อาจารย์ชนิศา แจ้งอรุณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทย ในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 3 สำหรับผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 3/1 สาขางานการขาย โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงก่อนเรียนและหลังเรียน อาจารย์ชนิศา แจ้งอรุณ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์
ที่มาและความสำคัญของปัญหา ภาษาไทยเป็นภาษาและเอกลักษณ์ประจำชาติไทย ผู้เรียนมีปัญหาการอ่านออกเสียงที่ผิดพลาด เกิดจากปัจจัยต่างๆ เช่น ขาดความสนใจ ขาดทักษะการอ่านที่ดี มีสื่อเทคโนโลยีอื่นๆ ที่น่าสนใจกว่า การฝึกฝนทักษะการอ่านออกเสียงที่ถูกต้องจะทำให้ผู้เรียนมีทักษะการอ่านที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อฝึกฝนและพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียง ของผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 / 1 สาขางานการขาย วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ ฯ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย ผู้เรียนมีทักษะการอ่านออกเสียงในภาษาไทยสูงขึ้น
นวัตกรรมที่ใช้ในการแก้ปัญหา แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงก่อนเรียน แบบทฝึกทักษะการอ่านออกเสียงหลังเรียน แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงในภาษาไทย ประกอบด้วย - แบบฝึกการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร จำนวน 2 แบบฝึก - แบบฝึกการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ล จำนวน 2 แบบฝึก - แบบฝึกการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ว จำนวน 2 แบบฝึก - แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงก่อนเรียน จำนวน 1 ชุด - แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงหลังเรียน จำนวน 1 ชุด
ออกเสียงของผู้เรียนสูงขึ้น สมมติฐานการวิจัย การใช้แบบฝึกการอ่านออกเสียง มีผลทำให้นักศึกษามีพัฒนาการ ในการอ่านออกเสียงที่ดีขึ้น กรอบแนวคิดการวิจัย แบบฝึกการอ่าน ออกเสียงภาษาไทย ความสามารถในการอ่าน ออกเสียงของผู้เรียนสูงขึ้น
วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรคือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยอาชีวศึกษาสันติราษฎร์ ในพระอุปถัมภ์ ฯ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3/1 สาขางานการขาย จำนวน 36 คน โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำในภาษาไทย จำนวน 2 ชุด โดย แบบฝึกชุดที่ 1 เป็นแบบทดสอบการอ่านออกเสียงก่อนเรียน และแบบฝึกชุดที่ 2 เป็นแบบทดสอบการอ่านออกเสียงหลังเรียน ในแต่ละชุดจะมีประโยคที่มีคำที่ใช้ฝึกการอ่านออกเสียง เช่น คำที่มี ร , ล , ว และคำควบกล้ำ จำนวนแบบฝึกละ 50 คำ
การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติที่ใช้ ข้อมูลที่ต้องการวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบผลการอ่านออกเสียงก่อนเรียนกับหลังเรียน เทียบค่าเป็นร้อยละ สถิติที่ใช้ โดยการเปรียบเทียบผลการฝึกปฏิบัติ จำนวน 2 ครั้ง และคิดค่าสถิติเปรียบเทียบเป็นเป็นร้อยละ เพื่อหาผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงก่อนเรียนและหลังเรียน
สรุปผลวิจัย จากการศึกษาเปรียบเทียบผลการอ่านออกเสียงของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น ปีที่ 3/1 สาขางานการขาย จำนวน 36 คน ในรายวิชาภาษาไทยเพื่ออาชีพ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง ผลการศึกษาก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 49.06 หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.17 ความก้าวหน้าร้อยละ 34.11 แสดงว่าผลการทดสอบหลังเรียนในการอ่านออกเสียงของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียน
ตารางเปรียบเทียบผลการวิจัย ก่อนเรียน หลังเรียน ระดับคะแนน จำนวน(คน) ร้อยละ 11-15 1 2.78 16-20 10 27.78 21-25 12 33.33 26-30 8 22.22 31-35 3 8.33 36-40 2 5.56 41-45 - 46-50 36 100 ระดับคะแนน จำนวน(คน) ร้อยละ 11-15 - 16-20 21-25 26-30 3 8.33 31-35 2 5.56 36-40 9 25.00 41-45 15 41.67 46-50 7 19.44 36 100
ข้อเสนอแนะการทำวิจัย ผลการวิจัยสามารถนำ ไปใช้กับผู้เรียนที่มีปัญหาในด้านการอ่านออกเสียงในภาษาไทยและควรปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการที่จะพัฒนาทักษะในการอ่าน การพัฒนาทักษะการอ่านควรใช้ควบคู่กับทักษะอื่นๆ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรพิจารราถึงความเหมาะสมด้านเวลา ควรมีการสร้างสื่อที่พัฒนาด้านการอ่านทางภาษาไทย โดยใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีที่น่าสนใจ ใช้งานง่าย
ขอบคุณค่ะ