งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 6 ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 6 ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 บทที่ 6 ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)
แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ต้นทุนการผลิตกับระยะเวลาในการผลิต ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น ต้นทุนการผลิตในระยะยาว

2 6.1 แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต
6.1 แนวความคิดเกี่ยวกับต้นทุนการผลิต ต้นทุน หมายถึง มูลค่าของปัจจัยการผลิตที่นำมาผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ รวมทั้งต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่เกี่ยวกับการผลิตสินค้าหรือบริการโดยตรง แต่ช่วยให้การจัดจำหน่ายสินค้าหรือบริการเป็นไปได้อย่างราบรื่น เช่น ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านการบริหาร ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายด้านการขาย ต้นทุนที่กล่าวถึงนี้เป็นค่าใช้จ่ายของหน่วยผลิต ต้นทุนแบ่งตามลักษณะการใช้จ่าย ต้นทุนจ่ายจริง (Explicit Cost) เป็นค่าใช้จ่ายเป็นตัวเงิน ที่จ่ายให้กับเจ้าของปัจจัยการผลิต เช่น ค่าแรงงาน ค่าเช่าอาคาร ต้นทุนเหล่านี้สามารถบันทึกบัญชีได้ ถือเป็นต้นทุนทางบัญชี ต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายจริง (Implicit Cost) เป็นต้นทุนที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตของผู้ผลิตเอง โดยไม่มีการจ่ายค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน หรือจ่ายต่ำกว่าราคาตลาด ซึ่งส่วนที่ไม่จ่ายหรือจ่ายต่ำกว่านี้สามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงินได้ โดยใช้หลักของ “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” (Opportunity Cost) เพื่อหาค่าตอบแทนที่จะประเมินให้กับปัจจัยการผลิตที่เป็นของผู้ผลิตเอง เช่น ค่าเช่าที่ดินของตนเอง ค่าแรงตนเอง ต้นทุนนี้มักไม่ถูกนำมาคิดทางบัญชี แต่ถือเป็นต้นทุนส่วนหนึ่งทางเศรษฐศาสตร์ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ = Explicit Cost + Implicit Cost จึงมากกว่าต้นทุนทางบัญชี

3 ต้นทุนแบ่งตามลักษณะการผลิต
ต้นทุนคงที่ (fixed cost) เป็นผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ปัจจัยคงที่ จึงไม่แปรผันไปตามปริมาณของผลผลิต ไม่ว่าจะผลิตสินค้าจำนวนมากหรือน้อย หรือไม่ผลิต ก็ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายประเภทนี้คงเดิมเสมอ เช่น ค่าเครื่องจักร ค่าประกันภัย ค่าก่อสร้างโรงงาน ต้นทุนแปรผัน (variable cost) เป็นผลตอบแทนที่จ่ายให้แก่ปัจจัยแปรผัน เช่น ค่าแรงงาน จึงแปรผันตามปริมาณผลผลิต หากผลิตจำนวนมากต้องจ่ายมาก หากผลิตจำนวนน้อยต้องจ่ายน้อย และไม่ต้องจ่ายเลยหากไม่ผลิต ต้นทุนเมื่อนำสังคมมาเกี่ยวข้อง ต้นทุนเอกชน (Private Cost) หรือต้นทุนภายใน (Internal Cost) หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้า ประกอบด้วย ต้นทุนที่ชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้ง ต้นทุนสังคม (Social Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ประกอบด้วยต้นทุนเอกชนและนำเอาผลกระทบภายนอก (Externalities) ที่เกิดจากการผลิตสินค้าและบริการ ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียมาพิจารณาด้วย ต้นทุนทางสังคมมักมีค่ามากกว่าต้นทุนเอกชน เพราะมีผลกระทบภายนอกที่เป็นผลเสียเกิดกับสังคม แต่หากมีผลกระทบภายนอกที่เป็นผลดีกับสังคม ต้นทุนทางสังคมจะมีค่าน้อยกว่าต้นทุนเอกชน

