ให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ โครงการ ให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ
นางรวงรัตน์ แสงนิพันธ์กูล ที่ปรึกษาโครงการ รศ.นพ.สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตนานิจ นางรวงรัตน์ แสงนิพันธ์กูล
หัวหน้าโครงการ
หลักการและเหตุผล สืบเนื่องจากนโยบายโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพ (Srinakarind Hospital Model 2010) ส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับมีส่วนร่วมในการวางแผนการดูแลด้านสุขภาพ เพิ่มบริบทในการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอย่างเป็นรูปธรรมในการรักษาพยาบาล (Clinical and bedside teaching และ nursing care)
หลักการและเหตุผล (ต่อ) การดูแลสุขภาพตนเองเป็นกระบวนการที่ประชาชนสามารถทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพได้ด้วยตนเอง โดยผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสภาพร่างกาย จิตใจภายหลังการเจ็บป่วยได้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิตของบุคคล
หลักการและเหตุผล (ต่อ) ด้วยเหตุนี้ ห้องตรวจหู คอ จมูก ได้เล็งเห็นความสำคัญของการให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพการรักษาพยาบาลอันจะนำไปสู่การพึ่งตนเองในการป้องกันโรคหรือลดปัญหาที่ผู้ป่วยสามารถป้องกันและดูแลตนเองได้ตามศักยภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้องเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ เดือนพฤศจิกายน 2553 – เดือนมกราคม 2554
ดัชนีชี้วัด 1. ผู้ป่วยปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง ≥ ร้อยละ 90 2. ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ≥ ร้อยละ 90 3. ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ≥ ร้อยละ 90
ขั้นตอนการดำเนินงาน 1. ประชุมเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน เขียนโครงการเสนอหัวหน้าหน่วยงาน 2. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมเนื้อหาการให้ข้อมูลผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ 3. จัดทำคู่มือการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ 4. จัดกิจกรรมให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบทุกวันจันทร์ ช่วงบ่าย - กิจกรรมสอนสาธิตผู้ป่วย/ฝึกปฏิบัติล้างจมูก - กิจกรรมสอนสาธิตผู้ป่วย/ฝึกปฏิบัติพ่นยา 5. ติดตามและประเมินผลทุกเดือน 6. สรุปและรายงานผลการดำเนินโครงการ เดือนมกราคม 2554
การประเมินผลโครงการ 2. ความพึงพอใจผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ 1. วัดความรู้ผู้ป่วยก่อนและหลังให้ความรู้ผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ โดยใช้แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคและการดูแลตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ 2. ความพึงพอใจผู้ป่วยโรคไซนัสอักเสบ
จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ งบประมาณ จาก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ป่วยสามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง 2. ผู้ป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองเพิ่มขึ้น 3. ผู้ป่วยมีความพึงพอใจเพิ่มขึ้น