กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ, งานระบาดวิทยา,EPI, งานทันตะฯ ด้วยสองมือ... ของพวกเรา... ร่วมสร้าง
สถานการณ์โรคไข้เลือดออกอำเภอป่าติ้ว ( ข้อมูล ณ วันที่ 8 กันยายน 2554)
DF 5 ราย DHF 10 ราย DSS 3 ราย - ล่าสุด พบ ผู้ป่วย DHF อายุ 5 ปี ที่หมู่ 4 บ้านศรี ฐาน วันที่ 29 สิงหาคม 54 เข้าสู่ Generation 2 คือพบผู้รายแรกและรายที่ 2 ในช่วงระยะฟักตัว พบผู้ป่วยไข้เลือดออก 18 ราย
ผลการดำเนินงานวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตาม ฤดูกาล ประจำปี 2554 อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร
ผลการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ประจำปี 2554 จังหวัดยโสธร (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554) (%)
สรุปผลการคีย์ข้อมูลวัคซีนราย รพ. สต. อำเภอป่าติ้ว (ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2554) (%) ที่มา: FrmLogin.action
งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้บริการงานสร้าง เสริมภูมิคุ้มกันโรค ด้วยระบบลูกโซ่ความเย็น สำหรับบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการ อำเภอป่าติ้ว ประจำปี 2554
คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ อำเภอป่าติ้ว จะ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการ ปี 2554 เพื่อพัฒนาความรู้และฟื้นฟู ทักษะในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตั้งแต่เรื่องความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน การประมาณการวัคซีน เพื่อให้บริการ การจัดทำทะเบียนบริการวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็น รวมทั้งใช้ Data logger ก การเตรียมการและการให้บริการวัคซีน จนถึง การบริหารจัดการเมื่อมีอาการภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค โดย ผลจากการจัดโครงการนี้มุ่งหวังให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานให้ภูมิคุ้มกันโรคใน สถานบริการต่าง ๆ มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการสร้างเสริม ภูมิคุ้มกันโรค และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐาน และมีประสิทธิภาพ เกิดคุณภาพในการบริการต่อไป
ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย - พยาบาล นักวิชาการและบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ระดับ รพ. สต. เจ้าหน้าที่สสอ. และเจ้าหน้าที่รพ. ป่า ติ้ว จำนวน 50 คน - พยาบาล นักวิชาการและบุคลากรสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานให้บริการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ระดับ รพ. สต. เจ้าหน้าที่สสอ. และเจ้าหน้าที่รพ. ป่า ติ้ว จำนวน 50 คน
ระยะเวลา / สถานที่ วันศุกร์ที่ 23 กันยายน 2554 เวลา – น. ณ ห้องประชุมมณีเมฆขลา โรงพยาบาล ป่าติ้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ปฏิบัติงานสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ตามมาตรฐานที่กำหนด 2. เกิดเครือข่ายการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 3. ประชาชนผู้มารับบริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีความพึงพอใจต่อการ ได้รับบริการ และได้รับ บริการที่มีคุณภาพถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนด 4. ลดอัตราป่วยและอัตราตายด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน และ สามารถป้องกันไม่ให้โรคติดต่อกลับมาระบาดใหม่ 5. พัฒนารูปแบบการอบรมฝึกทักษะในงานด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แก่บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ขอบคุณครับ