ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ การแก้ไขปัญหาการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงตามเวลาเรียน ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ของวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ อาจารย์ปทิตตา บุญนาค
ปัญหาการวิจัย การเข้าห้องเรียนไม่ตรงตามเวลา กรณีมีนักเรียนเข้าห้องเรียนสายจะชวนเพื่อนคุยและสอบถามข้อมูลจากเพื่อน วัตถุประสงค์ 1. เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมการเข้าเรียนของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 2. เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเข้าเรียนของ วิชาวิถีธรรมวิถีไทย
ผลการวิจัย 1. นักเรียนตระหนักเห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย กระทำในสิ่งต่าง ๆ ด้วยความตั้งใจและพยายามทำให้ถึงที่สุด 2. การใส่ใจของครูผู้สอนส่งผลให้การเรียนของนักเรียนมีความสุขและเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนอยากเข้าห้องเรียน รวมถึงบทบาทของครูผู้สอนใช้คำพูดที่สุภาพ ในลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัย แสดงบทบาทด้วยการกระทำที่เป็นแบบอย่างที่ดีได้อย่างเหมาะสม จึงเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้เรียนกระตือรือร้นที่อยากเข้าห้องเรียนให้ตรงเวลา
3. บรรยากาศในชั้นเรียนเต็มไปด้วยความอบอุ่น ความเห็นอกเห็นใจ และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกันและกัน จึงเป็นแรงจูงใจภายนอกที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรักการเรียน รักการอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน และช่วยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความประพฤติอันดีงามให้แก่นักเรียน นอกจากนี้การมีห้องเรียนที่มีบรรยากาศแจ่มใส สะอาด สว่าง กว้างขวางพอเหมาะ มีโต๊ะเก้าอี้ที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีมุมวิชาการส่งเสริมความรู้ มีการตกแต่งห้องให้สดใส ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้เรียนพอใจมาวิทยาลัย เข้าห้องเรียนและพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) แบบสรุปการวิเคราะห์ประเมินการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงตามเวลา วิชาวิถีธรรมวิถีไทย ระดับชั้น ปวช. 1 ภาคเรียน 1/2554 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ปทิตตา บุญนาค ครั้ง/ขาด ยอดเต็ม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 นักเรียน 45 35 เปอร์เซ็นต์ 100.00 77.78 4.44 2.22 0.00 6.67
วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ (SBAC) แบบสรุปการวิเคราะห์ประเมินการเข้าชั้นเรียนไม่ตรงตามเวลา วิชาวิถีธรรมวิถีไทย ระดับชั้น ปวช. 1 ภาคเรียน 2/2554 อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ปทิตตา บุญนาค ครั้ง/ขาด ยอดเต็ม 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 นักเรียน 45 41 เปอร์เซ็นต์ 100.00 91.11 2.22 4.44 0.00