งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ
ขั้นตอนการดำเนินการ การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ

2 1. การตรวจสอบการมีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ
- กรณีข้าราชการ ข้าราชการบำนาญถึงแก่ความตาย ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญ และ เงินตามอื่น ในลักษณะเดียวกัน พ.ศ หมวด 4 มาตรา 23 มาตรา 23 ข้าราชการผู้ใดถึงแก่ความตายในระหว่างรับราชการให้จ่ายเงิน ช่วยพิเศษจำนวนสามเท่าของเงินเดือนเต็มเดือน ที่ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเดือนที่ถึงแก่ความตายและหากข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มค่าวิชา เงินประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ เงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบและเงินเพิ่มพิเศษจำนวนสามเท่าด้วย

3 ความในวรรคหนี่ง ให้ใช้บังคับแก่ข้าราชการผู้ถูกสั่งพักราชการผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อนและผู้อุทธรณ์คำสั่งลงโทษ ซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนตาม มาตรา 21 หรือ มาตรา 22 โดยอนุโลม กรณีข้าราชการตายก่อนกรณีถึงที่สุด ให้เจ้ากระทรวงเป็นผู้พิจารณาและวินิจฉัยตามหลักฐานเท่าที่มีอยู่ว่าจะจ่ายเงินเดือนระหว่างพักราชการหรือจะไม่จ่าย * ข้าราชการผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือ หนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ

4 - กรณีลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวถึงแก่ความตาย
- กรณีลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวถึงแก่ความตาย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างของส่วนราชการ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 พ.ศ.2536 ) ข้อ 16 ข้อ 16 ให้จ่ายเงินอีกจำนวนหนึ่งเรียกว่า เงินช่วยพิเศษ เป็นจำนวน 3 เท่าของค่าจ้าง อัตราปกติในเดือนที่ถึงแก่ความตาย ในกรณีลูกจ้างรายวันและรายชั่วโมงให้ ถือเสมือนว่าลูกจ้างผู้นั้นมาปฏิบัติงานเต็มเดือนเป็นเกณฑ์คำนวณเงินช่วยพิเศษ

5 ลูกจ้างประจำซึ่งถูกพักราชการผู้ใดถึงแก่ความตายก่อนคดีหรือกรณีถึงที่สุด ถ้าหัวหน้าส่วนราชการในส่วนกลางหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายพิจารณาวินิจฉัยจ่าย ค่าจ้างให้ตามข้อ 32 เป็นจำนวนเท่าใด ให้จ่ายค่าจ้างตามจำนวนที่วินิจฉัย ให้จนถึงวันที่ถึงแก่ความตาย และให้จ่ายเงินช่วยพิเศษให้อีกจำนวนหนึ่ง เป็นจำนวน 3 เท่าของจำนวนค่าจ้างนั้น ลูกจ้างผู้ใดตายในระหว่างขาดราชการ ให้จ่ายค่าจ้างเพียงวันสุดท้ายที่ผู้นั้น มาปฏิบัติงานและไม่มีการจ่ายเงินช่วยพิเศษ

6 ข้อควรจำ ข้าราชการหรือลูกจ้างผู้ใดตายในระหว่างละทิ้งหน้าที่ราชการ( ขาดราชการ ) โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร หรือหนีราชการห้ามมิให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ การขอรับเงินช่วยพิเศษให้กระทำภายในเวลา 12 เดือน นับแต่วันที่ ข้าราชการหรือลูกจ้าง ผู้มีสิทธิได้รับเงินเดือนถึงแก่ความตาย ถ้าผู้ตายมิได้แสดงเจตนาระบุผู้รับเงินไว้ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้ 1. คู่สมรส 2. บุตร 3. บิดามารดา

7 2. ตรวจสอบเอกสารและคำนวณยอดเงินช่วยพิเศษ จากยอดเงินเดือนสุดท้าย x 3 เท่า
เอกสารประกอบการขอเบิกเงินช่วยพิเศษ ดังนี้ 2.1 บันทึกจากต้นสังกัดแจ้งสาเหตุการตายของข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ /ลูกจ้างชั่วคราว ข้าราชการบำนาญและระบุด้วยว่าข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ/ลูกจ้างชั่วคราวผู้นั้นไม่ได้อยู่ระหว่างการละทิ้งหน้าที่ราชการ(ขาดราชการ ) 2.2 ใบมรณบัตรของผู้ตาย 2.3 แบบคำขอรับเงินช่วยพิเศษพร้อมเอกสารประกอบ ดังนี้ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิรับเงิน สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิรับเงิน เลขที่บัญชีธนาคารของผู้มีสิทธิรับเงิน

8 2.4 หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว ข้าราชการบำนาญผู้ถึงแก่ความตาย 2.5 กรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินไว้ ให้ ตรวจหลักฐานอื่น ๆ ที่แสดงว่าเป็นบุคคลตามลำดับในกรณีที่ผู้ตายมิได้แสดงเจตนาระบุไว้ คือ 1. คู่สมรส 2. บุตร 3. บิดามารดา 2.6 ตรวจสอบอัตราเงินเดือน / ค่าจ้าง คำนวณเงินช่วยพิเศษ 3 เท่า ของอัตราเงินเดือน ค่าจ้างที่ได้รับในเดือนที่ถึงแก่ความตาย

9 3. จัดทำหนังสือเสนอกรม ขออนุมัติจ่ายเงินช่วยพิเศษ ( ผู้อำนวยการสำนัก /
กอง รับมอบอำนาจตามคำสั่งกรม ที่ ข 298/51) 4. จัดทำใบขอเบิกเงินงบประมาณพร้อมเอกสารประกอบ ขอเบิกผ่านระบบ GFMIS 5. เมื่อได้รับอนุมัติให้ออกเช็คสั่งจ่ายให้กับผู้มีสิทธิรับเงิน


ดาวน์โหลด ppt การเบิกจ่ายเงินช่วยพิเศษ

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google