งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

2 โคลงสี่สุภาพ ๑ บท กาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวน ขยายความต่อจากโคลงบทนั้น
รูปแบบคำประพันธ์ โคลงผสมกาพย์ โคลงสี่สุภาพ ๑ บท กาพย์ยานี ๑๑ ไม่จำกัดจำนวน ขยายความต่อจากโคลงบทนั้น

3 ที่มาของเรื่อง รัชกาลที่ ๒ ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์เห่นี้
เพื่อเป็นการชมฝีพระหัตถ์ในการแต่งเครื่องเสวยของ สมเด็จพระสุริเยนทราบรมราชินี เมื่อครั้งยังทรงเป็นสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ ในรัชกาลที่ ๑

4 เสด็จประพาสทางชลมารค
จุดประสงค์ในการแต่ง เพื่อใช้เห่เรือเวลา เสด็จประพาสทางชลมารค เป็นการส่วนพระองค์

5 เนื้อเรื่องย่อ กล่าวถึงอาหารคาว ๑๖ ชนิดด้วยกัน คือ
กล่าวถึงอาหารคาว ๑๖ ชนิดด้วยกัน คือ แกงมัสมั่นไก่ ยำใหญ่ ตับเหล็กลวก หมูแนม ก้อยกุ้ง แกงเทโพ น้ำยา แกงอ่อม ข้าวหุงด้วยเครื่องเทศ

6 เนื้อเรื่องย่อ แกงคั่วส้มหมูป่าใส่ระกำ พล่าเนื้อสด ล่าเตียง
แกงคั่วส้มหมูป่าใส่ระกำ พล่าเนื้อสด ล่าเตียง หรุ่ม รังนกนึ่ง ไตปลา แสร้งว่า และผักเครื่องจิ้ม ได้แก่ ใบโศก ผักโฉม ผักหวาน

7 กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน
แกงไก่มัสมั่นเนื้อ นพคุณ พี่เอย หอมยี่หร่ารสฉุน เฉียบร้อน ชายใดบริโภคภุญช์ พิศวาส หวังนา แรงอยากยกหัตถ์ข้อน อกให้หวนแสวง

8 ถอดความ แกงมัสมั่นไก่เนื้อไก่เป็นสีเหลืองทอง
ขณะร้อนๆ หอมกลิ่นยี่หร่ามาก ชายใดได้ ลิ้มรสแล้วต้องยกมือทุบอก เพราะอยาก รับประทานอีก ภุญช์ = รับประทาน ข้อน = ทุบ, ตี

9 มัสมั่นไก่ มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง
มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา

10 ถอดความ แกงมัสมั่นไก่ ฝีมือของนางมีกลิ่นหอมยี่หร่ามาก ชายใดได้ลิ้มรสแล้วก็อยากจะรับประทานอีก

11 ยำใหญ่ ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา
ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ

12 ถอดความ ยำใหญ่ใสเครื่องปรุงหลายอย่าง นางนำมาจัดใส่จานอย่างสวยงาม รสชาติดีเพราะปรุงด้วยน้ำปลาญี่ปุ่น

13 ตับเหล็กลวก ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย
ตับเหล็กลวกหล่อนต้ม เจือน้ำส้มโรยพริกไทย โอชาจะหาไหน ไม่มีเทียบเปรียบมือนาง

14 ถอดความ ตับเหล็กลวก นางลวกแล้วใส่น้ำส้มและโรยพริกไทย อร่อยมาก ไม่มีใครทำได้อร่อยเท่ากับนางอีกแล้ว ตับเหล็ก = ม้ามของหมู โอชา = อร่อย

15 หมูแนม หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง
หมูแนมแหลมเลิศรส พร้อมพริกสดใบทองหลาง พิศห่อเห็นรางชาง ห่างห่อหวนป่วนใจโหย

16 ถอดความ (อาหารว่าง) รางชาง = สวยงาม
หมูแนม รสชาติดี กินกับพริกสดและใบทองหลาง นางห่อมาเป็นคำๆ สวยงามมาก ทำให้คิดถึงนางยิ่งขึ้น (อาหารว่าง) รางชาง = สวยงาม

