การอ่าน สุรพล บุญลือ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร การศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและ เทคโนโลยี ม. เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ประเภทของเสียง เสียงที่ใช้ในงานมัลติมีเดียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ เสียงเพลงบรรเลง เสียงพูด และเสียงประกอบ
เสียงเพลงบรรเลง เป็นเสียงที่ได้จากเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ มักใช้เพื่อสร้างอารมณ์ บรรยากาศ และ ความรู้สึกต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะจัดให้อยู่ใน รูปของเสียงที่เป็นฉากหลัง (Background) โดยแสดงไปพร้อมกับเสียงบรรยายหรือ เสียงพูด แต่ควรระมัดระวังในเรื่องของระดับ เสียงที่จะต้องไม่เด่นกว่าเสียงบรรยายหรือ เสียงพูดจนทำให้ผู้ฟังสับสนได้
เสียงบรรยายหรือ เสียงพูด เป็นลักษณะของเสียงที่ใช้เพื่อนำเสนอ ข้อมูล หรือการสนทนาของตัวละคร ซึ่ง จุดเด่นจะอยู่ที่การเลือกใช้เสียงให้ สอดคล้องกับเนื้อหา และสอดคล้องกับ กลุ่มเป้าหมาย ในการออกแบบเสียง จุดสำคัญอยู่ที่การเตรียมบทเสียง (Sound script) ซึ่งผู้เขียนบทเสียงจะต้องเขียนโดย ใช้ถ้อยคำที่มีการสื่อความหมาย สละสลวย กะทัดรัด จูงใจ มีจังหวะคล้องจองกับการ นำเสนอภาพและข้อความหน้าจอ และ จะต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
เสียงประกอบหรือเสียงเอฟ เฟ็กต์ (Sound effect) คือ เสียงของการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ใน สถานการณ์เฉพาะของสิ่งนั้น โดยแบ่ง ออกเป็น 2 ประเภท คือ Synchronized sound มักจะเป็นสัญญาณเสียงสั้นๆ เช่น เสียงแก้ว แตก เคลื่อนย้ายสิ่งของ เป็นต้น ส่วนอีก ประเภทหนึ่ง คือ เสียงฉากหลัง (Background sound) มักใช้ประกอบการ นำเสนอหัวเรื่องหรือบทนำก่อนเข้าสู่ตัว เนื้อหาจริง หรือใช้ในตอนจบเนื้อหา เพื่อ แสดงถึงความแตกต่างในการนำเสนอ เนื้อหา
ข้อควรพิจารณา เกี่ยวกับการเลือกใช้ เสียง ในการเลือกใช้งานเสียงอย่างเหมาะสมและ ตรงตามเนื้อหา จะช่วยสร้างความน่าสนใจ ให้กับงานมัลติมีเดียได้เป็นอย่างดี ผู้ออกแบบจึงควรมีความรู้และความเข้าใจ ในเรื่องของหลักการออกแบบและการใช้ เสียงในการนำเสนอ รวมถึงข้อควรพิจารณา ต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้