งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1

2 บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์
หัวข้อเนื้อหาประจำบท 1. แนวคิดเกี่ยวกับการเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ 2. ขั้นตอนการเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ 3. ประเภทการเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ 4. การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ

3 แนวคิดเกี่ยวกับการเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
สุนทรพจน์ หมายถึง การพูดที่ดีงาม ไพเราะ มักมีในพิธีต้อนรับ แขกเมืองคนสำคัญ พิธีได้รับตำแหน่งสำคัญ วันสำคัญระดับชาติ หรือเป็นการกล่าวในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อสร้างสรรค์ จรรโลงใจมีวัตถุประสงค์โดยเฉพาะ มีการจัดเตรียมการพูดเป็นอย่างดี ใช้ถ้อยคำไพเราะลึกซึ้งกินใจ จับใจ โน้มน้าวให้ผู้ฟังเห็นคล้อยตาม กระตุ้นผู้ฟัง มีความมั่นใจและยินดีร่วมมือ สร้างบรรยากาศให้เกิดความสุขแก่ผู้ฟัง

4 ช่องทางการเขียนสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. ทางการพูดหรือการกล่าวในที่ชุมชน จำเป็นต้องขึ้นต้นด้วยการกล่าวทักทายที่ประชุมหรือผู้เกี่ยวข้องตามความเหมาะสมด้วย โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 3 องค์ประชุมหลัก 2. ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น รายงานประจำปี เอกสารแนะนำหน่วยงานหรือโครงการ ซึ่งมักจะพบในรูปของเอกสารแทรกตามสื่อหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ

5 โครงสร้างการเขียนสุนทรพจน์
1. คำขึ้นต้นหรือคำปฏิสันถาร เป็นส่วนของคำกล่าวทักทายผู้รับฟัง เป็นการให้เกียรติผู้ที่มา เข้าร่วมในพิธีหรือในการประชุมนั้น ๆ การกล่าวทักทายควรเรียงลำดับการทักทายจากผู้ที่มีอาวุโส 2. ส่วนนำ เป็นส่วนที่บอกถึงจุดประสงค์ และมุ่งที่จะตรึงความสนใจของผู้รับสาร 3. เนื้อเรื่อง เป็นส่วนสำคัญของรายละเอียดเนื้อหา เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นแล้วจะมีสัดส่วนมากที่สุดเพราะเป็นส่วนที่จะให้ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง ส่วนนี้นับเป็นส่วนสำคัญมากที่สุด ทั้งนี้ความสำเร็จของการพูดส่วนใหญ่ขึ้นกับเนื้อหา 4. สรุป เป็นข้อความส่วนท้ายก่อนจบ เป็นส่วนที่ผู้เขียนจะต้องสร้างความจดจำ ความประทับใจแก่ผู้ฟัง

6 แนวทางการเขียนสุนทรพจน์
1. การกำหนดแนวคิด 2. การรวบรวมข้อมูล 3. การเขียนร่าง 4. การตรวจสอบความสมบูรณ์ของร่าง 5. การเขียนอย่างละเอียด ก่อนการเขียนสุนทรพจน์

7 ประเภทของสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
1. การกล่าวปราศรัย หรือ สารจากประธานกรรมการ อาจมีโอกาสต่าง ๆ เช่น ครบรอบปีก่อตั้งของสถาบัน การขยายกิจการ การเปิดอาคารสำนักงานแห่งใหม่ เนื้อหา - โอกาส ความสำคัญของโอกาส - ประวัติความเป็นมา - จุดมุ่งหมายของกิจการ หน่วยงาน หรือ โครงการ - หลักการดำเนินงานหรืออุดมการณ์ของหน่วยงาน กิจกรรมสำคัญ ๆ หรือผลงานเด่นที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานหรือโครงการที่เป็นประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม และขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน

8 ประเภทของสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
2. การกล่าวอวยพร หรือสารแสดงความยินดี หรือสารอวยพร ในฐานะของแขกผู้ทรงเกียรติหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เนื้อหา - ฐานะของผู้กล่าว กล่าวในนามของใคร โอกาส ความสำคัญของโอกาสนั้น - ความสำคัญ และบทบาทขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีต่อส่วนรวม อาจเป็นเชิงเศรษฐกิจ หรือสังคม - ชื่นชมผลงานหรือกิจกรรมที่โดดเด่นเป็นพิเศษ แสดงความยินดีและอวยพรต่อกิจการ