17 ก้อยกุ้ง ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย
ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ

18 ถอดความ ก้อยกุ้งปรุงกลิ่นจนหอมเมื่อรับประทาน
เข้าไปแล้วราวกับอาหารทิพย์ใครก็ทำได้ ไม่เท่าฝีมือนาง(อาหารประเภทเครื่องจิ้ม) ประทิ่น = เครื่องหอม

19 แกงเทโพ เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน
เทโพพื้นเนื้อท้อง เป็นมันย่องล่องลอยมัน น่าซดรสครามครัน ของสวรรค์เสวยรมย์

20 ถอดความ แกงปลาเทโพ จะเห็นเนื้อปลาเป็นมันลอยขึ้นมาน่ารับประทานเมื่อลิ้มรสชาติแล้วมีความสุขเหมือนอาหารสวรรค์

21 น้ำยา ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม
ความรักยักเปลี่ยนท่า ทำน้ำยาอย่างแกงขม กลอ่อมกล่อมเกลี้ยงกลม ชมไม่วายคลับคล้ายเห็น

22 ถอดความ ด้วยความรักที่นางมีต่อกวี นางจึงทำน้ำยาและเครื่องเคียงที่กินกับขนมจีนน้ำยา ซึ่งเรียกว่า แกงขม แกงอ่อม คือ แกงมะระใส่ปลาดุกที่ นางทำรสชาติกลมกล่อมดี เมื่อได้กินแกงแล้วอยากเห็นหน้าคนทำ

23 ข้าวหุงด้วยเครื่องเทศ
ข้าวหุงปรุงอย่างเทศ รสพิเศษใส่ลูกเอ็น ใครหุงปรุงไม่เป็น เช่นเชิงมิตรประดิษฐ์ทำ

24 ถอดความ ข้าวหุงแบบแขก ทำแบบพิเศษรสอร่อยใส่ลูกกระวานด้วย ไม่มีใครหุงได้อร่อยเท่ากับนางอีกแล้ว ลูกเอ็น = ลูกกระวาน

25 แกงคั่วส้มหมูป่าใส่ระกำ
เหลือรู้หมูป่าต้ม แกงคั่วส้มใส่ระกำ รอยแจ้งแห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้าเจ้าตรากตรอม

26 ถอดความ แกงคั่วส้มหมูป่า นางใส่ระกำเพื่อให้มีรสเปรี้ยว แฝงไว้ซึ่งความในใจว่า นางมีความทุกข์ระทมอยู่ในขณะนี้ ความขำ = ความลับระหว่างกวีกับนาง

27 พล่าเนื้อสด ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม
ช้าช้าพล่าเนื้อสด ฟุ้งปรากฏรสหื่นหอม คิดความยามถนอม สนิทเนื้อเจือเสาวคนธ์

28 ถอดความ พล่าเนื้อ มีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ทำให้กวีนึกไปถึงกลิ่นตัวของนางยาม ที่อยู่ใกล้ชิดกัน

29 ล่าเตียง ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน
ล่าเตียงคิดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลอยากนิทรคิดแนบนอน

30 ถอดความ เมืองบน = เมืองฟ้า เมืองสวรรค์
เมื่อเห็น ล่าเตียง ทำให้กวีนึกถึงเตียงที่นางนอน ทำให้อยากนอนร่วมเตียงกับนางอีกครั้ง(อาหารว่าง) เมืองบน = เมืองฟ้า เมืองสวรรค์

31 หรุ่ม เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน
เห็นหรุ่มรุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้าคือไฟฟอน เจ็บไกลใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่มกลุ้มกลางทรวง

32 ถอดความ เมื่อเห็น หรุ่ม ทำให้กวีต้องเศร้าโศกและร้อนใจเหมือนไฟสุมใจ เพราะอยู่ไกลกันทำให้คิดถึงนางมากจึงรู้สึกร้อนรุ่มอยู่ในอก(อาหารว่าง) ไฟฟอน = กองไฟที่ดับแล้วแต่ยังมีความร้อนระอุอยู่

