งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์
เครื่องเขย่าถุงเลือด อุดม สุวรรณา

2 ชื่อนวัตกรรม เครื่องเขย่าถุงเลือด
ชื่อนวัตกรรม เครื่องเขย่าถุงเลือด ชื่อผู้ประดิษฐ์ นายอุดม สุวรรณา งานการพยาบาลวิสัญญีวิทยา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ประดิษฐ์สำเร็จใช้งาน 5 ตุลาคม 2549 ระยะเวลาการใช้งาน 5 ตุลาคม 2549 ถึงปัจจุบันใช้กับผู้ป่วยเฉลี่ย 30รายต่อเดือน สถานที่ดำเนินการ หน่วยการพยาบาลวิสัญญีผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือด งานการพยาบาลวิสัญญีวิทยา ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

3 หลักการและเหตุผล การผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ( Open heart surgery ) มีการเก็บเลือดผู้ป่วยไว้ก่อนผ่าตัด( acute hemodilution ) และนำกลับมาให้หลังผ่าตัดเสร็จ เพื่อลดการใช้เลือดและส่วนประกอบของเลือด จำเป็นต้องใช้บุคลากร 1 คน มาเขย่าถุงเลือดขณะเก็บเลือดเพื่อให้เลือดผสมกับยากันการแข็งตัวของเลือดได้ดี จากข้อมูลดังกล่าว ส่งผลให้เกิดปัญหาดังนี้ 1. เสียเวลาบุคลากรในการทำงานดูแลผู้ป่วยด้านอื่น 1 คน 2. การเขย่าเลือดไม่สม่ำเสมอบางครั้งทำให้เกิดก้อนเลือด ( clot blood ) 3. วิสัญญีแพทย์และพยาบาลทำงานไม่สะดวกเนื่องจากสายยางที่ต่อจากถุงเลือดเข้าผู้ป่วยมีความยาวจำกัดจึง จำเป็นที่ผู้เขย่าเลือดต้องทำงานใกล้กับผู้ป่วย ส่งผลให้กีดขวางการทำงานของบุคลากรท่านอื่น

4 หลักการและเหตุผล(ต่อ)
ผู้ประดิษฐ์จึงได้คิดค้นวิธีประดิษฐ์เครื่องเขย่าถุงเลือด โดยนำหลักการทำงานของ มอเตอร์ปัดน้ำฝนมาประยุกต์ประกอบกับข้อเหวี่ยง มีการทำงานจากการกระดกของข้อเหวี่ยง แล้วประกอบกล่องสี่เหลี่ยมบรรจุ ส่วนประกอบทั้งหมดไว้ภายใน ทำสวิทซ์เปิด – ปิดไว้ภายนอก ต่อสายไฟ ออกมาเป็นปลั๊กไฟภายนอก เมื่อต้องการใช้งานให้เสียบปลั๊กไฟแล้วกดสวิทซ์ เปิด เครื่องจะทำงานโดยการกระดกขึ้นลงของข้อเหวี่ยงอย่างสม่ำเสมอ

5 ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนุชนารถ บุญจึงมงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิงนุชนารถ บุญจึงมงคล คุณบงกช ธิติบดินทร์

6 รูปภาพการเขย่าเลือดก่อนทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

7 วัตถุประสงค์ 1. ประดิษฐ์เครื่องเข่าเลือดใช้งานได้ดี ใช้ง่าย สะดวก ราคาถูก 2. ลดการทำงานของบุคลากร 3.ไม่พบปัญหาการเกิดก้อนเลือด 4. บุคลากรมีความพึงพอใจ 5.การทำงานของวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว

8 อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบ 1.มอเตอร์ปัดน้ำฝนรถยนต์
2.ตลับลูกปืนทำเป็นข้อเหวี่ยง 3.สวิทซ์ 4.สายไฟ + ปลั๊กไฟ 5.แผ่นไม้ขนาด 6 * 8 นิ้ว จำนวน 5 แผ่น 6.แกนเหล็ก 7.แผ่นไม้ขนาด 5.5 * 7.5 นิ้ว จำนวน 1 แผ่น

9 วิธีทำ ร่างรูปแบบการทำงานของเครื่องเขย่าเลือด
นำรูปแบบที่ได้ไปปรึกษาช่างอีเลคโทรนิคส์ ต่อเชื่อมโครงร่าง ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าชุดกัน ประกอบกล่องสี่เหลี่ยม นำอุปกรณ์ที่ประกอบเป็นชุดวางภายในกล่องสี่เหลียม นำแผ่นไม้ เจาะรูตรงกลางด้านยาวใส่แกนเหล็กทำเป็นคานวางบนแผ่นไม้ ต่อสายไฟและปลั๊กไฟ

10 วิธีการใช้งาน 1.เสียบปลั๊กไฟ
2.กดสวิทซ์เครื่องจะทำงานโดยข้อเหวี่ยงขยับขึ้นลง ทำให้ไปชนกับคานไม้ ทำให้ คานไม้กระดกขึ้นลงอย่างสม่ำเสมอ 3.นำถุงเลือดที่ต่อจากผู้ป่วยไปวางไว้ตรงแผ่นไม้ที่ทำเป็นคาน ก็จะทำให้ถุงเลือดถูกเขย่าตลอดเวลา

11 ผลที่ได้รับ 1.ลดการทำงานของบุคลากร
2.การทำงานของวิสัญญีแพทย์ และพยาบาลเป็นไปด้วยความสะดวก 3.ได้เครื่องเข่าถุงเลือดที่มีประสิทธิภาพสามารถเก็บเลือดของผู้ป่วยไว้ใช้หลังผ่าตัด โดยไม่พบการเกิดก้อนเลือดที่แข็งตัว และไม่พบการแตกของเม็ดเลือดแดง ซึ่งได้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ธนาคารเลือด เรื่องการสังเกตการแตกของของเม็ดเลือดแดงทำได้โดยการตั้งทิ้งไว้จนน้ำเลือดกับเม็ดเลือดแยกชั้นกัน ให้สังเกตน้ำเลือดถ้าเป็นสีเหลืองอ่อนก็แสดงว่าไม่มีเม็ดเลือดแดงแตกแต่ถ้า น้ำเลือดเป็นสีแดง ก็แสดงว่ามีเม็ดเลือดแดงแตก ซึ่งตั้งแต่ใช้งานมาไม่มีปัญหาเหล่านี้เลย 4. มีเครื่องเขย่าเลือดที่ราคาถูก (2,000 บาท) ใช้ง่าย สะดวก 5. บุคลากรมีความพึงพอใจ

12 รูปภาพหลังทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

13 ขณะใช้งานจริง


ดาวน์โหลด ppt โครงการจัดทำนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google