งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์
การจัดการสารเคมีอันตราย วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก งานยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

2 ห้องปฏิบัติการเคมีกับความปลอดภัย
สารเคมีทุกชนิดมีอันตรายแอบแฝงอยู่ไม่มากก็น้อย สารบางชนิดเป็นพิษอย่างร้ายแรง บางชนิดก็มีฤทธิ์กัดกร่อน ในขณะที่บางชนิดก็ไวไฟ บางชนิดก็อาจเกิดปฏิกิริยารุนแรงเป็นอันตรายเมื่อผสมกับสารอื่น ดังนั้นห้องปฏิบัติการเคมีซึ่งไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้งานสารเคมีเหล่านี้ย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีได้มาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

3 จุดมุ่งหมายของการทำงานอย่างปลอดภัย คือการหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ
อุบัติเหตุทำให้เกิดการสูญเสียทางตรง ได้แก่ทรัพย์สิน อุปกรณ์ เวลา อวัยวะ หรือแม้แต่ชีวิต ซึ่งไม่อาจหาอะไรมาทดแทนได้ และทางอ้อม เช่น ค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สูญเสียลูกค้า เสียชื่อเสียงของหน่วยงาน เป็นต้น ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุตั้งแต่แรกจึงดีกว่าการแก้ไขภายหลัง หรือการปล่อยให้เกิดอุบัติเหตุเสียก่อนแล้วค่อยวางมาตรการเพื่อป้องกันในภายหลัง (วัวหายแล้วล้อมคอก)

4 สาเหตุสำคัญของอุบัติเหตุ
การกระทำที่ไม่ปลอดภัย ความไม่รู้ ความประมาท-เลินเล่อ สภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย ระบบไม่ดี - องค์กรไม่ใส่ใจ ต้องทำงานทั้งๆ ที่อุปกรณ์ไม่พร้อม ทั้งสองกรณีนี้อยู่ในวิสัยที่สามารถป้องกันได้

5 อุบัติเหตุที่พบบ่อยในห้องปฏิบัติการเคมี
อุบัติเหตุจากไฟ อุบัติเหตุจากสารเคมีหกรั่วไหล อุบัติเหตุต่อตัวบุคคล บ่อยครั้งอุบัติเหตุเหล่านี้ก็เกิดร่วมกันหรือ อุบัติเหตุหนึ่งเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุอื่น

6 สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟ

7 ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันการหกรั่วไหลของสารเคมี
ตรวจสอบสภาพภาชนะบรรจุสารเคมีและถังแก๊สอย่างสม่ำเสมอ จัดเก็บสารเคมีแยกประเภทตามความเป็นอันตราย การหกรั่วไหลมักเกิดขณะขนย้ายสารเคมีและขณะใช้งาน พึงใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ ก่อนการใช้งานสารเคมีทุกชนิดควรศึกษาเอกสารข้อมูลความปลอดภัย (MSDS) ล่วงหน้า และต้องมั่นใจว่าในกรณีฉุกเฉินจะสามารถหาเอกสารนี้ได้ทันที

8 เอกสารข้อมูลความปลอดภัย หรือ MSDS คืออะไร
เอกสารที่แสดงข้อมูลเฉพาะของสารเคมีแต่ละตัวเกี่ยวกับลักษณะความเป็นอันตราย พิษ วิธีใช้ การเก็บรักษา การขนส่ง การกำจัดและการจัดการอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับสารเคมีนั้นเป็นไปอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยข้อมูลที่แสดงในเอกสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด เว็บไซต์ที่มีข้อมูลเป็นภาษาไทย ได้แก่ 1) เว็บไซต์ฐานความรู้ความปลอดภัยด้านสารเคมี (สนับสนุนโดย สกว.): 2) เว็บไซต์ของกรมควบคุมมลพิษ: 3) เว็บไซต์บริษัทเมอร์ค (Merck):

9 ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดการหกรั่วไหลของสารเคมี
กันผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณ แจ้งผู้บังคับบัญชา หรือผู้รับผิดชอบทันที วิธีการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารเคมีให้ปฏิบัติตาม MSDS ของสารนั้นๆ ดังนั้นข้อมูลแรกที่ต้องทราบคือสารชนิดใดหกรั่วไหล และในปริมาณมากน้อยเพียงใด ผู้ทำความสะอาดสารเคมีที่หกรั่วไหลต้องมีอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสม ในกรณีสารที่หกเป็นอันตรายร้ายแรง หรือประเมินแล้วว่ามีปริมาณมากจนไม่สามารถ ทำความสะอาดได้ด้วยตัวเองให้อพยพออกจากบริเวณที่ปนเปื้อนโดยด่วน ระวังการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม ในกรณีที่สารเคมีหกรดร่างกายด้วยให้ดูหัวข้อที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุต่อตัวบุคคล

10 ข้อปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่อตัวบุคคล
สารเคมีเข้าตา ไม่ควรให้เกิดเด็ดขาด ให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำมากๆ โดยพยายามกลอกตาเพื่อให้ น้ำชะสารเคมีออกให้มากที่สุด พบแพทย์โดยด่วน หกรดผิวหนัง ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออก เช็ดหรือซับสารเคมีออก ล้างด้วยน้ำไหลมากๆ ใช้สบู่ช่วย ถ้าเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ปฏิบัติตาม MSDS พบแพทย์ในกรณีที่จำเป็น สารบาง ชนิดมีอันตรายถึงตายแม้เพียงการซึมผ่านผิวหนัง สูดดม นำออกมารับอากาศบริสุทธิ์ ปฏิบัติตาม MSDS พบแพทย์โดยด่วน กลืนกิน ปฏิบัติตาม MSDS พบแพทย์โดยด่วน อย่าลืมเอาฉลากสารติดไปด้วย ในทุกกรณีต้องแจ้งหัวหน้าห้องปฏิบัติการ และควรทำรายงานเป็นหลักฐาน