4 6.2 ต้นทุนการผลิตกับระยะเวลาในการผลิต
6.2 ต้นทุนการผลิตกับระยะเวลาในการผลิต ระยะเวลาในการผลิตทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น ระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งพิจารณาจากความสามารถในการเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิต ต้นทุนการผลิตจึงแบ่งเป็นต้นทุนการผลิตในระยะสั้น และต้นทุนการผลิตในระยะยาว ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ต้นทุนแปรผัน (Variable Cost) ต้นทุนการผลิตในระยะยาว มีเฉพาะต้นทุนแปรผันประเภทเดียว

5 6.3 ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น
6.3 ต้นทุนการผลิตในระยะสั้น ต้นทุนรวม (Total Cost: TC) เป็นต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าทั้งหมด ประกอบด้วยต้นทุนคงที่รวม (Total Fixed Cost: TFC) และต้นทุนแปรผันรวม (Total Variable Cost: TVC) TC = TFC + TVC ต้นทุนคงที่รวม (TFC) เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของผลผลิต ไม่ว่าผลิตมากหรือน้อยหรือไม่ผลิตเลย TFC จะคงเดิมเสมอ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ค่าเครื่องจักร ค่าก่อสร้างโรงงาน ต้นทุนแปรผันรวม (TVC) เป็นต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไปตามปริมาณของผลผลิต ผลิตมากเสียมาก ผลิตน้อยเสียน้อย และหากไม่ผลิตก็ไม่เสียเลย เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ

6 ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย (Average Total Cost: ATC หรือ Average Cost: AC) เป็นต้นทุนรวมทั้งหมดหารด้วยปริมาณผลผลิต AC บอกว่าผลผลิตแต่ละหน่วยมีต้นทุนเท่าใด ATC = TC Q ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (AFC) เป็นต้นทุนคงที่ทั้งหมดเฉลี่ยต่อผลผลิต 1 หน่วย AFC = TFC Q AFC จะมีค่าลดลงเรื่อย ๆ เมื่อปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้เพราะ TFC มีค่าคงที่ ดังนั้นเมื่อปริมาณผลผลิต จึงทำให้ AFC ต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC) เป็นต้นทุนแปรผันทั้งหมดเฉลี่ยต่อผลผลิต 1 หน่วย AVC = TVC Q

7 3. ต้นทุนหน่วยท้ายสุด (Marginal Cost: MC)
MC = TC = TCn – TCn-1 Q ต้นทุนหน่วยท้ายสุด บอกให้รู้ว่า ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นเท่าใด เนื่องจาก TC ประกอบด้วย TFC+TVC แต่ TFC คงที่ การเปลี่ยนแปลงของ TC จึงเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของ TVC เท่านั้น MC = TVC = TVCn – TVCn-1 Q

8 AVC ต่ำสุด เมื่อ AVC=MC
ตารางต้นทุนระยะสั้น Q TC TFC TVC AC AFC AVC MC 100 - 1 110 10 2 116 16 58 50 8 6 3 121 21 40.3 33.3 7 5 4 126 26 31.5 25 6.5 130 30 20 136 36 22.7 16.7 145 45 20.7 14.3 6.4 9 156 56 19.5 12.5 11 172 72 19.1 11.1 190 90 19 18 AVC ต่ำสุด เมื่อ AVC=MC

9 ลักษณะของเส้นต้นทุนระยะสั้น
1. เส้นต้นทุนรวมระยะสั้น (Short-Run Total Cost) คือ TC, TFC และ TVC cost TC TVC TFC Q TFC เป็นเส้นตรงขนานกับแกนนอน TVC ในระยะแรกเป็นเส้นที่เว้าออกจากแกนนอนและช่วงหลังเว้าเข้าหาแกนนอน ลักษณะของเส้นเป็นไปตามกฎของการผลิตในระยะสั้น TC อยู่ห่างจาก TVC ในทางแนวดิ่งเท่ากับ TFC

10 การหาเส้น AFC จากเส้น TFC
2. เส้นต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้น (Short-Run Average Cost) คือ AFC, AVC และ ATC (AC) Cost การหาเส้น AFC จากเส้น TFC A B C TFC AFC = TFC Q Q Q1 Q2 Q3 C TFC/Q1 TFC/Q2 TFC/Q3 AFC Q Q1 Q2 Q3 เส้น AFC เป็นเส้นโค้งที่เรียกว่า Rectangular Hyperbolar AFC ไม่ตัดแกนทั้ง 2 ข้าง AFC มี slope ที่มีเครื่องหมายเป็นลบ พื้นที่  ใต้เส้น AFC ณ ปริมาณผลผลิตใดๆ จะมีค่าเท่ากันตลอด และเท่ากับ TFC

