ส่วนบุคคล เข้าร่วมกิจกรรมชมรม สมาคมสายวิชาชีพ เข้าร่วมเป็นกรรมการ คณะทำงาน รักษากิจกรรมกับกลุ่มเพื่อนอย่างน้อยปีละครั้ง เมื่อเปลี่ยนงานหรือที่อยู่ควรบอกกล่าวไปให้ทั่ว สะสมนามบัตร, บันทึกข้อมูลหลังนามบัตรทุกใบ และแจกนามบัตรของเรา ฝึกใช้ Internet, Twitter, Face Book เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ทักษะมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้รับและผู้ให้

69 ตัวอย่างฝึกบูรณาการแนวคิด(Concepts)
ปรัชญาด้านกีฬาของข้าพเจ้าคือ________________ ปรัชญาด้านสุขภาพของข้าพเจ้าคือ________________ ปรัชญาด้านนันทนาการของข้าพเจ้าคือ________________ ปรัชญาด้านการท่องเที่ยวของข้าพเจ้าคือ________________ ปรัชญาด้านกีฬา สุขภาพ นันทนาการและการท่องเที่ยวของข้าพเจ้าคือ______________

70 สมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการแห่งประเทศไทย


ดาวน์โหลด ppt ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่าย การออกกำลังกายสุขภาพ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google