11 ข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอุบัติเหตุต่อตัวบุคคล
ไม่เก็บและรับประทานอาหาร, เครื่องดื่มในห้องปฏิบัติการ ไม่หยอกล้อหรือเล่นกันในห้องปฏิบัติการ ไม่ทำปฏิบัติการโดยลำพัง แต่งกายให้เหมาะสมในระหว่างทำปฏิบัติการ ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่เหมาะสมตลอดเวลาที่อยู่ในห้องปฏิบัติการ ใช้สารเคมีเฉพาะในบริเวณที่กำหนดในห้องปฏิบัติการ หลีกเลี่ยงการสูดดม สัมผัส หรือชิมสารเคมีทุกชนิดในห้องปฏิบัติการ ศึกษาสถานที่จัดวางอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ ในห้องปฏิบัติการ ล้างมือให้สะอาดหลังทำปฏิบัติการเสมอ มีสติอยู่เสมอในเวลาทำปฏิบัติการ และโปรดใช้สามัญสำนึกเพื่อความปลอดภัย ศึกษาข้อมูลให้พร้อมก่อนเริ่มทำปฏิบัติการ โดยเฉพาะเมื่อใช้สารที่อันตรายมาก

12 สารเคมีอันตราย !! ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย หมายถึง สาร สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของของแข็ง ของเหลว และ ก๊าซ ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ 1. มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ ก่อมะเร็ง หรือ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ อนามัย 2. ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง เป็นตัวเพิ่มออกซิเจน หรือ ไวไฟ 3. มีกัมมันตภาพรังสี รายชื่อดูจาก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

13 ตัวอย่างสารเคมีในศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘
ที่จัดเป็นสารเคมีอันตรายตามประกาศกระทรวงมหาดไทย Acetic acid Phenol Acetone Phosphoric acid Acetonitrile Potassium chromate Ammonia Potassium dichromate Ammonium nitrate Potassium hydroxide Ammonium fluoride Potassium nitrate Ethyl acetate Ethyl alcolhol Potassium permanganate Calcium chloride Pyridine Calcium hypochlorite Sodium azide Calcium oxide Sodium carbanate Cadmium dust Sodium dichromate Chloroform Sodium fluoride Hexane Sodium hydroxide Iodine Sodium hypochlorite Hydrochloric acid Sodium nitrate Methanol Sodium sulphide Nitric acid Sulfuric acid Oxalic acid Xylene

14 สารก่อให้เกิดมะเร็ง (Carcinogen)ตามมาตรฐาน NIOSH
ที่พบในห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ Chloroform Dichlorometane Cabontetrachloride Formaldehyde Benzene Potassium bromide Glass wool Potassium dichromate ผง cadmium ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

15 ทราบว่าเป็นสารอันตรายได้อย่างไร
  เราสามารถทราบว่าสารเคมีที่พบเป็นสารอันตรายหรือไม่ และก่อให้เกิดอันตรายได้อย่างไร? โดยการสังเกตฉลาก หรือเครื่องหมายซึ่งเป็นเครื่องหมายสากลที่ติดบนภาชนะบรรจุ ก๊าซไวไฟ           ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่น ก๊าซหุงต้ม ก๊าซไฮโดรเจน ก๊าซมีเทน ก๊าซอะเซทีลีน ของแข็งไวไฟ             ลุกติดไฟง่ายเมื่อถูกเสียดสีหรือความร้อนสูง ภายใน 45 วินาที เช่น ผงกำมะถัน ไม้ขีดไฟ ก๊าซพิษ            อาจตายได้เมื่อได้สูดดม เช่น ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนีย ของเหลวไวไฟ           ติดไฟง่ายเมื่อถูกประกายไฟ เช่นน้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ ไซลีน วัตถุระเบิด            ระเบิดได้เมื่อถูกกระแทก เสียดสี หรือความร้อน เช่น ทีเอ็นที ดินปืน พลุไฟ ดอกไม้ไฟ ก๊าซไม่ไวไฟ, ไม่เป็นพิษ           อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกกระแทกอย่างแรง หรือได้รับความร้อนสูงจากภายนอก เช่น ก๊าซออกซิเจน

