จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2558 สรุปผลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 รอบที่ 2/2558 คณะที่ 4 ด้านระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ 6 – 7 กรกฎาคม 2558
ประเด็นการตรวจราชการ 1.ด้านระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการ อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 1.1 มีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพระดับเขตดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด 1.2 มีการคณะกรรมการ หรือคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน เพื่อพัฒนาระบบงานคุ้มครองผู้บริโภคสุขภาพระดับจังหวัด 1.3 ร้อยละของเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ณ สถานที่ผลิต ผ่านมาตรฐานตามประกาศฯ กำหนด(20-40 ppm) (เป้าหมาย:ร้อยละ 100) 1.4 ร้อยละของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมและสถานพยาบาลผิดกฎหมายได้รับการจัดการ (เป้าหมาย:ร้อยละ 100) 1.5 ร้อยละของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านเสริมความงามและคลินิกที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้รับการเฝ้าระวังและให้ดำเนินการตามกฎหมาย (เป้าหมาย:ร้อยละ 98) 2.ด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 2.1 คณะอนุกรรมการสาธารณสุขจังหวัด (อสธจ.) ทุกจังหวัด ดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่และแนวทางที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คณะอนุกรรมการการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพระดับเขต เป้าหมาย เพื่อเป็นกลไกในการกำหนดยุทธศาสตร์ แนวทาง การดำเนินงาน คบส.ของเขต ตลอดจนให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภคสุขภาพระดับเขต ต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพ (Regional Health Board)
1.1 มีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ระดับเขตดำเนินการตามอำนาจ หน้าที่ที่กำหนด ข้อกำหนดมาตราการดำเนินงานในพื้นที่ 1.มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับเขต 2.วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา จัดทำแผนยุทธศาสตร์ /แผนปฏิบัติการ 3.ดำเนินการตามแผน 4.ติดตามควบคุมกำกับและประเมินผล 5.สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำข้อเสนอ
1.1 มีคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ระดับเขตดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนด ผลการดำเนินงานของเขต มีคำสั่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 1 มีการจัดประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งแรก วันที่ 9 มีนาคม 2558 มอบหมายให้คณะทำงานทั้ง 3 ด้าน (ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ สถานพยาบาล และการโฆษณา) ทำหน้าที่สรุปทบทวนและจัดทำข้อเสนอแนวทางและแผนการดำเนินงานในแต่ละด้านให้คณะอนุกรรมการพิจารณาในครั้งต่อไป
ยึดหลักแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่และการพัฒนาร่วมกันทั้งจังหวัด 1.2 มีคณะอนุกรรมการฯเพื่อพัฒนากลไกการดำเนินงาน คุ้มครองผู้บริโภคสุขภาพระดับจังหวัด ยึดหลักแนวทางการแก้ไขปัญหาในพื้นที่และการพัฒนาร่วมกันทั้งจังหวัด 1.มีคณะอนุกรรมการดำเนินการตามกฎหมายของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และคณะทำงานการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุข 2.มีการวิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงาน ปี 2557 3.กำหนดนโยบายและแผนการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพระดับจังหวัด 4.มีการสร้างความเข้มแข็งให้กับเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค 5. มีการพัฒนาเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคสู่ระดับอำเภอ 6. มีระบบการจัดการเรื่องร้องเรียนด้านบริการและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 7. มีระบบติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน
ประเด็นปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ สถานพยาบาล สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของจังหวัด ลำดับ ผลิตภัณฑ์ สถานพยาบาล สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ 1 การใช้ยาในชุมชน - 2 การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางวิทยุชุมชน
ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหา จัดทำโครงการการใช้ยาปลอดภัยในชุมชน - คัดเลือกตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว เป็นตำบลนำร่อง และจัดประชุมภาคีเครือข่าย การใช้ยาปลอดภัยในชุมชน วันที่ ๑๔ พ.ค. 58 ซึ่งส่วนใหญ่เป็น อสม./ผู้นำชุมชน ที่จะเป็นผู้สำรวจข้อมูล และเป็นแกนนำเครือข่ายดำเนินการในชุมชน - สำรวจข้อมูลแหล่งกระจายยา และข้อมูลการใช้ยาในครัวเรือน ในชุมชน และลงข้อมูลในฐานข้อมูล www.promoteRDU.com (อยู่ระหว่างการประมวลผล)
ผลการตรวจสถานประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหา ประเด็น เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน ตรวจ ผ่าน ร้อยละ สถานที่ผลิตน้ำบริโภค 377 345 343 99.42 ผลิตภัณฑ์น้ำบริโภค 190 179 69 60 (รอผล) 57.98 สถานที่ผลิตน้ำแข็ง 33 27 26 96.30 ผลิตภัณฑ์น้ำแข็ง 24 11 45.83
-จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและกำชับด้านกฎหมายแก่เจ้าของกิจการ 1.3 ร้อยละของเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน ณ สถานที่ผลิต ผ่านมาตรฐานตามประกาศฯ กำหนด(20-40 ppm) (เป้าหมาย:ร้อยละ 100) จำนวนสถานที่ผลิตเกลือบริโภคเสริมไอโอดีน จำนวน 11 แห่ง เป้าหมาย (A) (จำนวนที่เก็บ ตย.) ผลการดำเนินงาน(B) (จำนวนที่ผ่านมาตรฐาน) คิดเป็นร้อยละ (B/A)x100 14 เก็บ 14 ตัวอย่าง ผ่าน 6 ตัวอย่าง 42.85 ปัญหา ผู้ประกอบการยังขาดความตระหนักในการผลิต และให้ความสำคัญด้านหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตน้อย ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นต่างด้าว (พม่า) มีปัญหาด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล และภาษาในการสื่อสาร ข้อเสนอแนะ -จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานและกำชับด้านกฎหมายแก่เจ้าของกิจการ -บังคับใช้กฎหมาย
1.4 ร้อยละของการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมและสถานพยาบาลผิดกฎหมายได้รับการจัดการ (เป้าหมาย:ร้อยละ 100) ประเด็น ตรวจ ผลการดำเนินงาน ไม่ถูกต้อง มีการจัดการ ร้อยละ การโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพ อาหารเสริมและสถานพยาบาลผิดกฎหมายได้รับการจัดการ 10 รายการ 8 100 จังหวัดจัดการทำงานเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ค้นหาปัญหา ระยะที่ 2 ประชุม/ให้ข้อมูล/ร่วมมือกับเครือข่าย ระยะที่ 3 เฝ้าระวัง ตรวจสอบ ประชาสัมพันธ์ ให้คำแนะนำ ดำเนินคดี (มิย.58 อยู่ในระยะนี้) ระยะที่ 4 ดำเนินการอย่างยั่งยืน จัดทำงานวิจัยร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ มช. โดยดึงให้นักศึกษาเข้ามามีส่วนร่วมในการฟังวิทยุและร่วมวางแผนการแก้ไขปัญหาโฆษณาทางสื่อวิทยุแบบครบวงจรโดยให้หน่วยงานภาคเอกชน และเครือข่ายดำเนินการร่วมกัน ร่วมกับ กสทช. ในการอบรมนายสถานี (เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน ~200 สถานี) ในวันที่ 10 ก.ค. 58
ดำเนินการตามกฎหมาย(แห่ง) 1.5 ร้อยละของคลินิกเวชกรรมที่ให้บริการด้านเสริมความงามและคลินิกที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลได้รับการเฝ้าระวังและให้ดำเนินการตามกฎหมาย (เป้าหมาย:ร้อยละ 98) ประเด็น เป้าหมาย (แห่ง) ตรวจสอบ (แห่ง) ดำเนินการตามกฎหมาย(แห่ง) ร้อยละ 1.5.1 คลินิกเวชกรรมที่ให้บริการเสริมความงามได้รับการตรวจมาตรฐาน 112 แห่ง 70 แห่ง 62.50 1.5.2 เรื่องร้องเรียนคลินิกที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล (คลินิกเถื่อน) 20 เรื่อง 100
คณะอนุกรรมการสาธารณสุข (อสธจ.) เชียงใหม่ มีการจัดประชุม อสธจ.แล้ว ๑ ครั้ง ประเด็นสำคัญ เป็นเรื่องการออกข้อกำหนดในประเด็นสำคัญตามกฎหมายสาธารณสุข ได้แก่ - ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร - การจัดการขยะ - ประเด็นที่เป็นปัญหาในจังหวัด(เครื่องทำน้ำอุ่น, การมีและใช้สารโปตัสเซี่ยมคลอเรต เป็นต้น)
ประเด็นที่ได้รับการพิจารณาของอสธจ. ที่ประชุมมีมติให้ท้องถิ่นจังหวัดร่วมกับสาธารณสุขจังหวัดจัดประชุมชี้แจงให้ความรู้เรื่องกฎหมายสาธารณสุขแก่ท้องถิ่นต่างๆ ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการดูแลพัฒนาตลาด โดยเฉพาะตลาดประเภทที่ ๒ ให้มีการควบคุมกำกับโดยท้องท้องถิ่นให้มากขึ้น
เสนอเพื่อพิจารณา ควรมีความต่อเนื่องของการดำเนินการด้านการประชุมอนุกรรมการสาธารณสุข ควรให้มีคณะทำงานเพื่อผลักดันข้อเสนอ เผยแพร่มติ และติดตามผลการดำเนินงานตามมติ อาจพิจารณานำข้อแนะนำของคณะกรรมการสาธารณสุขมาใช้เป็นเงื่อนไขของท้องถิ่นในการพิจารณาการออกใบอนุญาตหรือต่อใบอนุญาตของท้องถิ่นได้ เช่นเดียวกับที่ จ.เชียงใหม่เคยผลักดันให้ใช้คำแนะนำเรื่องการจัดการฟาร์มสัตว์มาเป็นเงื่อนไขในการออกใบอนุญาต/ต่อใบอนุญาตฟาร์มสัตว์มาแล้ว
ขอขอบคุณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์