9 ประเภทของสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
3. การกล่าวรายงาน เน้นการสื่อสารผ่านช่องทางการพูดเป็นหลัก โดยทั่วไปเป็นหน้าที่ของประธานกรรมการจัดงาน ซึ่งต้องรายงานต่อประธานในงาน เนื้อหา - หลักการและเหตุผลของการจัดงาน วัตถุประสงค์ ระยะเวลาการจัดงาน - กิจกรรมต่าง ๆ ที่น่าสนใจ - ขอบคุณคณะกรรมการหรือผู้รับผิดชอบจัดงาน และอวยพรให้งานประสบความสำเร็จลุล่วง

10 ประเภทของสุนทรพจน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
4. การกล่าวเปิดงาน ใช้ในโอกาสที่ประธานในพิธีกล่าวตอบรับการรายงาน และกล่าวเปิดงานในลำดับถัดไป เนื้อหา - การแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดงาน - กล่าวชื่นชมความสำคัญและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน - ขอบคุณคณะกรรมการหรือผู้รับผิดชอบจัดงาน และอวยพรให้งานประสบความสำเร็จลุล่วง

11 การพูดเพื่อการประชาสัมพันธ์ในโอกาสต่าง ๆ
1. การพูดในหน้าที่พิธีกร คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่าง ๆ เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่กำกับให้กิจกรรม รายการ หรือ พิธีการต่าง ๆ ดำเนินการไปให้แล้วเสร็จเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยพิธีกรควรจะมีทักษะเป็นพิเศษคือ เป็นคนพูดเป็น ทักษะการพูดต้องดี บุคลิกดี ท่าที่สง่า พิธีกรต้องสื่อสารแล้วคนฟังเข้าใจ ไม่พูดมากเกินไป รู้รายละเอียดของแต่ละรายการ รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมและเวลาให้สัมพันธ์กัน รู้จักผู้เกี่ยวข้องในแต่ละรายการ (ใครจะมารับช่วงเวทีต่อไป) รู้กาลเทศะ หลักสำคัญของการเป็นพิธีกรต้องประสานกับผู้พูด ผู้กำกับรายการและเจ้าของงานให้เรียบร้อย

12 การเขียนบทพูดของพิธีกร
การเขียนบทพูดของพิธีกรก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ดำเนินการเรียบร้อยตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งมีแนวทางการเขียน คือ การกำหนดขอบเขตของเรื่อง รวบรวมเนื้อหา วางโครงเรื่อง จัดลำดับความสำคัญ การใช้ถ้อยคำของตนเอง เลือกคำให้เหมาะกับงานแต่ละประเภท คำนึงถึงกลุ่มผู้ฟังเสมอ ตรวจสอบความถูกต้องของบทก่อน พูดทุกครั้ง

13 2. การกล่าวต้อนรับในโอกาสที่มีผู้มาเยี่ยมเยือน หรือผู้มาร่วมงานคนใหม่ มักจะจัดงานต้อนรับเป็นการแสดงอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์กัน การกล่าวต้อนรับเป็นการแสดงออกถึงการให้เกียรติผู้มาเยือนหรือผู้มาใหม่ ก่อให้เกิดความอบอุ่นเป็นกันเองต่อผู้มาใหม่

14 การเขียนบทพูดเพื่อต้อนรับ
ประกอบด้วยคำปฏิสันถารเพื่อกล่าวทักทาย เช่น ท่านอธิการบดี ท่านรองอธิการบดี คณาจารย์และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน....” ต่อด้วยความรู้สึกยินดีของผู้ต้อนรับ ตามด้วยเนื้อเรื่องความเกี่ยวพันของผู้มาเยือนหรือผู้มาใหม่ สรุปด้วยความปรารถนาดีของเจ้าภาพหรือเจ้าของสถานที่ หากเป็นการเยี่ยมเยือนจงกล่าวอย่างมีความหวังว่าจะได้ต้อนรับการกลับมาของผู้มาเยี่ยมเยียนอีกใน

15 3. การกล่าวขอบคุณวิทยากร ข้อควรระวังอย่าพูดถึงความสำคัญของเรื่องยืดยาว พร้อมเชิญชวนให้ผู้ฟังร่วมปรบมือเป็นเกียรติแก่วิทยากร

16 การเขียนบทการกล่าวขอบคุณวิทยากร
* ผู้กล่าวขอบคุณจะบอกว่ากล่าวในนามใคร * กล่าวถึงความสำคัญของเรื่องที่พูดอย่างสั้น ๆ * เน้นประโยชน์ที่ผู้ฟังได้รับจากการฟังคราวนี้

17


ดาวน์โหลด ppt บทที่ 8 การเขียนประเภทอื่น ๆ เพื่อการประชาสัมพันธ์

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google