16 วัตถุที่ถูกน้ำแล้วทำให้ก๊าซไวไฟ
  เช่น   แคลเซียมคาร์ไบด์ โซเดียม วัตถุติดเชื้อ             วัตถุที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนและทำให้เกิดโรคได้ เช่น ของเสีย อันตรายจากโรงพยาบาล เข็มฉีดยาที่ใช้แล้ว เชื้อโรคต่างๆ วัตถุที่เกิดการลุกไหม้ได้เอง             ลุกติดไฟได้เมื่อสัมผัสกับอากาศภายใน 5 นาที เช่น ฟอสฟอรัสขาว ฟอสฟอรัสเหลือง โซเดียมซัลไฟต์ วัตถุกัมมันตรังสี            วัตถุที่สามารถให้รังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น โคบอลต์ เรเดียม วัตถุออกซิไดส์             ไม่ติดไฟแต่ช่วยให้สารอื่นเกิดการลุกไหม้ได้ดีขึ้น เช่น ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ โปแตสเซียมคลอเรต วัตถุอื่น ๆ ที่เป็นอันตราย            เช่น ของเสียอันตราย แอสเบสทอสขาว เบนซัลดีไฮด์ ของเสียปนเปื้อน ออร์แกนนิคเปอร์ออกไซด์             อาจเกิดระเบิดได้เมื่อถูกความร้อน ไวต่อการกระทบและเสียดสีทำปฎิกริยารุนแรงกับสารอื่น ๆ เช่น อะซิโตนเปิร์ออกไซ วัตถุกัดกร่อน            สามารถกัดกร่อนผิดหนังและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ เช่น กรดเกลือ กรดกำมะถัน โซเดียมไฮดรอกไซด์

17 การจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ตัวอย่าง การจัดการของเสียในห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

18 จัดแยกประเภทของเสียภายในห้องปฏิบัติการ
ของเสียชนิดของแข็ง แบ่งเป็น 7 ชนิด ของเสียอันตราย ของเสียชนิดของเหลว แบ่งเป็น 18 ชนิด ของเสียพิเศษ แบ่งเป็น 3 ชนิด ของเสียไม่อันตราย : ขยะธรรมดา, กระดาษ

19 Flow chart การจัดแยกประเภทของเสีย
ภายในห้องปฏิบัติการ ของเสีย EtBr L23 L22 ของเสียที่มีจุลินทรีย์ ของเสียพิเศษ สารกัมมันตรังสี L21 ฆ่าเชื้อโรค (Autoclave ที่ 121 ๐C 15 psi, นาที) จัดเก็บส่งหน่วยงาน พปส. ของเสียอันตราย ของแข็ง / ของเหลว

20 ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว แบตเตอรี่และถ่านไฟฉาย
S05 Y ของแข็ง ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ขยะปนเปื้อนสารเคมี Organic Wastes N S01 เครื่องแก้วและขวด สารเคมีที่แตก Toxic Wastes ขยะติดเชื้อ แบตเตอรี่และถ่านไฟฉาย S02 S03 S04 ของเหลว ของเสียที่ระเบิดได้ สารไวไฟ สารรีดิวซ์ สารที่ได้จากการถ่ายภาพ สารออกซิไดซ์ L20 L18 L13 L19 L12 Y ไซยาไนด์อนินทรีย์ ไซยาไนด์อินทรีย์ ไซยาไนด์ L05 N Y ปรอทอนินทรีย์ ปรอทอินทรีย์ ปรอท L08 N Y อาร์เซนิก L10 S06 Y N Y โครเมี่ยม N L07 S07 Y N

21 สารอินทรีย์/สารเชิงซ้อน
โลหะหนักอื่นๆ ที่เกินมาตรฐาน Y L11 PO43,TKN, BOD N Y ฟอสฟอรัส/ฟลูออไรด์ L04 N Y Y สารอินทรีย์/สารเชิงซ้อน มีน้ำ > 5% L17 N N Y Y DO L01 มีกรดแร่ > 5% ฮาโลเจน L16 I2,KI N N Y Y NH3-N L15 L02 มีด่าง > 5% น้ำมัน N N Y ALK, TVA เกลือ L03 Y เผาไหม้ได้ L14

22 รายละเอียดของเสียอันตราย ชนิดของเหลว
แบ่งเป็น 18 ประเภท 1.L01 ของเสียที่เป็นกรด ความหมาย ของเสียที่มีค่า pH ต่ำกว่า 7 และมีกรดแร่ปนอยู่ในสารละลายมากกว่า 5% ตัวอย่าง กรดซัลฟูริก กรดไฮโดรคลอริก ของเสียจากการทดลอง DO การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้เป็นกลางทิ้งลงท่อ ถ้ามีตะกอนให้กรองน้ำทิ้ง แล้วส่งตะกอนกำจัด

23 3.L03 ของเสียที่เป็นเกลือ
ความหมาย ของเสียที่มีค่า pH สูงกว่า 7 และมีเบสปนอยู่ในสารละลายมากกว่า 5% ตัวอย่าง แอมโมเนียไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้เป็นกลางทิ้งลงท่อ ถ้ามีตะกอนให้กรองน้ำทิ้ง แล้วส่งตะกอนกำจัด 3.L ของเสียที่เป็นเกลือ ความหมาย ของเสียที่มีคุณสมบัติเป็นเกลือ หรือของเสียที่เป็นผลิตผลจากการ ทำปฏิกิริยาของกรดกับเบส ตัวอย่าง เช่นแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนต โซเดียมไฮดรอกไซด์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

24 4.L04 ของเสียที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัส/ฟลูออไรด์
ความหมาย ของเสียที่เป็นของเหลวที่ประกอบด้วยฟอสฟอรัส/ฟูออไรด์ ตัวอย่าง กรดไฮโดรฟูออริก สารประกอบฟลูออไรด์ ซิลิคอนฟูออไรด์ กรดฟอสฟอริก การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้อยู่ในรูปของตะกอนแคลเซียม/ส่งบริษัทกำจัด 5.L05 ของเสียที่ประกอบด้วยไซนาไนด์อนินทรีย์/อินทรีย์ ความหมาย ของเสียที่มีสารประกอบเชิงซ้อนไซยาไนด์ หรือ ไซยาโนคอมเพล็กซ์เป็น องค์ประกอบ ตัวอย่าง โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN), (Ni(CN)42-, (Cu(CN)4)2- การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

