การสร้างสรรค์บทละคร.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
สตอรี่บอร์ด (Story board)
Advertisements

Work Shop: Set Actor & Story
การเขียนบทความ.
วิชาหัวข้อเรื่องที่ทันสมัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 6 มกราคม 2555
สื่อการสอนโครงงานอาชีพ ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จัดทำโดย ม
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
สื่อการสอนโดยใช้โปรแกรม Power Point
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
ตัวอย่าง การปรับปรุงข้อสอบ วิชา LB105: Study Skills ภาคที่ 1 / 2545 ( ก่อนการปรับปรุงเป็นข้อ 78 หลังการปรับปรุงเป็นข้อ 20 )
หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การจัดการแสดงและการวิจารณ์การแสดง
มัทธิว 7 : 7 จงขอเถิด แล้วท่านจะได้รับ จง แสวงหา เถิด แล้วท่านจะพบ
ประโยคใจความสำคัญ ประโยคที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดในย่อหน้านั้น
Research Problem ปัญหาการวิจัย
Tuesdays with Morrie & หลายชีวิต
การศึกษารายกรณี.
อธิบายแนวคิดการจัดทำโครงงานในประเด็นต่อไปนี้
บทที่ 2 หลักการแก้ปัญหา
Seminar in computer Science
การอ่านจับใจความเรื่องสั้น
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
มหาวิทยาลัย ต้องการชุด โครงการแบบไหน. น่าจะเริ่มต้นถามว่า ต้องการผลงานแบบไหน จากชุดโครงการวิจัย.
นำเสนอหนังสือวิชาการ
เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
บทที่ 8 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
ของฝากจากอาจารย์อ้อ ชุดที่25 เทคนิคการนำเสนองานด้วย Power Point
“เทคนิคการเป็นพิธีกรมืออาชีพ” ดร.สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
หัวข้อวิชา การเพิ่มศักยภาพในการเป็นผู้นำ และการนำเสนอข้อมูล
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
รู้จักกับTimeline, Layer และ Scene รู้จักกับTimeline, Layer และ Scene
การเรียนรู้ของทีม Team Learning
วิชา ทักษะภาษาไทยเพื่ออาชีพ
ขั้นตอนและหลักการวิเคราะห์
กิจกรรมเสริมสร้างทักษะชีวิต
ใส่ชื่อเรื่องงานวิจัย กะทัดรัด มีตัวแปรต้น ตัวแปรตาม อย่างชัดเจน
ตัวละคร.
เทคนิคการจัดเวทีประชาคม
ความหมายของการวิจารณ์
บทที่ 7 การศึกษาและ การนำเสนอสารสนเทศ
ลักษณะข้อสอบการอ่าน PISA 2009.
โครงเรื่อง.
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
การฟังเพลง.
แนวทางการพัฒนาเพื่อธำรงบันไดขั้นที่ 2 สู่ HAการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พฤศจิกายน 2557.
บทบาทสมมติ (Role Playing)
ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์
องค์ประกอบของวรรณคดี
บทที่8 การเขียน Storyboard.
องค์ประกอบของบทละคร.
ธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์
ความหมายของการวิจารณ์
การประเมินพัฒนาการทางภาษาตามแนวสมดุลภาษา
การเขียนบทวิทยุกระจายเสียง. ขั้นตอนการเขียนบทรายการวิทยุ ขั้นเริ่มต้นแนวคิด (Begin with idea) จะเป็น การบอกแนวทาง ขอบเขตและการวาง แผนการผลิตในอนาคต.
สปอตวิทยุ.
บทที่ 4 งานเอกสารที่เกี่ยวกับการจัดการสัมมนา
ความหมาย รูปแบบหนึ่งของบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนซึ่ง มีการออกแบบบทเรียน โดยมีเป้าหมายที่จะเสนอ ข้อคำถามในรูปแบบต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติ
การสอนโดยการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
การเขียนรายงาน.
การเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรม
สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
การเขียนบทโฆษณา และการผลิตภาพยนตร์โฆษณา
องค์ปะกอบของนวยิยาย โดย วณิชยา ธุระอบ.
การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R)
ให้โอกาสผู้เรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ สร้างความมีวินัย การตรงต่อเวลา
แบบทดสอบ คือ... ชุดของข้อคำถามที่สร้าง ขึ้นเพื่อใช้วัดความรู้ สติปัญญา ความถนัด และ บุคลิกภาพของบุคคล โดย บุคคลนั้นจะตอบสนองโดย การแสดงพฤติกรรมใน รูปแบบต่างๆ.
การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา ADDIE Model
การเขียนจดหมายธุรกิจ
E-Pedagogy Case-based Learning ดร.ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
การนำเสนอสารด้วยวาจา
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การสร้างสรรค์บทละคร

“ละครที่ดีทุกเรื่อง ล้วนมาจากบทละครที่ดี” ประโยคนี้บ่งบอกถึงความสำคัญของบทละครได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เป็นเพราะบทละครถือเป็นหัวใจและเป็นจุดเริ่มต้นของงานละครทั้งหมด เป็นตัวกำหนดทิศทางของละคร ก่อนที่งานในส่วนอื่น เช่น การแสดง การกำกับการแสดง หรือการออกแบบเพื่อการแสดงจะตามมา

