วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก Problem-based learning:PBL วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก (Problem-based learning) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนทรักติวิซึม(Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบทของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการ คิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาที่ตนศึกษา Problem-based learning:PBL
วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก Problem-based learning:PBL บทบาทของการเรียนการสอนจะเน้นที่ผู้เรียนไม่ใช่ผู้สอน ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกิจกรรมการเรียนของผู้เรียนในรูปของโจทย์ปัญหา (Problem) จัดหาทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resource) ต่างๆ ให้ผู้เรียนได้เรียน เพื่อแสวงหาความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา ผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ (Facilitator) (ทองจันทร์ หงส์ลดารมภ์ : 2550) Problem-based learning:PBL
วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก Problem-based learning:PBL การเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก เป็นการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อมาใช้แก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมายอย่างมีกระบวนการและขั้นตอน ทำให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ทันต่อเหตุการณ์และเป็นความรู้ที่ผู้เรียนนำไปใช้ได้จริง Problem-based learning:PBL
วัตถุประสงค์วิธีการเรียน เพื่อพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาร่วมกันเพื่อแก้ปัญหา เพื่อบูรณาการเนื้อหาความรู้ (Content Integration) เนื่องจากในการปฏิบัติงาน การค้นคว้า ต้องใช้ความรู้จากสาขาวิชาต่างๆ บูรณาการแก้ปัญหา เพื่อเป็นการเรียนที่เน้นทักษะกระบวนการคิดค้นคว้าหาความรู้ การสื่อสาร และการแก้ปัญหา
วิธีสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ผลที่จะได้รับจากการสอบแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก ทักษะการสื่อสาร ทำงานร่วมกัน (Communication, Collaboration) ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) แนวทาง คุณลักษณะการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-directed Learning: SDL)
ขั้นตอนวิธีการจัดการเรียนการสอน 1. จัดกลุ่มแนะนำสมาชิก 2. กำหนดวัตถุประสงค์ 3. ศึกษาปัญหาที่ได้รับ ขยายรายละเอียดของปัญหา 4. กำหนดประเด็น ประเด็นในการเรียนรู้ 5. กำหนดวัตถุประสงค์ของแผนดำเนินการ 6. ทำความตกลงกันในเรื่องของ ข้อมูลที่จะได้รับ 7. กำหนดแหล่งเรียนรู้ 8. รวบรวมความรู้ที่ได้มาจากการค้นคว้าสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง 9. ทำความเข้าใจซ้ำอีกกับความรู้ที่ได้รับใหม่ 10. เลือกวิธีในการแก้ปัญหา/ นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา 11. การประเมินผล
ขอบคุณ