25 7.L08 ของเสียที่เป็นสารปรอทอนินทรีย์/อินทรีย์
ความหมาย ของเสียที่มีโครเมียมเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่าง เช่นสารประกอบ Cr6+, Cr3+, กรดโครมิก ของเสียจากการวิเคราะห์ COD การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด วิธีรีดักชั่นและทำให้เป็นกลาง/ส่งบริษัทกำจัด 7.L08 ของเสียที่เป็นสารปรอทอนินทรีย์/อินทรีย์ ความหมาย ของเสียที่มีปรอทอนินทรีย์และปรอทอินทรีย์เป็นองค์ประกอบ ตัวอย่าง เมอคิวรี (II)คลอไรด์, อัลคิลเมอคิวรี การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

26 7.L08 ของเสียที่เป็นสารปรอทอนินทรีย์/อินทรีย์
สารปรอท สารปรอทไม่ว่าอยู่ในรูปใดล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้นเพราะทำอันตรายต่อระบบประสาท ดังนั้นการทดลองใดที่เกี่ยวข้องกับสารปรอทต้องใช้ความระมัดระวังให้ กรณีที่สารปรอทหกวิธีการที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้ -กวาดสารปรอทมากองรวมกัน -เก็บสารปรอทโดยใช้เครื่อง ดังรูปภาพ ถ้าพื้นที่สารปรอทหกหรือรอยร้าว ควรปิดรอยแตกด้วยขี้ผึ้งทาพื้นหนา ๆ เพื่อกันการระเหยของปรอทหรือหรือใช้ผงกำมะถันพรมลงไป ปรอทจะเปลี่ยนเป็นสารประกอบซัลไฟด์ แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

27 ของเสียที่มีปรอท (Mercury Waste)
หมายถึง ของเสียชนิดที่มีปรอทเป็นองค์ประกอบ เช่น เมอร์คิวรี (II) คลอไรด์ , อัลคิลเมอร์คิวรี แนวทางการจัดการ ของเสียที่เป็นเกลือปรอท สามารถละลายได้ในน้ำ (ใช้น้ำ 100 ml ต่อของเสีย 10 g ) ปรับ pH ของสารละลายให้เท่ากับ 10 ด้วยสารละลาย10% โซเดียมไฮดรอกไซด์ ดำเนินการในตู้ดูดควัน เติมสารละลายโซเดียมซัลไฟด์ (20%) พร้อมกับเขย่าจนไม่มีตะกอนเกิดขึ้นอีก สามารถตรวจสอบตะกอนที่เกิดขึ้นว่าสมบูรณ์หรือไม่โดยดูที่ของเหลวที่ลอยอยู่บนผิวเล็กน้อย แล้วหยดสารละลายโซเดียมซัลไฟด์ลงไป 2-3 หยด ถ้ามีการตกตะกอนหรือเกิดมีการขุ่นขึ้น ให้เติมสารละลาย โซเดียมซัลไฟด์ มากเกินพอ หลังจากการเกิดอาการตกตะกอนที่ก้นแล้ว ให้เทของเหลวอย่างเบาๆ หรือกรองเอาของแข็งออก แล้วของเหลวลงสู่ท่อระบายน้ำ และบรรจุของแข็งปรอทซัลไฟด์ลงในภาชนะพร้อมติดฉลากเพื่อนำไปกำจัดอย่างเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดซึ่งอาจจะกำหนดให้กำจัดด้วยการฝังกลบอย่างปลอดภัย หรือทำให้อยู่ในรูปของแคปซูล (encapsulation) โดยการบล็อกด้วยซิเมนต์

28 8.L10 ของเสียที่เป็นสารอาร์เซนิก
ความหมาย ของเสียที่มีอาร์เซนิกเป็นองค์ประกอบ ตัวอย่าง อาร์เซนิกออกไซด์ อาร์เซนิกคลอไรด์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ถ้าเป็น As3+ ให้ใช้วิธีตกตะกอนร่วมกับ Fe3+/ส่งบริษัทกำจัด 9.L11 ของเสียที่เป็นไอออนของโลหะหนักอื่นๆ ความหมาย ของเสียที่มีไอออนของโลหะหนักอื่นๆซึ่งไม่ใช่โครเมียม อาร์เซนิก ไซยาไนด์และปรอทเป็นส่วนผสม ตัวอย่าง แบเรียม แคดเมียม ตะกั่ว ทองแดง แมงกานีส สังกะสี โคบอลต์ นิเกิ้ล เงิน แอนติโมนี ทังสเตน การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้เป็นกลางและตกตะกอน/ดูดซับด้วยคีเลตติงเรซิน/ส่งบริษัทกำจัด

