การพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้ E-Book รายวิชาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ผู้จัดทำวิจัย นายนิธิ สุขประสงค์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC)
ปัญหาการวิจัย ในสถานศึกษาที่มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนการสอนอย่างแพร่หลาย เพื่อส่งผลให้ผู้เรียนได้มีทักษะในการทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะสาขาวิชาที่เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ซึ่งตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อที่จะนำความรู้และทักษะนี้ไปใช้ในการออกแบบผลงานต่อไป โดยทั่วไปการที่จะให้นักศึกษาสามารถเข้าใจในบทเรียนขึ้นอยู่กับสื่อการเรียนการสอนเป็นหลัก การนำสื่อ E-Book นี้มาใช้ในการเรียนการสอนจะทำให้ผู้สอน และผู้เรียนได้สื่อสารได้ตรงประเด็นมากขึ้นและนวัตกรรมจะช่วยให้การศึกษา การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม
วัตถุประสงค์ ผู้วิจัยเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนโดยใช้ E-Book รายวิชาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ แผนกคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ซึ่งเป็นสื่อที่ใช้แนวคิดจากหนังสือเดิมที่พัฒนามาใหม่ โดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลักในการทำสื่อด้วย E-Book ทำให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิด เกิดความสนุกสนาน และทำให้รักในการอ่านหนังสือ ได้มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ผลการเรียนสูงขึ้นตามลำดับ วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาสื่อการสอน และการพัฒนาการเรียนการสอน รายวิชาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปีที่ 1 2. เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาเล็งความสำคัญในการอ่านมากยิ่งขึ้น 3. เพื่อศึกษาการทำโปรแกรม E-Book ให้เกิดความชำนาญ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้
ตาราง-ผังสรุป รายการ S.D ระดับ ด้านรูปแบบ E-Book 3.67 0.58 มาก 2. ความเข้าใจที่มีต่อการใช้ E-Book 4.48 0.51 3. ความแปลกใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ของ E-Book 4.62 0.50 มากที่สุด 4. ความทันสมัยของ E-Book รวมด้านรูปแบบ E-Book 4.35 0.52 ด้านผู้สอน 5. ความเหมาะสมของเวลาที่ผู้สอนเลือกนำมาใช้ 4.29 0.46 6. ความชัดเจนในการอธิบายการใช้ E-Book ของผู้สอน 0.60 7. ความคุ้มค่าในการนำ E-Book มาใช้ของผู้สอน รวมด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน 8. ความรู้เกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ ที่ได้จาก E-Book 4.67 0.48 9. ความสนุกสนาน ความน่าสนใจที่ได้จาก E-Book 4.57 0.68 10. ระดับคุณภาพของ E-Book ที่มีต่อการเรียน 4.33 รวมด้านผู้เรียน 4.52 0.54 ภาพรวม 88.00
สรุปผลวิจัย นักศึกษาเข้าใจแนวคิด เกิดความสนุกสนาน และทำให้รักในการอ่านหนังสือ ได้มากขึ้น คาดว่าจะส่งผลให้ผลการเรียนสูงขึ้นตามลำดับ นักศึกษาเล็งความสำคัญในการอ่านมากยิ่งขึ้น และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนได้ 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม 3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ 5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน 6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถ
ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย 1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจและสร้างความคิดรวบยอดในเรื่องที่เรียนได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น 2. ช่วยให้ผู้เรียนมองเห็นสิ่งที่กำลังเรียนรู้ได้อย่างเป็นรูปธรรม 3. ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง 4. สร้างสภาพแวดล้อมและประสบการณ์การเรียนรู้ที่แปลกใหม่ 5. ส่งเสริมการมีกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เรียน 6. เกื้อหนุนผู้เรียนที่มีความสนใจและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่างกันให้สามารถ