งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
บทที่ 2 ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

2 กฎหมายคุ้มครองแรงงาน คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิ หน้าที่ระหว่างนาย ลูกจ้าง โดยกำหนด
* มาตรฐานขั้นต่ำในการจ้าง (ค่าจ้างเหมาะสม) * การใช้แรงงาน * การจัดสถานที่และอุปกรณ์ในการทำงาน

3 ลักษณะสำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
มุ่งเน้นการคุ้มครองลูกจ้างโดยเน้นมุ่งมาตรฐานขั้นต่ำไว้ เป็นกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญาให้นายจ้างต้องปฎิบัติตาม นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงทำสัญญาให้ลูกจ้างรับสิทธประโยชน์น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไม่ได้ นายจ้างจะออกข้อบังคับ คำสั่งลิดรอนประโยชน์ของลูกจ้างยิ่งกว่ากฎหมายกำหนดไม่ได้

4 ลักษณะสำคัญของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เป็นกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงานสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปได้ 2. เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญาหากมีการฝ่าฝืนและนายจ้างอาจถูกดำเนินคดี

5 3. เป็นกฎหมายกึ่งมหาชนกึ่งเอกชน คือเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จึงมีลักษณะเป็นกฎหมายเอกชน และมีโทษทางอาญาเมื่อมีการฝ่าฝืน ซึ่งเป็นลักษณะของกฎหมายมหาชน 4. เป็นกฎหมายทางสังคม กฎหมายคุ้มครองแรงงานตราขึ้นเพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคม มุ่งที่จะคุ้มครองสิทธิ มาตรฐานขั้นต่ำแก่ลูกจ้าง

6 ขอบเขตการบังคับใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ใช้บังคับแก่นายจ้าง ลูกจ้างในกิจการจ้างงานทุกราย ไม่ว่าจะประกอบกิจการปกระเภทใด และไม่ว่าจะมีจำนวนลูกจ้างเท่าใดยกเว้นนายจ้างหรือกิจการตามที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวง

7 กิจการหรือการจ้างที่ยกเว้น
1. ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น 2. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 3. นายจ้างประเภทที่ได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวง เช่น โรงเรียนเอกชนในส่วนที่เกี่ยวกับครูและครูใหญ่ งานเกษตรกรรมและงานรับไปทำที่บ้าน และงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ

8 ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานนายจ้าง
มี 4 ประเภท คือ 1. นายจ้างตัวจริง หมายถึง บุคคลที่ตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ ซึ่งเป็นนายจ้างตัวจริง 2. นายจ้างตัวแทน หมายถึง ผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล

9 3. นายจ้างรับมอบ หมายถึง ผู้ซึ่งได้รับมอบให้ทำงานแทนนายจ้างตัวจริงหรือนายจ้างตัวแทน 4. นายจ้างรับถือ หมายถึง ผู้ประกอบการที่มีกิจการจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งถือว่าเป็นทั้งนายจ้างของลูกจ้างตนเองและนายจ้างของลูกจ้างซึ่งมารับเหมาค่าแรงในกิจการของตนด้วย

10 ลูกจ้าง หมายความว่า ผู้ที่ตกลงทำงานให้แก่นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
ลูกจ้างจึง หมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย

11 การจะถือว่าเป็นลูกจ้างหรือไม่พิจารณาจาก
การจ่ายค่าจ้าง การออกคำสั่งในการทำงาน ระเบียบหรือข้อบังคับในการทำงาน

12 จงตอบคำถามต่อไปนี้ กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้ประโยชน์ในด้านใดมากที่สุด กฎหมายคุ้มครองแรงงานใช้บังคับในกิจการใด ผู้จัดการฝ่ายบุคคลจัดเป็นนายจ้างหรือไม่ เพราะเหตุใด ผู้ประกอบการที่ไปจ้างบริษัทอื่นมาทำงานแทนกิจการของตน โดยบริษัทที่รับนำลูกจ้างของตนเองมาทำงาน คือนายจ้างประเภทใด นายจ้างและลูกจ้างมีความหมายอย่างไร


ดาวน์โหลด ppt ความหมาย ลักษณะ และการบังคับใช้ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google