29 10.L12 ของเสียออกซิไดซ์ซิงเอเจนต์
ความหมาย ของเสียที่มีคุณสมบัติในการที่ให้อิเลคตรอนซึ่งอาจเกิดปฏิกริยารุนแรงกับสาร อื่นทำให้เกิดระเบิดได้ ตัวอย่าง เช่นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เปอร์มังกาเนต ไฮโปคลอไรด์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ออกซิเดชั่น/ทำให้เป็นกลาง/ส่งบริษัทกำจัด 11.L13 ของเสียรีดิวซ์ซิงเอเจนต์ ความหมาย ของเสียที่มีคุณสมบัติในการที่รับอิเลคตรอนซึ่งอาจเกิดปฏิกริยารุนแรงกับสาร อื่นทำให้เกิดระเบิดได้ ตัวอย่าง กรดซัลฟิวรัส กรดไอโอซัลฟุริก ไฮดราซีนไฮดรอกซิลเอมีน การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด รีดักชั่น/ทำให้เป็นกลางส่งบริษัทกำจัด

30 12.L14 ของเสียที่สามารถเผาไหม้ได้
ความหมาย ของเสียที่เป็นของเหลวอินทรีย์ที่สามารถเผาไหม้ได้ ตัวอย่าง ตัวทำละลายอินทรีย์ พวกอัลกอฮอล์เอสเตอร์ อัวดีไฮด์ คีโตน กรดอินทรีย์ และสารอินทรีย์พวกไนโตรเจนหรือกำมะถัน เช่นเอมีน เอไมด์ ไพริมิดีน คิวโนลิน การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด 13.L15 ของเสียที่เป็นน้ำมัน ความหมาย ของเสียที่เป็นของเหลวอินทรีย์ประเภทไขมันที่ได้จากพืช และสัตว์ ตัวอย่าง กรดไขมัน น้ำมันพืช และสัตว์ น้ำมันปิโตรเลี่ยม และผลิตภัณฑ์ที่ได้จาก น้ำมัน เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด น้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

31 14.L16 ของเสียที่เป็นสารฮาโลเจน
ความหมาย ของเสียที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ของธาตุฮาโลเจน ตัวอย่าง คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4) คลอโรเบนซิน (C5H6Cl) คลอโรเอพิลีน โบรมีนผสมตัวทำละลายอินทรีย์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด 15.L17 ของเสียที่เป็นของเหลวอินทรีย์ที่ประกอบด้วยน้ำ ความหมาย ของเสียที่เป็นของเสียอินทรีย์ที่มีน้ำผสมอยู่มากกว่าร้อยละ 5 ตัวอย่าง น้ำมันผสมน้ำ สารที่เผาไหม้ได้ผสมน้ำ เช่น อัลกอฮอล์ผสมน้ำ ฟีนอลผสมน้ำ กรดอินทรีย์ผสมน้ำ เอมีน หรืออัลดีไฮด์ผสมน้ำ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

32 16.L18 ของเสียที่เป็นสารไวไฟ
ความหมาย ของเสียที่สามารถลุกติดไฟได้ง่าย ซึ่งต้องแยกเก็บให้ห่างจากแหล่งกำเนิดไฟ พวก ความร้อน ปฏิกิริยาเคมี เปลวไฟ เครื่องฟ้า ปลั๊กไฟ ตัวอย่าง อะซิโตน เบนซิน คาร์บอนไดซัลไฟด์ ไซโคลเฮกเซน ไดเอทธิลอีเทอร์ เอทธานอล เมทธานอล เมทธิลอะซิเตท โทลูอีน ไซลีน ปิโตรเลียมสปิริต การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้อยู่ในรูปของตะกอนแคลเซียม/ส่งบริษัทกำจัด 17.L19 ของเสียที่มีสารทำให้ภาพคงตัว ความหมาย ของเสียที่เป็นพวกน้ำยาล้างรูป ซึ่งประกอบด้วยสารเคมีอันตรายและสารอินทรีย์ ตัวอย่าง ของเสียจากห้องมืด (Dark Room)สำหรับล้างรูป ซึ่งประกอบด้วยโลหะเงินและของเหลวอินทรีย์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ส่งบริษัทกำจัด

33 18.L20 ของเสียที่เป็นสารที่ระเบิดได้
ความหมาย ของเสียหรือสารประกอบที่เมื่อได้รับความร้อน การเสียดสี รับแรงกระแทก ผสมกับน้ำ หรือความดันสูงๆ สามารถระเบิดได้ ตัวอย่าง ไนเตรท ไนตรามีน คลอเรต ไนโตรเปอร์คลอเรต พิเกรท โพรเมต เอไซด์ ไดเอโซ เปอร์ออกไซด์ อะเซติไลด์ อะซิติคลอไรด์ การจัดเก็บ จัดเก็บในภาชนะสภาพดี มีฝาปิดมิดชิด ทำจากพลาสติก PP หรือ PE การบำบัด/กำจัด ทำให้อยู่ในรูปของตะกอนแคลเซียม/ส่งบริษัทกำจัด

34 รายละเอียดการจัดเก็บและบำบัด ของเสียอันตรายชนิดของแข็ง (7 ประเภท)
1.S01 ขวดแก้ว ขวดสารเคมีที่ใช้หมดแล้ว ความหมาย ขวดแก้วเปล่าที่เคยบรรจุสารเคมีทั้งชนิดของแข็งและของเหลว ขวดพลาสติกเปล่าที่เคยบรรจุสารเคมีทั้งชนิดของแข็งและของเหลว ตัวอย่าง ขวดแก้วสีชาบรรจุกรด ด่าง ขวดแก้วบรรจุสารเคมีไวไฟ ขวดบรรจุสารเคมี การจัดเก็บ ทำความสะอาดก่อนนำเก็บบนชั้น หรือก่อนนำไปใช้ใหม่ การบำบัด/กำจัด ส่งหน่วยงานภายนอกกำจัด