11 การหาเส้น AVC จากเส้น TVC
Q Cost เส้น AVC เป็นเส้นโค้งที่มีลักษณะคล้ายตัวยู หน่วยแรกๆ ของการผลิต AVC จะ  จนมาถึงระดับผลผลิตหนึ่ง ค่า AVC จะ  AVC หาได้จาก slope ของเส้นที่ลากจากจุดกำเนิดมายัง TVC ทุกๆ ระดับของ Q Q ตั้งแต่จำนวนหน่วยที่ OOQ2 AVC กำลัง  จากจุด B เป็นต้นไป slope ของเส้นที่ลากจากจุดกำเนิดไปยัง TVC มีค่า  นั่นคือ AVC ที่จุด B ซึ่งเป็นจุดที่ AVC ต่ำสุด TVC C A B Q Q1 Q2 Q3 Cost AVC Q Q1 Q2 Q3

12 การหาเส้น ATC (AC) จากเส้น TC
ATC = TC Q Cost TC เส้น AC เป็นเส้นโค้งลักษณะเดียวกับเส้น AVC คือเป็นรูปตัวยู การขยายการผลิตในระยะแรก AFC และ AVC จึงทำให้ AC ด้วย จุดต่ำสุดของ AC อยู่ที่ Q ที่มากกว่า Q ของจุดต่ำสุด AVC เพราะเมื่อ AVC ถึงจุดต่ำสุดแล้ว AFC ยังคง AVC ที่ ยัง < AFC ที่ จึงทำให้ AC ยัง  ต่อ เมื่อขยายการผลิตออกไปอีก AVC ที่  > AFC ที่  ทำให้ AC  AC คือ slope ของเส้นที่ลากจากจุดกำเนิดไปยัง TC ทุกๆ ระดับของ Q ที่จุด B เป็นปริมาณ Q ที่ AC ต่ำสุด หลังจากจุด B ไป slope ของเส้นที่ลากจากจุดกำเนิดไปยัง TC จะมีค่า  นั่นคือ AC จะ  C A B Q Q1 Q2 Q3 Cost AC Q Q1 Q2 Q3

13 3. เส้นต้นทุนหน่วยท้ายสุด : MC
การหาเส้น MC จากเส้น TC หรือเส้น TVC MC = TC = TVC = TCn–TCn-1 Q Q Cost TC MC คือ ค่าความชันของเส้น TC หรือเส้น TVC (TC=TFC+TVC) เมื่อ TFC คงที่ MC จึงมาจากการเปลี่ยนแปลงของ TVC เท่านั้น ในช่วงแรก MC มีค่าลดลง และจะมีค่าต่ำสุด ณ จุดเปลี่ยนโค้งของเส้น TC และเส้น TVC หลังจากนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้น MC จะมีค่าเท่ากับ AC และ AVC ณ จุดที่ AC และ AVC มีค่าต่ำสุด TVC Q Q1 Cost Q2 Q3 Q4 MC AC AVC Q Q1 Q2 Q3 Q4

14 ความสัมพันธ์ของเส้น AC, AVC และ MC
Cost MC ความสัมพันธ์ของ MC และ AVC เมื่อ MC < AVC => AVC  โดย MC อยู่ต่ำกว่า AVC 2) เมื่อ MC > AVC => AVC  โดย MC อยู่เหนือ AVC 3) MC = AVC ที่จุดต่ำสุดของ AVC AC AVC AFC Q ความสัมพันธ์ของ MC และ AC MC < AC => AC  โดย MC อยู่ต่ำกว่า AC MC > AC => AC  โดย MC อยู่เหนือ AC MC = AC ณ จุดต่ำสุดของ AC จุดต่ำสุดของ AC อยู่ในปริมาณผลผลิตที่มากกว่าจุดต่ำสุดของ AVC

