การบริหารการค้าปลีกและการค้าส่ง
บทบาทของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ บทที่ 1 บทบาทของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่
บทบาทของธุรกิจค้าปลีกยุคใหม่ กิจการค้าปลีกเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุด ปัจจุบันกิจการค้าปลีกกำลังก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก ธุรกิจค้าปลีกได้สร้างนวัตกรรมใหม่ทั้งด้านรูปแบบการค้า คือ การค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ ด้านเทคโนโลยี ได้แก่ การนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการซื้อขาย ระบบสินค้าคงคลัง การจัดส่งสินค้า
ความหมายของการค้าปลีก การค้าปลีก คือ กิจกรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับการขายสินค้าและบริการสู่ผู้บริโภคคนสุดท้ายเพื่อใช้ส่วนตัว
ความสำคัญของการค้าปลีก การค้าปลีกมีความสำคัญอย่างเห็นได้ชัด ทุกคนมีโอกาสเกี่ยวข้องกับการค้าปลีกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนสินค้าในระบบธุรกิจค้าปลีกยังมีผลกระทบต่อกลุ่มคน และระบบเศรษฐกิจทั้งจุลภาคและ มหภาค ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นหลัก 3ระดับ คือ
1. ผลกระทบของธุรกิจค้าปลีกต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม แสดงถึงความสามารถในการสร้างรายได้ของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในระบบธุรกิจของประเทศ ฐานะความมั่นคงของกิจการบ่งบอกถึงศักยภาพในการกระจายรายได้ของภาคธุรกิจ เนื่องจากสัดส่วนของรายได้จากธุรกิจค้าปลีกเทียบกับเศรษฐกิจทั้งระบบของไทย
2. ผลกระทบของธุรกิจค้าปลีกต่อวัฒนธรรมและสังคม เช่น การสร้างผู้นำแฟชั่น มีผลให้วัฒนธรรมการแต่งกายของคนไทยต้องเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 3. ประโยชน์ของธุรกิจค้าปลีกในช่องทางการจัดจำหน่าย การค้าปลีกเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการกระจายสินค้า ในการโยกย้ายสินค้าไปให้ถึงผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
3.1 ธุรกิจค้าปลีกสร้างประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทำให้มีความคล่องตัวในการซื้อขายปริมาณสินค้าครั้งละน้อยๆ แต่มีโอกาสเลือกสินค้าได้หลากหลาย ดังนั้นผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการค้าปลีกคือ การแบ่งเป็นส่วนย่อย การคัดเลือกสินค้า การเก็บสินค้าเพื่อรอการจัดจำหน่าย การแจ้งข่าวสาร การบริการ
3.2 ประโยชน์ของธุรกิจค้าปลีกต่อผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีกได้สร้างประโยชน์ให้กับผู้ผลิตและผู้ค้าปลีกดังนี้ นำข่าวสารจากผู้บริโภคไปยังผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง ช่วยกระจายสินค้าสู่มือผู้บริโภค ช่วยให้เกิดศักยภาพการผลิตปริมาณมาก
โครงสร้างธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย ในอดีตธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นแบบดั้งเดิมและมีเจ้าของเป็นคนไทย ปัจจุบัน ธุรกิจค้าปลีกแปรเปลี่ยนไปเป็นธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่มีกลุ่มทุนต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพิ่มมากขึ้น 1. การจำแนกธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ในประเทศไทยแบ่งเป็น 7 ประเภท สามารถสรุปการจัดลักษณะของธุรกิจ
1.1 ซูเปอร์เซ็นเตอร์ หรือ ไฮเปอร์มาร์เก็ต เช่น บิ๊กซี เทสโก้โลตัส คาร์ฟูร์ 1.2 แคชแอนด์แครร์รี่ เช่น แม็คโค 1.3 ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล เดอะมอลล์ 1.4 ซูเปอร์มาร์เก็ต เช่น ท็อปส์ 1.5 ร้านค้าเฉพาะอย่าง เช่น บูทส์ 1.6 แคติกอรีคิลเลอร์ เช่น พาวเวอร์บาย ออฟฟิศดีโป้ โฮมโปร 1.7 ร้านค้าสะดวกซื้อหรือมินิมาร์ท เช่น เซเว่นอีเลฟเว่น
2. มูลค่าการซื้อขายผ่านธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 3. ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ 4. ผลกระทบของทุนต่างชาติต่อผู้ประกอบการค้าปลีกของไทย สรุป จะเห็นได้ว่า ธุรกิจค้าปลีกมีบทบาทและความสำคัญต่อสังคมโดยรวม ไม่ว่ากิจการค้าปลีกขนดเล็ก กลาง หรือขนาดใหญ่ ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ สัดส่วนใหญ่ที่สุดสร้างประโยชน์อย่างหลากหลายต่อผู้ประกอบการ