35 2.S02 เครื่องแก้ว และขวดสารเคมีที่แตก
ความหมาย เครื่องแก้ว ขวดแก้วที่แตก ชำรุด หลอดทดลองที่แตกหัก ชำรุด ตัวอย่าง ขวดแก้ว เครื่องแก้ว หรืออุปกรณ์ที่ทำจากแก้วแตก หักชำรุด การจัดเก็บ บรรจุใส่ถัง PE พร้อมฝาปิด การบำบัด/กำจัด ส่งหน่วยงานภายนอกกำจัด 3.S03 Toxic Waste ความหมาย สารพิษ สารเคมีอันตราย สารก่อมะเร็ง ตัวอย่าง สารเคมีที่หมดอายุ สารเคมีที่เสื่อมคุณภาพ สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ การจัดเก็บ บรรจุใส่ถัง PE พร้อมฝาปิด การบำบัด/กำจัด ส่งหน่วยงานภายนอกกำจัด

36 5.S05 ขยะปนเปื้อนสารเคมีอันตรายที่มีความเข้มข้นสูง
4.S04 Organic Waste ความหมาย ของเสียชนิดของแข็งที่มีจุลินทรีย์ปนเปื้อน ตัวอย่าง อาหารเลี้ยงเชื้อแบบแข็ง Gel เลี้ยงจุลินทรีย์ การจัดเก็บ ไม่ต้องจัดเก็บให้ฆ่าเชื้อก่อนทิ้งเป็นขยะชุมชน การบำบัด/กำจัด ฆ่าเชื้อก่อโรคด้วยวิธี Autoclave ที่ 121 C, 15 psi, 70 นาที ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ด้วยวิธี Autoclave ที่ 121 C, 15 psi, 30 นาที 5.S05 ขยะปนเปื้อนสารเคมีอันตรายที่มีความเข้มข้นสูง ความหมาย ขยะที่มีการปนเปื้อนสารเคมี หรือบรรจุภัณฑ์ที่มีการปนเปื้อนสารเคมี ตัวอย่าง ทิชชู ถุงมือ เศษผ้า หน้ากาก หรือบรรจุภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารเคมี การจัดเก็บ บรรจุใส่ถัง PE พร้อมฝาปิด การบำบัด/กำจัด ส่งหน่วยงานภายนอกกำจัด

37 7.S07 แบตเตอรีและถ่านไฟฉาย
ความหมาย ขยะ/ของเสีย ที่มีเหตุสงสัยว่ามี หรืออาจมีเชื้อโรค ซาก หรือชิ้นส่วน สิ่งมีชีวิต วัสดุที่ใช้บริการทางการแพทย์ ตัวอย่าง ซาก ชิ้นส่วนสิ่งมีชีวิต สำลี ผ้ากอส เข็มฉีดยา หรือสิ่งสัมผัสกับเลือด การจัดเก็บ บรรจุใส่ถุงสีแดง และจัดเก็บในถัง ซึ่งมีฝาปิด การบำบัด/กำจัด ส่งกำจัดโดยการเผาด้วยเตาเผา 7.S07 แบตเตอรีและถ่านไฟฉาย ความหมาย แบตเตอรี ละถ่านไฟฟฉายที่ใช้งานหมดแล้ว หรือเสื่อมสภาพแล้ว ตัวอย่าง แบตเตอรี และถ่านไฟฉาย การจัดเก็บ บรรจุใส่ถัง พร้อมฝาปิด การบำบัด/กำจัด ส่งหน่วยงานภายนอกกำจัด

38 ระบบการจัดการสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตัวอย่าง ระบบการจัดการสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

39 ระบบการจัดการของเสียจากห้องปฏิบัติการ

40 ระบบข้อมูลสารเคมีของห้องปฏิบัติการ
ห้องปฏิบัติการต้องมีรายการสารเคมีที่มีข้อมูลครบถ้วนและได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นรายปี

41 ระบบการตรวจติดตามห้องปฏิบัติการ
มีการตรวจติดตามห้องปฏิบัติการและผู้ที่ทำวิจัยในห้องปฏิบัติการเป็นรายเทอม

42 ทดลองใช้โปรแกรม

43

44 Flow chart การจัดหมวดหมู่ของเสียของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

45 แหล่งข้อมูลด้านความปลอดภัยของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

46 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

47 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

48 สถานที่ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บของเสีย
สถานที่จัดเก็บของเสียภายในห้องปฏิบัติการ : บริเวณที่แบ่งแยกออกมาจากส่วนที่ปฏิบัติการ และอยู่ในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก สถานที่จัดเก็บของเสียประจำอาคาร : ควรมีอากาศเย็นและแห้ง มีระบบถ่ายเทอากาศที่ดี และแดดส่องไม่ถึง สถานที่เก็บของเสียในสถานที่เก็บรวบรวมของเสียส่วนกลาง : ต้องเป็นสถานโรงเรือนหรือที่มีปริมาณกว้างพอ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและมีการจัดเก็บของเสียประเภทต่างๆ อย่างถูกต้องตามมาตรฐานและสามารถแยกการเก็บของเสียที่ไม่สามารถเก็บรวมกับของเสียประเภทอื่นได้อย่างเหมาะสม

