สัลลาปังคพิไสย
ประเภทของรสในวรรณคดี เสาวรจนี คือการกล่าวชมความงามของตัวละคร นารีปราโมทย์ คือการกล่าวแสดงความรักในการพบกันระยะแรกๆ พิโรธวาทัง คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์ไม่พอใจ สัลลาปังคพิไสย
สัลลาปังคพิไสย สัลล น. ความโศกโศกาเศร้าร่ำน้ำตานอง การ ครวญคร่ำรำพันรำพึง สัลลาป น. การพูดจากัน องค์ น. บท, ชิ้น อัน, ตัว พิไสย น. ความ สามารถ
ดังนั้น สัลลาปังคพิไสย จึงเป็นรสวรรณคดีที่ใช้การกล่าวแสดงอารมณ์โศกเศร้าที่เกิดจากความทุกข์อันเนื่องมาจากความไม่สมหวังความผิดหวัง ความสูญเสีย ตลอดจนเรื่องของการพลัดพรากจากคนรัก พบมากในนิราศ และในวรรณกรรมนิทาน-นิยาย
ตัวอย่างการใช้รสวรรณคดี สัลลาคปังพิสัย สุนทรภู่คร่ำครวญถึงรัชกาลที่ 2 ซึ่งสวรรคตแล้ว เป็นเหตุให้สุนทรภู่ต้องตกระกำลำบาก เพราะไม่เป็นที่โปรดปรานของรัชกาลที่ 3 ต้องระเห็จเตร็ดเตร่ไปอาศัยในที่ต่างๆ ขณะล่องเรือผ่านพระราชวัง สุนทรภู่ซึ่งระลึกถึงความหลังก็คร่ำครวญ อาลัยถึงอดีตที่เคยรุ่งเรือง จากนิราศภูเขาทอง
เคยหมอบใกล้ได้กลิ่นสุคนธ์ตลบละอองอบรสรื่นชื่นนาสา สิ้นแผ่นดินสิ้นรสสุคนธา วาสนาเราก็สิ้นเหมือนกลิ่นสุคนธ์ (พระสุนทรโวหาร (ภู่))
ตัวอย่างการใช้รสวรรณคดี สัลลาปังคพิสัย(ต่อ) บทโศกของนางวันทองซึ่งคร่ำครวญอาลัยรักต้นไม้ในบ้านขุนช้าง อันแสดงให้เห็นว่านางไม่ต้องการติดตามขุนแผนไปแต่ก็ต้องไปเพราะขุนแผนร่ายมนตร์สะกด เห็นว่านางมัวร่ำไรลาต้นไม้ สิ่งของอยู่นั่นเอง จากเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี
ลำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว. ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี ลำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว ทั้งเกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี จะโรยร้างห่างสิ้นกลิ่นมาลี จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)
ตัวอย่างการใช้รสวรรณคดี สัลลาปังพิสัย(ต่อ) บทที่อิเหนากำลังชมนกชมไม้ระหว่างจะไปดาหา นึกถึงแต่นางทั้งสามที่ตนรัก อันได้แก่ จินตะหรา มาหยารัศมี และสการะวาตี
พลางทางชมคณานก โผนผกจับไม้อึงมี่ เบญจวรรณจับวัลย์ชาลี เหมือนวันพี่ไกลสามสุดามา นางนวลจับนางนวลนอน เหมือนพี่แนบนวลสมรจินตะหรา จากพรากจับจากจำนรรจา เหมือนจากนางสการะวาตี แขกเต้าจับเต่าร้างร้อง เหมือนร้างห้องมาหยารัศมี นกแก้วจับแก้วพาที เหมือนแก้วพี่ทั้งสามสั่งความมา
สมาชิกในกลุ่ม ๑.นางสาวตรัยรัตน์ อั้นเต้ง เลขที่ ๑ ๒.นางสาวภรณ์วลักษณ์ สินไชย เลขที่ ๖ ๓.นางสาวนัชชา จิตชาญวิชัย เลขที่ ๘ ๔.นางสาวธมนวรรณ ขวัญนุ้ย เลขที่ ๑๓ ๕.นายฐิติวัฒน์ ติ๊บจันทร์ เลขที่ ๑๕ ๖.นางสาวกชกร จีนหมิก เลขที่ ๑๗ ๗.นางสาวณัฏฐ์วรินทร์ วณิชชานนท์ เลขที่ ๑๘ ๘.นางสาวกานต์สินี ล่องแก้ว เลขที่ ๓๓ ๙.นางสาวกานต์กนก ล่องแก้ว เลขที่ ๓๔