RAID (Redundant Array of Inexpensive Disks) By Jiraporn konkhayan 07490167 (IT)
RAID คืออะไร
RAID คืออะไร คือ เทคโนโลยีการนำ ฮาร์ดดิสก์ หลายๆ อันมาต่อเข้าด้วยกัน เพื่อให้มองเห็นเป็นอันเดียว เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น เพิ่ม ความน่าเชื่อถือของข้อมูล หรือเพิ่มประสิทธิภาพการอ่าน/เขียน ข้อมูล หลักการโดยรวมของ RAID คือ การสำเนาข้อมูล (mirroring) การแบ่งส่วนข้อมูล (striping) และการ แก้ไขความผิดพลาด (error correction)
RAID มีกี่ประเภท หากจะแบ่ง RAID ตามประเภทของการจัดการจัดเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีแล้วจะมีมากกว่า 10 ชนิด แต่ที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลาย จริงๆจะมีอยู่ราว 5 ชนิดคือ RAID-0, RAID-1, RAID-0+1, RAID-3 และ RAID-5 นอกจากนี้แล้วประเภทของ RAID ชนิดใหม่ที่กำลังได้ร ับ ความนิยม เพิ่มขึ้นในขณะนี้คือ RAID-30 และ RAID-50
RAID-0 เป็นการทำให้ความเร็วของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ซึ่งความเร็วในการเขียนและอ่านข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์จะเพิ่มตามจำนวนฮาร์ดดิสก์ที่นำมาใช้ ข้อมูลที่เราจัดเก็บลงไปในฮาร์ดดิสก์จะถูกแบ่งเป็นส่วนๆ
RAID-1 RAID 1 เป็นการทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงขึ้น คือ เมื่อเราจัดเก็บข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเหมือนกันและพร้อมกัน ถ้าข้อมูลเกิดการเสียหายที่ฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่ง ก็ยังสามารถใช้ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์อีกตัวได้
RAID-0+1 เป็นการนำ RAID 0 กับ RAID 1 มาใช้ร่วมกัน เพื่อให้ได้ทั้งความเร็วและความปลอดภัยไปพร้อม ๆ กัน ซึ่ง จะต้องใช้ฮาร์ดดิสก์ 4 ตัว โดยหลัก
RAID-3 RAID 3 เหมาะสำหรับใช้ในงานที่มีการส่งข้อมูลจำนวนมากๆ เช่นงานตัดต่อ Video
RAID-5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ และความสามารถในการป้องกันข้อมูลสูญหาย
ข้อดี จะทำให้ อัตราการโอนถ่ายข้อมูลสูงกว่าอัตราการโอนถ่าย ข้อมูล ฮาร์ดดิสต์ตัวเดี่ยวๆ สร้างความปลอดภัยให้ข้อมูล เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะไม่มีวัน สูญหาย ถ้าหากมีฮาร์ดดิสต์ ตัวใดตัวหนึ่งในอะเรย์ เสียอย่าง กะทันหัน เพิ่มความจุของระบบจัดเก็บข้อมูลต่อไดร์ฟได้อย่างไม่จำกัด
ข้อเสีย ราคาแพง การติดตั้งเป็นแบบกึ่งถาวร ต้องจัดการดูแลเป็นพิเศษ
Reference http://www.vcharkarn.com/vblog/35515/4 http://www.dld.go.th/ict/article/hard/hw22.html http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=1032 http://th.wikipedia.org/wiki/RAID http://www.overclockzone.com/spin9/raid/index.html