49 สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ คืออะไร
สารที่เข้ากันไม่ได้ (Incompatible chemicals) หมายถึง สารเคมีที่หากสัมผัสกันจะเกิดอันตราย แต่ถ้าอยู่ตามลำพังอาจจะไม่มีอันตราย อันตรายที่เกิดขึ้นอาจเนื่องมาจากสารทำปฏิกิริยากันก่อให้เกิดความร้อนสูง จนลุกไหม้ หรือระเบิด วิธีการจัดเก็บสารเหล่านี้ หากจำเป็นต้องเก็บไว้ในห้องเดียวกัน ควรเอาไว้คนละตู้ หรือคนละชั้นวาง และควรวางตู้และชั้นวางเหล่านั้นห่างจากกัน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

50 ไม่ควรจัดเก็บร่วมกับกลุ่ม
ตารางที่ 1 ตัวอย่างประเภทของสารเคมีและการจัดเก็บแยกตามแต่ละประเภท ประเภทสารเคมี กลุ่ม ไม่ควรจัดเก็บร่วมกับกลุ่ม กรดอนินทรีย์ (Inorganic acids) 1 2-8, 10, 11, 12, 13, 15-18, 20, 21 กรดอินทรีย์ (Organic acids) 2 1, 3, 4, 7, 13, 15-18 ด่าง (Caustic) 3 1, 2, 6-8, 12-17, 19, 21 เอมีนส์และอัลคาโนลามีนส์ (Amines and Alkanolamines) 4 1, 2, 5, 7, 8, 12-17, 21 สารประกอบของธาตุฮาโลเจน (Halogenated compounds) 5 1, 3, 4, 11, 13, 16 อัลกอฮอล์ ไกลคอล และไกลคอลอีเทอร์ (Alcohols, Glycols and Glycol ethers) 6 1, 7, 13, 15, 19, 21 อัลดีไฮด์ (Aldehydes) 7 1-4, 6, 8, 14-16, 18, 19, 21 คีโตน (Ketones) 8 1, 3, 4, 7, 18, 19 น้ำมันปิโตรเลียม ไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (Petroleum oils, Saturated hydrocarbons) 9 19 อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Aromatic hydrocarbons) 10 1, 19 โอเลฟินส์ (Olefins) 11 1, 5, 19 เอสเทอร์ (Esters) 12 1, 3, 4, 18, 19 มอนอเมอร์ Polymerizable Ester (Monomers, Polymerizable Esters) 13 1-6, 14, 15, 18, 19, 20, 21 ฟีนอล (Phenols) 14 3, 4, 7, 13, 15, 18, 19 อัลคาลีนออกไซด์ (Alkalene Oxides) 15 1-4, 6, 7, 15, 18, 21 ไซยาโนไฮดริน (Cyanohydrins) 16 1-5, 7, 15, 18, 21 ไนไตรล์ (Nitriles) 17 1-4, 15, 21 แอมโมเนีย (Ammonia) 18 1, 2, 7, 8, 12-16, 19, 21 ธาตุฮาโลเจน (Halogens) 3, 6-14, 18, 20 อีเทอร์ (Ethers) 20 1, 13, 19 Acid anhydrides 21 1, 3, 4, 6, 7, 13, 15-18 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

51 วิธีกำจัดสารเคมีด้วยตนเอง
การทำให้ระเหยเป็นไอ การทำให้เป็นกลางและเจือจาง การฝังกลบ การเก็บสารเคมี การเผา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

52 การพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน อันตรายส่วนบุคคล (Protect yourself)
เลือกอุปกรณ์โดย ศึกษาข้อมูลสารเคมีจาก MSDS ถ้าไม่ทราบชนิดสาร ให้เลือกการป้องกันระดับสูงสุด

53 ระดับการป้องกันสารเคมีอันตราย มี 4 ระดับ
ระดับการป้องกันสารเคมีอันตราย มี 4 ระดับ ระดับ A ระดับ B ระดับ C ระดับ D A (Environmental Protection Agency’s Office of Emergency and Remedial Response)

54 ระดับ A ชุดกันสารเคมีแบบ Total encapsulating chemical protection suit (Vapor-light suit) มีอุปกรณ์ Self-contained breathing apparatus (SCBA) (Air-line respirator) ถุงมือ และ รองเท้าหัวเหล็ก กันสารเคมี ป้องกันสูงสุด (ระบบหายใจ, ตา, ผิวหนัง, เยื่อบุ) A Level A Protection ให้การป้องกันในระดับสูงสุด ทั้งด้านการหายใจ การสัมผัส กับ ผิวหนัง ดวงตา และ ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ป้องกันสารเคมีทั้งในรูป ของแข็ง ของเหลว และ ก๊าซ

55 B ระดับ B อุปกรณ์เหมือน A ยกเว้นชุดกันสารเคมี ใช้ splash garment
ป้องกันระบบหายใจสูงกว่าระบบอื่น Level B Protection ใช้ป้องกันระบบทางเดินหายใจในระดับสูงสุดแต่ระดับการป้องกันจะรองลงมาสำหรับผิวหนัง และ ดวงตา โดยมากจะใช้ป้องกันของเหลวหรือวัตถุกระเด็น

