ผู้วิจัย นาง นิภารัตน์ ทองโคตร กลุ่มวิชาพื้นฐาน วิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบบันทึกข้อตกลง(MOU)โดยใช้สัญญาการเรียนของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1/2สาขาพณิชยการ ปีการศึกษา 2556 ผู้วิจัย นาง นิภารัตน์ ทองโคตร กลุ่มวิชาพื้นฐาน
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ทำให้ทราบถึงด้านพฤติกรรมการเรียน เมื่อนักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เป็นผู้ที่มีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบ จะทำให้นักเรียนสนใจเรียนและมีความขยันอดทน มีแรงจูงใจทำให้มีผลการเรียนดีขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอน และครูทุกท่านที่จะนำมาเสริมสร้าง พัฒนานักเรียนให้มีคุณค่ามีคุณประโยชน์ต่อครอบครัว โรงเรียน สังคมและประเทศชาติต่อไป
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบ ของนักศึกษา ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1/2 สาขาพณิชยการ ปีการศึกษา 2556 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1. นักศึกษาเกิดความตื่นตัวในการเข้าชั้นเรียนตรงเวลามากขึ้น 2. การเรียนการสอนภายในชั้นเรียนไม่หยุดเกิดความต่อเนื่อง
ขอบเขตการวิจัย 1. ประชากร นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1/2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร 2. กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1/2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ จำนวน 43 คน 3. ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ คือ พฤติกรรมด้านวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ วินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ แรงจูงใจในการ เรียน ตัวแปรตาม คือ พฤติกรรมด้านความมีวินัยในตนเอง 4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 5. สถานที่ในการวิจัย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ กรุงเทพมหานคร
คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนี้ 1. การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 2. การใช้ตัวเสริมแรง ได้แก่ ยิ้มแย้ม การชมเชยจากครู คะแนน 3. การใช้บทเรียนสำเร็จรูป สมมติฐานการวิจัย การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของนักศึกษา ทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพภาพด้านพฤติกรรมและการเรียนให้ดีขึ้น คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย ความมีวินัยในตนเอง หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามกฎระเบียบและไม่ทำผิดต่อกฎระเบียบในการเป็น นักเรียน ความรับผิดชอบ หมายถึง ความมุ่งมั่นของนักเรียนที่จะงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี และ ตั้งใจ เรียน อย่างเต็มความสามารถ แรงจูงใจในการเรียน หมายถึง การแสดงพฤติกรรมเมื่อถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้า เช่น คำชมเชย การให้รางวัล ฯลฯ แล้ว สามารถประพฤติตนได้บรรลุเป้าหมายโดยการเรียนรู้ของแต่ละคน
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการจัดทำงานวิจัย มีดังนี้ จิตวิทยาการศึกษา เจตคติ (Attitude) ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำของสกินเนอร์
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมนี้ 1. การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 2. การใช้ตัวเสริมแรง ได้แก่ ยิ้มแย้ม การชมเชยจากครู คะแนน 3. การใช้บทเรียนสำเร็จรูป
เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลการทำวิจัย แบบสังเกต แบบสอบถาม 3. สัญญาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนให้มีวินัยและความรับผิดชอบ
วิธีการดำเนินการทำวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนในการวิจัยไว้ดังนี้ 1. ศึกษาหลักการ ทฤษฏีจิตวิทยาการศึกษา เจตคติ (Attitude) ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีการเรียนรู้ แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำของสกินเนอร์ ลักษณะด้านวินัยในห้องเรียน ความขยันอดทน และ ความรับผิดชอบ 2. กำหนดกรอบความคิดในการวิจัย เพื่อทำการศึกษาความมีวินัยในตนเอง ความรับผิดชอบ 3. กำหนดวัตถุประสงค์ 4. กำหนดกลุ่มประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ได้กำหนดกลุ่มประชากร 5. สร้างเครื่องมือการวิจัย โดยผู้วิจัยศึกษาจากหลักการ ทฤษฎี แนวคิด วัตถุประสงค์
จบการนำเสนอค่ะ