การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข
10. ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ 10.1 ความหมายของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ 10.2 แนวคิดของความร่วมมือ ในการบริการสารสนเทศ 10.3 พัฒนาการของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ
10.4 ลักษณะของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ 10.5 ระดับของความร่วมมือ ในการบริการสารสนเทศ 10.6 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ
10.1 ความหมายของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศเป็นการดำเนิน กิจกรรมร่วมกันระหว่างองค์การ สารสนเทศตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไป ที่มีเป้าหมายในการแลกเปลี่ยน สารสนเทศหรือทรัพยากร สารสนเทศ
มีการกำหนดเป้าหมายและ วางแผนเพื่อการสร้าง สัมพันธภาพและบริการร่วมกัน เปลี่ยนจากการเน้นความเป็น เจ้าของทรัพยากรสารสนเทศ ของสถาบันบริการสารสนเทศ ไปสู่การใช้ทรัพยากร สารสนเทศร่วมกัน และการ ส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศ ของผู้ใช้อย่างกว้างขวาง
10.2 แนวคิดของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ สารสนเทศเป็นทรัพยากรที่ สามารถแบ่งปันกันได้ เพื่อการใช้สารสนเทศให้เกิด ประโยชน์สูงสุดและกว้างขวาง ที่สุด เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกัน ในการเข้าถึงสารสนเทศของ มนุษย์ทุกคน
10.3 พัฒนาการของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ เริ่มจากกิจกรรมยืมระหว่าง ห้องสมุดซึ่งปรากฏหลักฐานว่า เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ยุคอียิปต์ โบราณ ทศวรรษ 1960 เกิด สภาพการณ์การท่วมท้นของ สารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมี ราคาสูงขึ้นมาก
จึงรวมตัวกันจัดตั้ง “ เครือข่าย ห้องสมุด (Library Network)” ทศวรรษที่ 1990 ได้รวมตัว กันจัดตั้ง “ ภาคีห้องสมุด (Library Consortium)” เพื่อ การต่อรองกับผู้จัดจำหน่าย เรื่องราคาและเงื่อนไขการใช้ สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
10.4 ลักษณะของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ 1) ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศอย่างเป็นทางการ ( มีการจัดทำข้อตกลงเป็นลาย ลักษณ์อักษร จดทะเบียนในรูป นิติบุคคล ) 2) ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศอย่างไม่เป็น ทางการ
10.5 ระดับของความร่วมมือ ในการบริการสารสนเทศ 1) ความร่วมมือระดับท้องถิ่น 2) ความร่วมมือระดับชาติ 3) ความร่วมมือระดับภูมิภาค 4) ความร่วมมือระดับ นานาชาติ
1) ความร่วมมือระดับ ท้องถิ่น เป็นความร่วมมือขององค์การ สารสนเทศที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่น เดียวกัน คำว่า “ ท้องถิ่น ” หมายถึง เขตอาณาบริเวณที่แต่ละ ประเทศใช้แบ่งพื้นที่เพื่อ ประโยชน์ทางการปกครอง เช่น มลรัฐ เมือง จังหวัด อำเภอ เป็นต้น
ตัวอย่างของความร่วมมือ ระดับนี้ เช่น เครือข่าย ห้องสมุดมลรัฐอลาสกา เครือข่ายสารสนเทศ นครราชสีมา เป็นต้น
2) ความร่วมมือระดับชาติ เป็นความร่วมมือขององค์การ สารสนเทศประเภทเดียวกัน หรือสาขาวิชาเดียวกันที่ตกลง ดำเนินงานร่วมกันอย่าง กว้างขวาง ทั่วทั้งประเทศ ทั่วทั้งประเทศ
ตัวอย่างของความร่วมมือ ระดับนี้ เช่น เครือข่าย ห้องสมุดวิจัยเพื่อการศึกษา วิชาทหาร เครือข่าย ห้องสมุดแพทย์แห่งชาติ ข่ายงานห้องสมุด มหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค (PULINET) เครือข่าย ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา เอกชน เป็นต้น
3) ความร่วมมือระดับ ภูมิภาค เป็นความร่วมมือขององค์การ สารสนเทศที่ตั้งในเขตภูมิภาค เดียวกัน เช่น ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้หรือภูมิภาค เอเชียและแปซิฟิก ตัวอย่าง : เครือข่ายสารสนเทศ ด้านการแพทย์ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ (SEAMIC)
4) ความร่วมมือระดับ นานาชาติ เป็นความร่วมมือขององค์การ สารสนเทศที่มีขอบเขตความ ร่วมมือกว้างขวางทั่วโลก ตัวอย่าง : เครือข่าย OCLC เครือข่ายสารสนเทศทาง การเกษตรนานาชาติ (AGRIS) เครือข่ายห้องสมุด ระดับโลกด้านการบริหารงาน ยุติธรรม (WCJLN)
10.6 ปัจจัยแห่ง ความสำเร็จของความ ร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ผู้บริหารระดับสูง : เห็นความ จำเป็นและประโยชน์ระยะยาวที่ เกิดจากความร่วมมือกำหนด นโยบาย หาแหล่งเงินทุน สนับสนุน มีความคิดสร้างสรรค์
ผู้ปฏิบัติงาน : ยินดีและ พอใจที่จะยอมรับการ เปลี่ยนแปลง มีทัศนคติใน ทางบวก ผู้ใช้ : ต้องได้รับข้อมูลที่ ถูกต้อง ชัดเจนเกี่ยวกับ บริการที่สามารถใช้ได้จาก องค์การสารสนเทศอื่นที่มี ข้อตกลงร่วมกัน