33 รังนก รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง
รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน

34 ถอดความ รังนกนึ่ง น่าซด รสชาติอร่อยกว่าอาหารใดๆ ทำให้คิดถึงนกที่พรากจากรัง เหมือนพี่(กวี) ที่ต้องจากนางมา เรียม = พี่

35 แกงไตปลา ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเศร้าดวงใจ

36 แสร้งว่า ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน
ไตปลาเสแสร้งว่า ดุจวาจากระบิดกระบวน ใบโศกบอกโศกครวญ ให้พี่เคร่าเศร้าดวงใจ

37 ถอดความ พอเห็นอาหารไตปลาและแสร้งว่า ทำให้นึกถึงคำพูดของนางที่มีชั้นเชิงฉลาด แต่พอเห็นใบโศกราวกับจะบอกถึงความเศร้าโศกของกวีที่รอคอยนางตลอดเวลา แสร้งว่า = อาหารจำพวกเครื่องจิ้ม เคร่า = คอย

38 ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง
ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน ผักหวานซ่านทรวงใน ใคร่ครวญรักผักหวานนาง ผักโฉมชื่อเพราะเป็นโฉมงามของน้องหรือของใคร ผักหวานกินแล้วรู้สึกชื่นใจ ทำให้คิดถึงความรักและความหวานของนาง

39 การพินิจวรรณคดี

40 ด้านวรรณศิลป์ ความไพเราะของถ้อยคำเกิดจากการสรรคำที่มีเสียงไพเราะ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะและสัมผัสใน เช่น เห็นหรุ่ม/รุมทรวงเศร้า รุ่มรุ่มเร้า/คือไฟฟอน เจ็บไกล/ใจอาวรณ์ ร้อนรุมรุ่ม/กลุ้มกลางทรวง การเล่นเสียงวรรณยุกต์คำว่า “หรุ่ม” “รุม” “รุ่ม” และเสียงพยัญชนะในคำว่า “ร้อนรุมรุ่ม” นอกจากจะฟังไพเราะแล้วยังสื่อ ความรู้สึกได้ชัดเจน

41 ด้านวรรณศิลป์ ๒. ใช้สำนวนความเปรียบต่างๆ บ่งบอกความพิเศษของอาหารได้อย่างชัดเจน โดยมีนัยประหวัดถึงนางที่รัก ตามขนบของวรรณคดีไทยด้วย เช่น รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน

42 ด้านวรรณศิลป์ ๓. ใช้โวหารภาพพจน์บ่งบอกความรู้สึกเกินพรรณนา เช่น ก้อยกุ้งทั้งหอมทั้งเลิศรสราวกับอาหารทิพย์เมื่อสัมผัสลิ้นก็รู้สึกอร่อยมากจนแทบจะขาดใจ ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤๅจะเปรียบเทียบทันขวัญ

43 ด้านสังคม ๑. เป็นภาพสะท้อนวัฒนธรรมด้านอาหารการกิน วิธีปรุงอาหาร เคล็ดลับ การจัดวางตกแต่งให้สวยงามเป็นทั้งประณีตศิลป์และวิจิตรศิลป์ เช่น ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ

44 ด้านสังคม ๒. ได้รู้ถึงความเป็นกุลสตรีของหญิงไทยสมัยก่อนในเรื่องฝีมือการปรุงอาหาร ๓. ได้รู้ถึงความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยรัชกาล ที่ ๒ ที่มีกล่าวถึง คือ ญี่ปุ่นและอินเดีย

45 ด้านสังคม ๔. อาหารเป็นเครื่องหมายแทนความรัก ความผูกพัน และความเอื้ออาทรที่คนในครอบครัวมีต่อกัน ๕. การปรุงอาหารไทยเป็นงานศิลปะที่ต้องใช้ฝีมือ ความประณีตและความตั้งใจประดิษฐ์ออกมาให้งดงามและโอชารส

46 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google