แบบประเมินความเข้มแข็ง ศอช.
สิ่งที่ต้องการวัด มี ๕ หมวด ๑. ความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่าย ๒. การทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางประสานการ ทำงานของกลุ่มองค์การสมาชิก ๓. มีความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาตำบล ๔. ความสามารถในการพัฒนากลุ่มองค์การสมาชิก ๕. ความสามารถในการพัฒนาผู้นำ
๑. ความสามารถในการบริหารจัดการเครือข่าย ๑.๑ ร้อยละของ คณะกรรมการบริหารเครือข่ายที่สามารถปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่ ๑.๒ จำนวนองค์การในตำบลที่เป็นสมาชิก ศอช. ๑.๓ ความชัดเจนครอบคลุมของแผนปฏิบัติการของ ศอช. ๑.๔ การกำหนดระเบียบกฎเกณฑ์และการปฏิบัติตามของสมาชิก ๑.๕ คณะกรรมการบริหาร ศอช มีการประเมินผลการปฏิบัติงานตาม แผนของ ศอช. และติดตามแผนขององค์การสมาชิกโดยการให้ คำแนะนำ พูดคุย ๑.๖ การมีกองทุนในการบริหารจัดการเครือข่าย
๒. การทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางประสานการทำงาน ของกลุ่มองค์การสมาชิก ๒. การทำหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางประสานการทำงาน ของกลุ่มองค์การสมาชิก ๒.๑ ความถูกต้องและเป็นปัจจุบันของทะเบียนข้อมูลของ ศอช.ต.เช่น ทะเบียนสมาชิก ข้อมูลกลุ่ม องค์กร ๒.๒ จำนวนครั้ง ศอช.ต. จัดประชุมองค์การสมาชิกร่วมกัน ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ๒.๓ จำนวนครั้งของการจัดเวทีประชาคม โดย ศอช.ต. ๒.๔ จำนวนหน่วยงาน / แหล่งทุน ที่ ศอช.ต. ประสาน ความร่วมมือและได้รับความร่วมมือ
๓. มีความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาตำบล ๓.๑ ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมที่เกิดจากการจัดเวที ประชาคม โดย ศอช.ต. และ อบต. นำไปบรรจุในแผน/ข้อบังคับของ อบต. ๓.๒ การกำหนดเป้าหมายในการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาของตำบล (มีเป้าหมาย ชัดเจนทั้งเรื่องที่จะดำเนินการและระยะเวลาที่จะต้องดำเนินการ) ๓.๓ จำนวนโครงการ /กิจกรรมที่ ศอช. จะดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย การแก้ปัญหาของตำบลตามที่วางไว้ ๓.๔ จำนวนปัญหาในชุมชนที่สามารถแก้ปัญหาได้ตามเป้าหมาย ๓.๕ จำนวนกองทุนในชุมชนที่ ศอช.ต.ดำเนินการให้มีการบริหารจัดการร่วมกัน ในลักษณะเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชน
๔. ความสามารถในการพัฒนากลุ่มองค์การสมาชิก ๔.๑ จำนวนครั้งที่ ศอช.จัดให้มีการให้ความรู้แก่องค์การสมาชิก ๔.๒ จำนวนครั้งที่ ศอช.ต.ให้คำแนะนำช่วยเหลือองค์การสมาชิก เช่น เรื่อง การประชุม การจัดทำบัญชี การจัดทำข้อมูล ๔.๓ จำนวนองค์การสมาชิกที่ ศอช.ต.ให้การช่วยเหลือ เช่น การประสาน งบประมาณสนับสนุน การติดต่อตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ๔.๔ จำนวนโครงการกิจกรรมที่องค์การสมาชิก ศอช.ต. ดำเนินการ ร่วมกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๕. ความสามารถในการพัฒนาผู้นำ ๕.๑ ร้อยละของผู้นำ ศอช.ต. ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการในหน่วยงาน หรือองค์การต่าง ๆ เช่น อบต. กรรมการเลือกตั้งองค์การชุมชน ๕.๒ ร้อยละของผู้นำ ศอช.ต. ไปร่วมประชุม อบรมสัมมนา ในโครงการต่าง ๆ ๕.๓ ร้อยละของผู้นำ ศอช.ต. ที่สามารถเป็นแกนนำในการจัดเวทีประชาคม การนำชุมชน ๕.๔ ร้อยละของผู้นำ ศอช.ต. ที่ได้รับการยกย่อง ชมเชย หรือได้รับรางวัล
การพัฒนา ศอช.ต. แบ่งเป็น ๓ ระดับ ค่าคะแนนระหว่าง ๕๖ – ๖๙ คะแนน อยู่ในระดับ ๓ = เข้มแข็ง ค่าคะแนนระหว่าง ๔๒ – ๕๕ คะแนน อยู่ในระดับ ๒ = ปานกลาง ค่าคะแนนระหว่าง ๑ – ๔๑ คะแนน อยู่ในระดับ ๑ = อ่อนแอ
ใบงาน ๑. ภารกิจที่สำคัญของคณะกรรมการศอช.ต. (มีอะไรบ้าง?) ๒. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ศอช.ต. (มีอะไรบ้าง ?) ๓. วิธีการแก้ปัญหาในการดำเนินงาน ศอช.ต. (ทำอย่างไร?) ๔. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน ศอช.ต. ๕. แผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน ศอช.ต.
จบการนำเสนอ