ดาวน์โหลดงานนำเสนอ
งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ
ได้พิมพ์โดยMok Kasamsun ได้เปลี่ยน 10 ปีที่แล้ว
1
หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต เทคโนโลยีทางอาหาร
นโยบายการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการแปรรูปอาหารภายในประเทศรวมทั้งการศึกษาการใช้ประโยชน์และศักยภาพของวัตถุดิบทางการเกษตร งานวิจัยที่กำลังดำเนินการ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์นม การศึกษาสมบัติของแป้งและแป้งดัดแปร การตรึงเอนไซม์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการหมัก การพัฒนาการใช้พอลิเมอร์ชีวภาพในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ การแปรรูปสัตว์น้ำในเชิงลึกและเชิงประยุกต์ ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และโภชนาการอาหาร กระบวนการแปรรูปและวิศวกรรมอาหาร อาหารปลอดภัย GMP HACCP, fermentation, biosensor, yeast technology คณาจารย์มีความหลากหลายและมีประสบการณ์สอนและวิจัยในสาขาต่างๆ อาทิเช่น กระบวนการแปรรูปและวิศวกรรมอาหาร เคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร อาหารปลอดภัย กฎหมายอาหาร บรรจุภัณฑ์ โภชนาการ การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการทดสอบทางประสาทสัมผัสของอาหาร เป็นต้น
2
การรับเข้าเรียนต่อในระดับปริญญามหาบัณฑิต
รับสมัครตลอดทั้งปี สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ เดือนมกราคม – มีนาคม สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเรียนในภาคการศึกษาแรกของปีการศึกษา (เริ่มเรียนมิถุนายน) เดือนกันยายน – ตุลาคม สำหรับผู้ที่ต้องการสมัครเข้าเรียนในภาคการศึกษาที่สองของปีการศึกษา (เริ่มเรียนพฤศจิกายน) ส่งใบสมัครพร้อมหลักฐานประกอบการรับสมัครที่บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำหรับการรับสมัครด้วยวิธีพิเศษ (ไม่ต้องสอบข้อเขียน) สามารถยื่นใบสมัครได้ทั้งปี การรับวิธีพิเศษ ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติดังนี้ เกรดเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 3.00 และคะแนนภาษาอังกฤษมากกว่า 450 (CU-TEP) ติดต่อสอบถามได้ที่ ดร.ชาลีดา บรมพิชัยชาติกุล ภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร โทร
3
การรับเข้าเรียนต่อในระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเข้าศึกษา สำเร็จ วท.บ. ด้านเทคโนโลยีและ/หรือวิทยาศาสตร์ทางอาหาร โดยมี GPA ≥ 2.25 ในระบบ 4 แต้ม หรือ สำเร็จ วท.ม. ด้านเทคโนโลยีและ/หรือวิทยาศาสตร์ทางอาหาร หรือเทียบเท่า โดยมี GPA ≥ 2.25 ในระบบ 4 แต้ม วิธีการคัดเลือก เสนอสัมมนาโครงร่างวิทยานิพนธ์ที่สนใจจะทำเป็นวิทยานิพนธ์ สอบสัมภาษณ์
4
โครงการปริญญาเอกร่วมสถาบัน สาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร
เรียนรายวิชาภายในประเทศ ทำวิจัยที่สถาบันต่างประเทศที่ร่วมโครงการ 1 ปี โดยมีอาจารย์ที่สถาบันนั้นเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม เก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเทอมละ 60,000 บาท เป็นเวลา 3 เทอม มีค่าใช้จ่ายสำหรับการทำวิจัยที่สถานบันในต่างประเทศ (ขึ้นอยู่กับประเทศที่ไป) มีสถาบันร่วมโครงการในประเทศ 6 สถาบัน มีสถาบันร่วมโครงการที่ต่างประเทศ (Canada, France, The Netherlands, New Zealand, UK และ USA) รวม 11 สถาบัน
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
© 2024 SlidePlayer.in.th Inc.
All rights reserved.