15 6.4 ต้นทุนการผลิตในระยะยาว (Long - Run Cost)
ในระยะยาว ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยทุกอย่างให้เหมาะสมกับจำนวนผลผลิตที่เพิ่มขึ้นได้ ในระยะยาวจุงมีแต่ปัจจัยแปรผัน เส้นต้นทุนรวมระยะยาว (Long - Run Total Cost: LTC) การหาจำนวนการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมในการผลิตสินค้าจำนวนต่างๆ ในระยะยาว วิเคราะห์โดยใช้เส้นต้นทุนเท่ากันและเส้นผลผลิตเท่ากัน เมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตไปในระดับต่างๆ จะได้เส้น Expansion Path แต่ละจุดดุลยภาพ เช่น E1 E2 E3 สามารถคำนวณหาต้นทุนรวมของการผลิต ณ Q ต่าง ๆ จึงนำไปสร้างเส้น LTC ได้ K Expansion Path E3 E2 E1 Q=6 Q=4 Q=2 L C=60 C=80 C=90

16 Cost LTC 90 C 80 B A 60 Q 2 4 6 LTC มีลักษณะโค้งแบบ Cubic Curve เพราะระยะแรก LTC เพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าการเพิ่มขึ้นของ Q จึงมี slope ลดลงเรื่อยๆ เมื่อเพิ่ม Q ไปถึงระดับหนึ่ง อัตราการเพิ่มขึ้นของ LTC จะเท่ากับอัตราการเพิ่มขึ้นของ Q ซึ่งเป็นระยะของผลได้คงที่ (ตามทฤษฎีการผลิตระยะยาว) หลังจากนั้น เมื่อผ่าน inflection point ของ LTC การที่ผู้ผลิตเพิ่ม Q อีก อัตราการเพิ่มขึ้นของ LTC จะมากกว่า Q ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นระยะผลได้เพิ่มขึ้นน้อยกว่าปัจจัยที่เพิ่มขึ้น slope ของ LTC ก็จะเพิ่มสูงขึ้น

17 เส้นต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาว (Long - Run Average Cost: LTC)
SAC2 SAC1 SAC3 LAC F1 F2 F3 E1 E3 E2 E Optimum scale of plant Q1 Q2 Q3 Q4 Q การหาเส้น LAC ทำโดยนำโรงงานขนาดต่างๆ ในระยะสั้น เพื่อการผลิตระดับต่างๆ มาเรียงลำดับ แล้วเลือกขนาดที่เหมาะสมที่สุด (เสียต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด) สำหรับการผลิตระดับนั้น ก็จะเป็นขนาดของโรงงานที่เหมาะสมในระยะยาว สมมติมีโรงงาน 3 ขนาด สำหรับระยะสั้นแต่ละระยะ ที่มี SAC1 SAC2 และ SAC3 ในระยะยาว ผู้ผลิตสามารถเลือกขนาดโรงงานได้ตาม Q ที่จะผลิต เช่น ถ้าผลิต OQ1หน่วย โรงงานที่เหมาะสมคือโรงงานที่มี SAC1 เสียต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด E1Q ถ้าผลิต OQ2 หน่วย จะใช้โรงงานขนาดที่มี SAC2 เสียต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุด E2Q2 ซึ่งดีกว่าใช้โรงงานที่มีต้นทุน SAC1 เพราะต้นทุนเฉลี่ยสูงกว่า (F2Q) เส้น LAC หาจากเส้นที่ลากสัมผัส SAC ทั้งหลาย (หากมีขนาดโรงงานมากมาย) ซึ่งแสดงต้นทุนต่ำสุดที่เป็นไปได้ในการผลิตสินค้าและบริการในแต่ละ Q

