การใช้ฝุ่นจากกระบวนการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อผลิตแอลกอฮอล์ อ.ดร. นพพล เล็กสวัสดิ์ อ. สุภเวท มานิยม ภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทีมงานวิจัย นักศึกษา นายเอกรักษ์ สำราญถิ่น นักศึกษา นายเอกรักษ์ สำราญถิ่น อาจารย์พี่เลี้ยง อ.ดร.นพพล เล็กสวัสดิ์ อ.สุภเวท มานิยม ผู้ประสานงานโรงงาน คุณสิทธา จงศิริการค้า
ที่มาของแนวคิดวิจัย จากผลการตรวจประเมินโรงงาน พบว่าฝุ่นจากกระบวนการผลิตเป็นปัญหาสำคัญของโรงงาน ที่ลดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร แนวทางแก้ไขปัญหาที่แนะนำทางโรงงาน เปลี่ยนใบมีดเครื่องบดแบบค้อนเพื่อลดเวลาการบด ทำให้เกิดฝุ่นน้อยลง ทำเครื่องดูดฝุ่นและเปลี่ยนถุงเก็บฝุ่น แล้วนำฝุ่นผสมกลับเข้าไปใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีฝุ่นในถุงเก็บฝุ่น ที่ไม่อาจนำกลับไปผสมกับอาหารสัตว์ได้ เพราะอาจหมดอายุแล้ว จึงควรหาวิธีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แทนที่จะฝังกลบหรือเผาทำลาย
ที่มาของแนวคิดวิจัย (ต่อ) ปัญหาน้ำมันเชื้อเพลิงราคาแพงในปัจจุบัน ทำให้ต้องหาทางเลือกใหม่ในการหาแหล่งพลังงานทดแทน ต้องการทราบสัดส่วนปริมาณของ คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, โปรตีน, พลังงาน ของฝุ่นที่เก็บได้ จาก proximate analysis เพื่อพิจารณาว่าเหมาะสมในการผสมกลับเข้าไปในสูตรอาหารหรือไม่ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของภาควิชาฯ เคยดำเนินการศึกษาการผลิตแอลกอฮอล์จากลำไยอบแห้งที่หมดอายุ พบระดับการผลิตที่ 5-6% (v/v) การเปลี่ยนสารตั้งต้นใหม่เป็นฝุ่นจากการผลิตอาหารสัตว์ จะเป็นข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อวิเคราะห์ฝุ่นที่เก็บได้ว่ามีสัดส่วนสารอาหารเท่าใด เพื่อใช้กลุ่มของเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถผลิตเอนไซม์อะไมเลส, ไซลาเนส หรือเซลลูเลส มาช่วยย่อยสลายฝุ่นให้ได้น้ำตาลและเปปไตด์โมเลกุลเล็ก ที่จุลินทรีย์ผลิตแอลกอฮอล์นำไปใช้ได้ เพื่อเปรียบเทียบการย่อยสลายฝุ่นด้วยเชื้อจุลินทรีย์กับกรดเข้มข้น ในแง่ประสิทธิภาพการผลิตแอลกอฮอล์และความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อวิเคราะห์แอลกอฮอล์ที่ผลิตได้ว่าประกอบไปด้วยสัดส่วนของแอลกอฮอล์โมเลกุลเล็ก เช่น เอทานอล, ไอโซโพรพานอล หรือบิวทานอล และกรดอินทรีย์ เช่น กรดโพรพาโนอิก และบิวทาโนอิก เท่าใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อนำมวลชีวภาพของจุลินทรีย์ผลิตแอลกอฮอล์ที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการผลิต R-phenylacetylcarbinol (PAC) ที่ใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตเอฟรีดริน (ephedrine) และซูโดเอฟรีดริน (pseudoephedrine) ที่ใช้บรรเทาอาการหืดและอาการคัดจมูก จาก กรดไพรูวิก (pyruvic acid) และเบนซาลดีไฮด์ (benzaldehyde) เพื่อสร้างมูลค่าให้กับสิ่งไร้ค่า เป็นทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มรายได้ของโรงงาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ทราบสัดส่วนสารอาหารในฝุ่นที่เก็บได้ สามารถผลิตน้ำตาลและเปปไตด์โมเลกุลเล็กจากฝุ่นที่เก็บได้และนำไปใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตแอลกอฮอล์ได้ ได้ข้อมูลเปรียบเทียบการย่อยสลายฝุ่นด้วยเชื้อจุลินทรีย์กับกรดเข้มข้น ในแง่ประสิทธิภาพการผลิตแอลกอฮอล์และความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ทราบสัดส่วนของแอลกอฮอล์และกรดอินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่ผลิตได้ ได้ข้อมูลระดับการผลิต PAC จากมวลชีวภาพ โรงงานมีรายได้เสริมจากการผลิตแอลกอฮอล์และมวลชีวภาพ