กระบวนการสร้างสรรค์บทละคร ความคิด โครงเรื่อง แตกฉาก บทสนทนา

ความคิด (Idea) การเขียนบทละครเริ่มต้นจากความคิดตั้งต้นที่ต้องการบอกเล่าหรือนำเสนอเรื่องราวบางอย่าง ความคิดนั้นอาจเป็นเรื่องที่น่ารู้น่าสนใจ, เป็นปัญหาหรือคำถามที่อยากกระตุ้นให้คนนึกถึง, เป็นข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ฯลฯ ซึ่งความคิดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างเนื้อหาของละครทั้งหมด โดยผู้สร้างสรรค์บทละครควรมีความชัดเจนในความคิดของตัวเอง ว่าต้องการบอกเล่าหรือนำเสนอเรื่องราวใดสู่ผู้ชม เพื่อให้การผูกเรื่องหรือการวางโครงเรื่องเป็นไปอย่างมีเอกภาพ เมื่อมีข้อสรุปที่ชัดเจน เราอาจเรียกความคิดหลักที่ต้องการนำเสนอว่า แก่นเรื่อง (Theme) ก็ได้

โครงเรื่อง (Plot) หลังจากมีความคิดตั้งต้นในการนำเสนอแล้ว ขั้นตอนต่อไปในการสร้างสรรค์บทละครก็คือ การนำความคิดนั้น มาผูกเป็นเรื่องราวที่มีลำดับเหตุการณ์ดำเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ หรือที่เรียกว่าการวางโครงเรื่องนั่นเอง วิธีการพัฒนาจากความคิดหรือแก่นเรื่องไปสู่โครงเรื่อง สามารถทำได้โดยการหาตัวละครและเหตุการณ์มาใส่ โดยตัวละครจะเป็นตัวเผชิญกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา อุปสรรคต่างๆ ตั้งแต่ต้นจบจน ตัวละครจึงเป็นเสมือนผู้นำพาผู้ชมไปสัมผัสกับเรื่องราวทั้งหมด ทั้งนี้ การสร้างเรื่องราว ตัวละคร และเหตุการณ์ต่างๆ นอกจากจะคำนึงถึงความสนุกสนาน น่าติดตามแล้ว ยังต้องคำนึงถึงเอกภาพที่เรื่องราวทั้งหมดจะนำไปสู่ความคิดหรือแก่นเรื่องที่ผู้สร้างสรรค์บทละครต้องการนำเสนอ

ทั้งนี้ในการวางโครงเรื่องนั้น ควรให้เรื่องดำเนินไปอย่างมีพัฒนาการทางอารมณ์ โดยมากสูตรของการวางโครงเรื่องจึงเริ่มต้นจาก นำเรื่อง แนะนำตัวละคร, ความเป็นมาของเรื่อง ปมปัญหา เกิดเหตุการณ์ที่ตัวละครต้องเผชิญหรือแก้ไขให้สำเร็จ วิกฤต เหตุการณ์หรือปัญหาขมวดถึงจุดสูงสุด จบเรื่อง บทสรุปของเรื่องราวทั้งหมด

การแตกฉาก (Treatment) คำว่า Treatment หมายถึง โครงเรื่องขยาย ดังนั้น การแตกฉาก หรือ Treatment คือการขยายโครงเรื่องหรือเนื้อเรื่องที่วางไว้ออกมาในรายละเอียด และแบ่งการนำเสนอออกเป็นฉากต่างๆ ตั้งแต่ต้นไปจนจบ โดยทั่วไปแล้ว การแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นฉากต่างๆ จะพิจารณาถึงประเด็นดังต่อไปนี้ เมื่อเปลี่ยนสถานที่เกิดเหตุการณ์ในเรื่อง เมื่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งจบลงและมีการผ่านช่วงเวลา

บทสนทนา (Dialogue) เมื่อได้แตกโครงเรื่องออกเป็นฉากแต่ละฉากที่มีรายละเอียดของเหตุการณ์และประเด็นสนทนาระหว่างตัวละครแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือ การนำรายละเอียดของแต่ละฉากมาเขียนเป็นบทละครซึ่งประกอบด้วยภาพการกระทำหรือบทสนทนาระหว่างตัวละครในฉากนั้นๆ หลักในการเขียนบทสนทนาก็คือประโยคสนทนาที่ใช้จะต้องมีความสำคัญกับเรื่อง ทำให้เรื่องราว หรือเหตุการณ์ในเรื่องเดินไปข้างหน้า ไม่เยิ่นเย้อ พูดซ้ำความเดิม นอกจากนี้ คำพูดที่เลือกใช้ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะนิสัยของตัวละคร เช่น เป็นคนสุภาพหรือหยาบคาย, พูดตรงๆ หรือขี้เกรงใจคนอื่น เป็นต้น

ละครสนุกได้เพราะอะไร ??? ละครเล่าเรื่องโดยผ่านตัวละครซึ่งมีความต้องการ หรือเป้าหมายอะไรบางอย่าง อาจเป็นความรัก, ความสุข, ความปลอดภัย, ตำแหน่งทางการเมือง, หน้าที่การงาน ฯลฯ สิ่งที่ทำให้ละครสนุก น่าติดตามคือปัญหาหรืออุปสรรคที่เข้ามาทำให้ตัวละครต้องต่อสู้ผ่าฟันเพื่อไปสู่สิ่งที่เขาต้องการนั่นเอง ปัญหาหรืออุปสรรคนี้ รวมเรียกว่า จุดขัดแย้ง (Conflict) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้โครงเรื่องทุกเรื่องสนุก น่าติดตาม

ความขัดแย้ง สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ ตัวละคร vs. ตัวเขาเอง ตัวละคร vs. ตัวละครอื่น ตัวละคร vs. สังคม ตัวละคร vs. ธรรมชาติ ตัวละคร vs. อำนาจเหนือธรรมชาติ