56 Level C Protection ใช้เมื่อรู้ว่าสารเคมีเป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจ มีการวัดความเข้มข้นของสารเคมี และมีข้อบ่งชี้ในการใช้ air-purifying respirators โดยอันตรายจากการสัมผัสทางผิวหนังค่อนข้างน้อย และตลอดการปฏิบัติงานภายใต้ชุดดังกล่าว จะต้องมีการตรวจสภาพอากาศเป็นระยะ D ป้องกันธรรมดา อุปกรณ์มี หน้ากากและไส้กรองสารเคมี (air purifying respirator) Splash garment, ถุงมือ และ รองเท้าหัวเหล็ก C ป้องกันแบบรู้ชนิดและความเข้มข้นสาร Level D Protection คือชุดใส่ทำงานทั่วไปไม่ควรใส่ในที่ซึ่งมีสิ่งคุกคามต่อผิวหนังหรือทางเดินหายใจ

57 ขั้นตอนการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์
เริ่ม ไม่ทราบประเภทสารเคมีที่รั่วไหล YES ระดับ A NO YES สารนี้เป็นพิษต่อผิวหนังหรือไม่ NO YES ระดับ B ไม่ทราบสภาพอากาศขณะนี้

58 ขั้นตอนการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์
ไม่ทราบสภาพอากาศขณะนี้ NO YES YES สภาพนี้ต้องใช้หน้ากาก ควรสวมหน้ากาก ระดับ C NO YES สารนี้ระคายเคืองผิวหนัง NO ระดับ D

59 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

60 เลขนัยสำคัญ

61 เลขนัยสำคัญ (significant figures)
3.4 3.44

62 เลขนัยสำคัญ 1. เลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด เป็นเลขนัยสำคัญ
1. เลขที่ไม่ใช่ 0 ทั้งหมด เป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 456 cm. 3.5 g เลขนัยสำคัญ 2 ตัว 2. เลข 0 ระหว่างเลขอื่น เป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 4 ตัว 2005 kg เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 1.01 cm

63 3. เลข 0 ทางด้านซ้ายของเลขอื่นไม่เป็นเลขนัย สำคัญ
เลขนัยสำคัญ 1 ตัว 0.02 g cm เลขนัยสำคัญ 2 ตัว 4. เลข 0 ทางด้านขวาของเลขอื่นและมีจุดทศนิยม เป็นเลขนัยสำคัญ g เลขนัยสำคัญ 3 ตัว เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 30.0 cm

64 5. เลข 0 ทางขวามือของเลขอื่นที่ไม่มีจุดทศนิยมไม่จำเป็น
25 5. เลข 0 ทางขวามือของเลขอื่นที่ไม่มีจุดทศนิยมไม่จำเป็น ต้องเป็นเลขนัยสำคัญ เลขนัยสำคัญ 2 หรือ 3 ตัว 130 cm 10,300 g เลขนัยสำคัญ 3, 4 หรือ 5 ตัว เลขนัยสำคัญ 3 ตัว 1.03 x 104 g เลขนัยสำคัญ 4 ตัว 1.030 x 104 g เลขนัยสำคัญ 5 ตัว x 104 g Scientific Notation

65 Scientific Notation (สัญกรณ์ทางวิทยาศาสตร์)
จำนวนอะตอมใน 12 g ของคาร์บอนคือ 602,200,000,000,000,000,000,000 6.022 x 1023 มวลของคาร์บอนหนึ่งอะตอมในหน่วยกรัม คือ 1.99 x 10-23 N x 10n N คือตัวเลข ระหว่าง 1 ถึง 10 n คือจำนวนเต็ม บวกหรือลบ

66 ระบุจำนวนเลขนัยสำคัญในจำนวนต่อไปนี้
24 mL เลขนัยสำคัญ 2 3001 g เลขนัยสำคัญ 4 m3 เลขนัยสำคัญ 3 6.4 x 104 molecules เลขนัยสำคัญ 2 560 kg เลขนัยสำคัญ 2 หรือ 3

67 เลขนัยสำคัญ การบวกและการลบ
ผลลัพธ์ต้องมีจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเท่ากับจำนวนตัวเลขหลังจุดทศนิยมของตัวตั้งที่มีตัวเลขหลังจุดทศนิยมน้อยที่สุด 89.332 1.1 + 90.432 มีเลขหลังจุดทศนิยม 1 ตำแหน่ง ปัดเป็น 90.4 3.70 0.7867 มีเลขหลังจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง ปัดเป็น 0.79

68 เลขนัยสำคัญ การคูณและการหาร 4.51 x 3.6666 = 16.536366 = 16.5
ผลลัพธ์ต้องมีจำนวนตัวเลขนัยสำคัญเท่ากับจำนวนตัวเลขนัยสำคัญของตัวตั้งที่มีเลขนัยสำคัญน้อยที่สุด 4.51 x = = 16.5 3 sig figs ปัดเป็น 3 sig figs 6.8 ÷ = = 0.061 2 sig figs ปัดเป็น 2 sig figs

69 เลขนัยสำคัญ ตัวเลขแม่นตรง (Exact Numbers)
ตัวเลขจากนิยามหรือจำนวนนับของวัตถุจัดเป็นตัวเลขแม่นตรงที่มีจำนวนตัวเลขนัยสำคัญเป็นอนันต์ ค่าเฉลี่ยของค่าสามค่าต่อไปนี้; 6.64, 6.68 และ 6.70? 3 = = 6.67 = 7 เนื่องจากเลข 3 เป็นตัวเลขแม่นตรง

70 สวัสดี ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์


ดาวน์โหลด ppt วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ ๘ นครสวรรค์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google