Information Technology อ.วรพจน์ พรหมจักร
Information System Information System คือ ระบบที่จัดเก็บ (Input) และประมวลผลข้อมูล (Processing) ข้อมูลเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ รวมถึงช่วยในการเผยแพร่ (Output) สารสนเทศ ซึ่งองค์ประกอบของระบบสารสนเทศ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ People Procedure Software Hardware และ Data
People บุคลากร เนื่องจากทุกๆ งานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จะต้องกระทำโดยบุคลากร หรือ ผู้ใช้ (User) ทั้งสิ้น ดังนั้นบุคลากรจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
Procedure ระเบียบปฏิบัติการ เป็นกฎหรือแนวทางสำหรับบุคลากรในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ระเบียบปฏิบัติการอาจรวมไปถึงคู่มือการใช้ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ ที่ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์เขียนขึ้นก็ได้
Software ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรม (Program) ประกอบด้วยคำสั่งหลายๆ คำสั่งที่บอกให้คอมพิวเตอร์รู้ว่าจะต้องทำงานตามขั้นตอนอย่างไร ซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลให้อยู่ในรูปของสารสนเทศ (Information)
System Software ซอฟต์แวร์ระบบ จะช่วยให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องได้ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง (background) การดำเนินการของคอมพิวเตอร์ ช่วยให้คอมพิวเตอร์จัดเก็บทรัพยากรภายในเครื่องได้ ซอฟต์แวร์ระบบเป็นซอฟต์แวร์ที่รวมโปรแกรมหลายๆ โปรแกรมไว้ด้วยกัน Operating System Utilities หรือโปรแกรมอรรถประโยชน์
Application Software ซอฟต์แวร์ประยุกต์ อาจกล่าวได้ว่าเป็น ซอฟต์แวร์สำหรับผู้ใช้ (End User Software) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน และ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้งาน ซอฟต์แวร์ประยุกต์พื้นฐาน (Basic Application) หรือ ซอฟต์แวร์ประยุกต์อเนกประสงค์ (General-purpose Application) เป็นซอฟต์แวร์ที่นิยมใช้กันทั่วไปอย่างกว้างขวางในทุกสาขาอาชีพ ตัวอย่าง Browser (IE, Google Chrome and Mozilla Firefox) หรือ Microsoft Office
Application Software ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (Specialized Application) เป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะสาขาอาชีพหนึ่ง ซอฟต์แวร์นี้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ซอฟต์แวร์ทางด้านกราฟิก (Graphic) เสียงและวิดีโอ (Audio and Video) มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาเว็บ (Web Authoring) และ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligent)
Hardware ฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ ฮาร์ดแวร์จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์
Hardware คอมพิวเตอร์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถทำตามคำสั่ง เพื่อรับข้อมูลมาประมวลผล และให้ผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ ชนิดของคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ Supercomputer Mainframe Computer Minicomputer and Microcomputer
Supercomputer ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพและความสามารถในการทำงานสูงมากเป็นพิเศษ มักจะใช้ในองค์กรขนาดใหญ่
Mainframe Computer เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ต้องทำงานในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ แม้ว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์จะมีประสิทธิภาพด้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ก็สามารถประมวลผลด้วยความเร็วที่สูงมากและมีหน่วยความจำขนาดใหญ่
Minicomputer มินิคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Midrange Computer) นิยมใช้ในบริษัทขนาดกลาง หรือตามฝ่ายต่างๆ ของบริษัทขนาดใหญ่ เช่น ฝ่ายผลิต ใช้ตรวจสอบกรรมวิธีในการผลิตและสายงานการประกอบ
Microcomputer ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดแต่ได้รับความนิยมมากที่สุด และพัฒนาไปเร็วกว่าคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ ไมโครคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้ 6 ชนิด Desktop Computer Media Computer Notebook Computer Tablet PC (iPad SS Galaxy Tab) Netbooks Handheld Computer (PDA : Personal Digital Assistance)
Hardware Microcomputer ฮาร์ดแวร์ของไมโครคอมพิวเตอร์ มีอุปกรณ์พื้นฐาน 4 ประเภท คือ หน่วยระบบ อุปกรณ์รับเข้า/ส่งออก หน่วยความจำสำรอง และอุปกรณ์สื่อสาร
Hardware Microcomputer หน่วยความจำระบบ (System Unit) Microprocessor ทำหน้าที่ควบคุมและประมวลผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศ Primary Storage หรือ หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม (Random Access Memory) เรื่องสั้นๆ ว่า แรม (RAM) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของโปรแกรมเพื่อรอการประมวลผล และเก็บสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลแล้วก่อนที่จะส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก
Hardware Microcomputer อุปกรณ์รับเข้า/ส่งออก Input Device (Keyboard and Mouse) Output Device (Monitor)
Hardware Microcomputer หน่วยความจำสำรอง Hard disk Solid State Storage (SSD, USB Drive and Optical Disk)
Hardware Microcomputer อุปกรณ์สื่อสาร (Communication Device) Modem ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอะนาล็อกที่ผ่านมาทางสายโทรศัพท์ ให้เป็นสัญญาณดิจิทัล เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารประมวลผลได้ และกลับกัน ก็สามารถแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณอะนาล็อกให้ส่งผ่านทางสายโทรศัพท์ได้
Data ข้อมูล หรือ ข้อมูลดิบ (Raw Data) คือ ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผลอาจจะอยู่ในรูปของข้อความ ตัวเลข รูปภาพ และเสียง เช่น จำนวนชั่วโมงการทำงานและอัตราค่าตอบแทน เป็นต้น ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์เรียกว่า สารสนเทศ (Information)
Data ไฟล์ข้อมูลพื้นฐาน Document File Worksheet File Database File Presentation File
Connectivity ปัจจุบันระบบสารสนเทศมีองค์ประกอบที่สำคัญเพิ่มขึ้น ได้แก่ ภาวะเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และแลกเปลี่ยนสารสนเทศได้ ซึ่งช่วยขยายขีดความสามารถและประโยชน์ของระบบสารสนเทศออกไปได้มากขึ้น
Connectivity เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ Internet ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยอาศัยไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นตัวเชื่อมโยงบนอินเตอร์เน็ตซึงมีบริการต่างๆ มากมาย เช่น World Wide Web