ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี ดร.วันเพ็ญ ผ่องกาย 22 เม.ย. 52
1.ปัญหาและ วัตถุประสงค์การวิจัย
1.1 ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องชัดเจน กะทัดรัด ไม่กำกวม สื่อความหมายได้ดี กำหนดขอบเขตชัดเจน (รู้ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน เมื่อใด) บอกความ สัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ภาษาที่ ใช้สื่อความหมายได้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ สมมติฐาน ปัญหาวิจัย
1.2หลักการและความเป็นมา สอดคล้องกับปัญหา มีความชัดเจน สรุปสาระถึง ความเป็นมาของปัญหาว่ามีเหตุผลอะไรจึงทำวิจัยเรื่องนี้ ความจำเป็นที่ต้องแก้ปัญหา มีหลักฐานหรือข้อมูลยืนยันถึงแหล่งที่มา ของปัญหาน่าเชื่อถือ
1.3แนวคิด หลักการ ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัย 1.3แนวคิด หลักการ ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัย ระบุแนวคิด หลักการ ทฤษฎี กรอบแนวคิด การวิจัยอย่างเหมาะสม มีการอ้างอิงแหล่งที่มา และมีการใช้แนวทางใหม่ที่นำไปสู่ผลที่ต้องการได้จริง
1.4 วัตถุประสงค์การวิจัย สอดคล้องกับชื่อเรื่องการวิจัย ความเป็นมา ปัญหาของการวิจัย ตอบคำถามของการวิจัยได้ครอบคลุมในทุกประเด็น ใช้ภาษากระชับ ชัดเจน
2. ระเบียบวิธีวิจัย
2.1แบบแผนการวิจัย ออกแบบ ระบุประเภท หรือแบบแผนการวิจัย ได้เหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย แบบแผนการวิจัย สะท้อนถึงกระบวนการวิจัยเป็นวงจรอย่างต่อเนื่อง
2.2 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมาย 2.2 ประชากร กลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมาย มีการระบุประชากร กลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยอย่างชัดเจน ระบุวิธีการ ได้มาของกลุ่มตัวอย่างเหมาะสม
2.3 ตัวแปร สิ่งที่ต้องการศึกษาเป็นเรื่องใหม่ ระบุได้ชัดเจน สอดคล้องกับปัญหาวิจัย และวัตถุประสงค์การวิจัย
2.4 เครื่องมือวิจัย ระบุว่าใช้เครื่องมืออะไรในการวิจัย ระบุกระบวนการสร้าง และการหาคุณภาพของ เครื่องมือ เครื่องมือผ่านการทดลองใช้ปรับปรุง และมีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนถูกต้อง ตามหลักวิชาการ
2.5 การเก็บรวบรวมข้อมูล ระบุขั้นตอนการวิจัยครบถ้วนและละเอียด มีวิธีการเก็บรวบรวมเป็นระบบ ชัดเจน แหล่งข้อมูล สัมพันธ์กับเรื่องวิจัย ข้อมูลที่จัดเก็บมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ
2.6 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีการที่เหมาะสมกับข้อมูลที่มี ทำให้ได้ ข้อค้นพบที่แท้จริง ตอบปัญหาการวิจัยและวัตถุประสงค์ได้ครบ ถูกต้อง และลึกซึ้ง บอกวิธีการวิเคราะห์ เลือกใช้สถิติในการวิเคราะห์ได้เหมาะสม กับลักษณะของข้อมูล
2.7 การสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยได้จากข้อมูลจริงที่สอดคล้อง และครอบคลุมกับวัตถุประสงค์การวิจัย สรุปผล ตามข้อเท็จจริงจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นลำดับขั้นตอน ข้อมูลการวิจัยมีการวิเคราะห์ แสดงความคิดเห็น ต่อผลการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง ที่ทำวิจัย
3. การนำผลการวิจัย ไปใช้
3.1 การนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ตามกลุ่มเป้าหมาย 3.1 การนำไปใช้ในการแก้ปัญหา ตามกลุ่มเป้าหมาย สามารถแก้ปัญหาได้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุม และทันเวลา สามารถเป็นแบบอย่างกรณีศึกษา ที่จะใช้แก้ปัญหาในลักษณะเดียวกัน
3.2 การนำไปใช้ในทางวิชาการ 3.2 การนำไปใช้ในทางวิชาการ เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำไปใช้ในทางวิชาการ สามารถเผยแพร่เป็นแบบอย่าง ในวงการทางวิชาการได้
ขอบพระคุณ