18 ในระยะยาวขนาดของโรงงานที่เหมาะสมที่สุด (ซึ่งเสียต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานขนาดต่างๆ) อยู่ที่จุดต่ำสุดของ LAC เรียกว่า Optimum Scale of Plant ผลผลิตเป็น Optimum Output คือ OQ3 หน่วย ที่จุดนี้ SAC = LAC ณ จุดต่ำสุดของทั้ง SAC และ LAC ในระยะยาว ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องผลิตโดยใช้โรงงานที่เป็น Optimum Scale of Plant เสมอไป ยกเว้นในตลาดผลผลิตที่แข่งขันสมบูรณ์เท่านั้น เส้น LAC เป็นเส้นโค้งรูปตัวยู คือ ช่วงแรกที่ขยายการผลิต LAC จะลดลงจนถึงจุดต่ำสุดของ LAC เพราะเกิดการประหยัดต่อขนาดการผลิต (economies of scale) หากขยายการผลิตออกไปอีก LAC จะเพิ่มขึ้น เพราะเกิดการไม่ประหยัดต่อขนาดการผลิต (diseconomies of scale) สาเหตุของการประหยัดต่อขนาดในช่วงแรก เกิดจาก เกิดการประหยัดด้านแรงงาน คือ เมื่อมีการผลิตมากขึ้นจะมีการแบ่งงานกันทำ และเกิดความชำนาญเฉพาะทาง ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นในอัตราเพิ่ม เกิดความประหยัดด้านเทคนิค คือ เมื่อขยายขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ผลิตสามารถใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนเฉลี่ยจึงลดลง แต่เมื่อขยายขนาดการผลิตจนถึงระดับหนึ่ง ประสิทธิภาพการผลิตจะลดลง ต้นทุนเฉลี่ยจึงสูงขึ้น สาเหตุมาจากการไม่ประหยัดในดานต่างๆ เช่น เมื่อขนาดโรงงานใหญ่ขึ้นมาก ประสิทธิภาพของผู้บริหารในการควบคุมดูแลลดลง

19 cost Q 3. เส้นต้นทุนหน่วยท้ายสุดระยะยาว (Long-Run Marginal Cost: LMC)
เป็นเส้นแสดงต้นทุนรวมระยะยาวที่เปลี่ยนแปลงไป เมื่อผลผลิตเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย LMC = LTC = ความชันของเส้น LTC Q cost LMC LAC Q เส้น LMC มีลักษณะโค้งรูปตัวยู คล้ายเส้น SMC คือ LMC มีค่าลดลงจนถึงจุดเปลี่ยนโค้งของเส้น LTC แล้ว LMC จะเริ่มมีค่าเพิ่มมากขึ้น โดย LMC จะตัดจุดต่ำสุดของ LAC

20 ณ ปริมาณ Q แต่ละระดับในระยะยาว เมื่อได้ขนาดโรงงานที่เหมาะสมกับปริมาณผลผลิตแล้ว เส้น SMC ต้องเท่ากับ LMC ณ ระดับ Q นั้น ณ Q ดังกล่าว SAC = LAC ตรงจุดต่ำสุดของ LAC จะได้ SAC = LAC = LMC = SMC cost SMC1 LAC LMC SMC2 A SAC1 SAC2 E Q Q 1 Q2

21 6.4.2 ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นต้นทุนระยะยาว
ความสัมพันธ์ระหว่างเส้นต้นทุนระยะยาว Cost LTC ความสัมพันธ์ของ LTC LAC และ LMC คล้ายกับ ความสัมพันธ์ของ SMC และ SAC ในระยะสั้น Inflection point B LMC < LAC  LAC  และ LMC อยู่ต่ำกว่า LAC LMC > LAC  LAC  และ LMC อยู่สูงกว่า LAC LMC = LAC ณ จุดต่ำสุดของ LAC Q Q1 Q2 Cost LMC LAC Q Q1 Q2

22 6.4.3 ความสัมพันธ์ของเส้นต้นทุนระยะยาวกับเส้นต้นทุนระยะสั้น
ความสัมพันธ์ของเส้นต้นทุนระยะยาวกับเส้นต้นทุนระยะสั้น ต้นทุน STC3 จุดใดๆ ที่เส้น STC สัมผัสกับ LTC จะมีค่า SAC=LAC และมีความชันเท่ากันด้วย โดย SMC=LMC ที่ปริมาณการผลิตเดียวกันนั้น ที่การผลิต OQ2 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดของ LAC จะมีค่า SAC2 = LAC = SMC2 = LMC ณ ระดับการผลิต OQ1 จะมีค่า SAC1 = LAC > SMC1 = LMC ณ ระดับการผลิต OQ3 จะมีค่า SAC3 = LAC < SMC3 = LMC STC2 STC1 LTC Q Q1 Q3 Q4 ต้นทุน LMC SMC3 SMC1 SMC2 LAC SAC1 SAC2 SAC3 Q Q1 Q2 Q3


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 6 ต้นทุนการผลิต (Cost of Production)

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google