ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม พระไตรปิฎก ครูศรีวรรณ ปานสง่า โรงเรียนวังไกลกังวล
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อธิบายโครงสร้างชื่อคัมภีร์และสาระสังเขปของพระสุตตันตปิฎกได้
เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว พระไตรปิฎก เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ
ในประเทศไทย พระไตรปิฎกได้รับการตีพิมพ์ เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยเป็นครั้งแรก ใน สมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๑
การตีพิมพ์เสร็จเรียบร้อยและมีการฉลอง ในพ.ศ. ๒๔๓๖
ต่อมา พ.ศ. ๒๔๖๘ ในสมัยรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตีพิมพ์ใหม่เป็น พระไตรปิฎกฉบับที่สมบูรณ์ เพื่อ อุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ มีจำนวน จบละ ๔๕ เล่ม
ถือเป็นหลักในการจัดแบ่งเล่มพระไตรปิฎก ในประเทศไทยสืบมาจนปัจจุบัน ยึดพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเป็นหลัก
โดยทั่วไป พระธรรมวินัย หรือธรรมและวินัย ที่บรรจุอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักในการจัดหมวดหมู่ ของพระไตรปิฎก
พระพุทธเจ้าประทานพระพุทธโอวาทไว้มาก ต่างกาลเวลา ต่างสถานที่กัน พระสงฆ์สาวก ซึ่งท่องจำไว้ได้ ได้จัดระเบียบเป็นหมวดหมู่ เป็นปิฎกต่างๆ หลังจากพระศาสดานิพพาน แล้ว เพื่อเป็นหลักในพระพุทธศาสนา
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสกับพระอานนท์ว่า “ธรรมและวินัยที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้วแก่ท่านทั้งหลาย ธรรมและ วินัยนั้นจะเป็นศาสดาของท่านทั้งหลาย เมื่อเราล่วงลับไป”
มีหลักฐานว่าในสมัยพระพุทธเจ้ายังไม่มีคำว่า “พระไตรปิฎก” มีแต่คำว่า “ธรรมวินัย” คำว่า พระไตรปิฎก หรือ ติปิฎกในภาษาบาลีนั้นเกิดขึ้นมาภายหลังที่ทำสังคายนาแล้ว
พระไตรปิฎก กล่าวโดยรูปศัพท์ แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆว่า กระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะสำหรับรวบรวมของต่างๆเข้าไว้
“คัมภีร์”แปลว่า กระจาดหรือตะกร้า พระไตรปิฎก ติปิฎก “ติ” แปลว่า สาม “ปิฎก” แปลว่า ตำรา “คัมภีร์”แปลว่า กระจาดหรือตะกร้า
1. เปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ ความสำคัญ 1. เปรียบเสมือนตัวแทนของพระพุทธองค์ และเป็นที่ที่ชาวพุทธสามารถเข้าเฝ้าพระ ศาสดาของตน
2. เพื่อใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติตน ให้พ้นจากความทุกข์ อันเป็นเป้าหมาย สูงสุดของชีวิต
พระไตรปิฎกมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัด รวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ระยะ แรกถ่ายต่อกันมาโดยการท่องจำปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 460 จึงมีการจารึก ลงเป็นลายลักษณ์อักษร
วินัยปิฎก ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี พระไตรปิฎก วินัยปิฎก ว่าด้วยสิกขาบทหรือศีลของภิกษุ ภิกษุณี สุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า อภิธัมมปิฎก ว่าด้วยธรรมะล้วนๆ อธิบายความหมาย ของหลักธรรมอย่างละเอียดลึกซึ้ง มีเนื้อหารวมทั้งสิ้น 84,000 ธรรมขันธ์