งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

องค์ปะกอบของนวยิยาย โดย วณิชยา ธุระอบ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "องค์ปะกอบของนวยิยาย โดย วณิชยา ธุระอบ."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 องค์ปะกอบของนวยิยาย โดย วณิชยา ธุระอบ

2 “ นวนิยาย” “ นวนิยาย” เป็นงานศิลปะอันประกอบด้วยศาสตร์และศิลป์แห่งการประพันธ์…. ที่มุ่งโน้มน้าวและกล่อมเกลาผู้อ่านให้ดื่มด่ำตามไปในโลกแห่งจินตนาการของผู้เขียน ทั้งนี้ ผู้อ่านจะสามารถรับรสจากศิลปะการประพันธ์ หรือที่เรียกว่า วรรณศิลป์ ของนวนิยายได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณลักษณะและองค์ประกอบต่าง ๆ ของนวนิยาย

3 องค์ปะกอบของนวยิยาย โครงเรื่อง ตัวละคร บทสนทนา ฉาก ท่วงทำนองเขียน

4 โครงเรื่อง ( PLOT ) โครงเรื่องเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งในฐานะเป็นโครงสร้างของเรื่อง อันประกอบไปด้วยลำดับของเหตุการณ์ที่เกี่ยวพันต่อเนื่องและเป็นเหตุเป็นผลกัน โครงเรื่องเป็นสิ่งที่บอกว่าเกิดอะไรขึ้นเละเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นจะมีความหมาย อย่างไร เอบรัมส์ ให้คำอธิบายว่า การจัดเสนอเรื่องเล่าดังกล่าวมีจุดประสงค์ให้ “ บรรลุผลกระทบทาง ด้านอารมณ์สะเทือนใจและด้านศิลปะ ” เฮนรี่เจมส์ กล่าวเป็นโวหารว่า อะไรคือตัวละครเล่า ถ้าไม่ใช่ผู้กำหนดเหตุการณ์ ? อะไรคือเหตุการณ์เล่าถ้ามิใช่สิ่งแสดงตัวละคร ?

5 องค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องด้วยโครงเรื่อง
แนวคิด หรือ แนวเรื่อง เป็นคำที่ความหมายไม่ต่างกันมาก และตายตัวมากนัก โดยปกติจะควบคู่ด้วยกัน และจะหมายถึงแนวคิดสาระสำคัญของเรื่อง ( Theme ) ในความหมายนี้ ยังมีศัพท์อื่นๆ อีก เช่น แก่นเรื่อง สารัตถะ หรือใช้ในความหมายกว้าง ๆ คือ หมายถึงแนวเรื่อง เช่น แนวรักสามเส้า แนวการเมือง เป็นต้น

6 องค์ประกอบที่เกี่ยวเนื่องด้วยโครงเรื่อง
2. เนื้อเรื่อง รายละเอียดของเรื่องราว ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทั้งหมดทุกด้าน เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ผู้เล่าเรื่อง น้ำเสียงของเรื่อง ฯลฯ แล้วยังหมายถึง ประเด็นหลักของเรื่อง

7 แนวคิดของเรื่อง “ กุหลาบ มัลลิกะมาส”
แนวคิดของเรื่อง เป็นข้อสังเกตหรือข้อคิดเกี่ยวกับความจริงหรือหลัก ธรรมชาติ ธรรมดาของมนุษย์ โดยถ้าเป็นแนวคิดที่มีคุณค่า จะประเมินได้จาก ความชัดเจนและสมจริง การทำให้เข้าใจหรือหยั่งเห็น ความสร้างสรรค์ ควรระวังในการพยายามตีความเรื่อง เพื่อค้นหาแนวคิด

8 แนวคิดของเรื่อง แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ดีหลาย ๆ อย่าง
“ ม.ล.บุญเหลือ เทพยสุวรรณ” คุณค่าของวรรณกรรมไม่ได้อยู่ที่การมีคติสอนใจ แต่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ดีหลาย ๆ อย่าง “ วิทย์ ศิวะศริยานนท์” วรรณคดีเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิต ความคิด ความรู้สึกของมนุษย์ โดยไม่สามารถเลี่ยงได้

9 แนวคิดของเรื่อง “ ชาร์บาช” “ พิคเคอริงและโฮเปอร์”
เป็นการสอนโดยใช้กลวิธีที่แยบยลและลึกซึ้ง โดยการใช้อารมณ์สะเทือนใจ เป็นการกล่อมเกลาความนึกคิด หรือจิตใจของคนอ่าน “ พิคเคอริงและโฮเปอร์” แนวคิดบางเรื่อง อาจไม่สอดคล้องกับความเชื่อหรือค่านิยมของผู้อ่าน

10 แนวคิดของเรื่อง “บาร์เนต เบอร์แมน และเบอร์โต”
แนวคิดหรือสาระ ไม่ใช่ตัวเรื่องหรือเนื้อเรื่องทั้งหมด เพราะเนื้อเรื่องต้องประกอบด้วยรายละเอียดมากมาย โดยแนวคิดจะเป็นแค่สิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมาหรือสิ่งที่ได้จากเนื้อเรื่องเท่านั้น

11 แนวคิดของเรื่อง โดยทั่วไป การตีความเพื่อค้นหาแนวคิด งานเขียนบางประเภท
ของเรื่อง ตัวผู้อ่านต้องมีประสบการณ์หรือความชำนาญในการวิเคราะห์องค์ประกอบทั้งหมด รวมทั้งถ้อยคำภาษาโดยตลอดเรื่อง งานเขียนบางประเภท โดยเฉพาะ “วรรณกรรม” ไม่ได้ให้ความสำคัญกับแนวคิด แต่จะเน้นไปที่ความเพลิดเพลิน บันเทิงเป็นสำคัญ

12 แนวคิดของเรื่อง ข้อความที่แสดงแนวคิดของเรื่องจะมีลักษณะเป็นนามธรรม ให้แง่คิดเกี่ยวกับชีวิตโดยทั่วๆ ไป ไม่ใช่หัวข้อของเรื่อง เป็นเพียงข้อความอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น เป็นข้อความแสดงแง่คิดโดยทั่วๆ ไป ไม่มีการระบุชื่อตัวละคร สถานที่ หรือเหตุการณ์ 2.แนวคิดของเรื่อง เป็นการสรุปสาระสำคัญ ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญๆ สามารถอธิบายเหตุและผลของเหตุการณ์ได้ เป็นสิ่งที่สรุปได้จากเรื่องราวของเรื่อง ไม่ใช่มาจากความเชื่อ หรือ ความคิด

13 แนวคิดของเรื่อง 4. อาจจะมีแนวคิดมากกว่าหนึ่ง
3.ระวังไม่ให้แนวคิดของเรื่องกว้างไป หรือแคบไป 4. อาจจะมีแนวคิดมากกว่าหนึ่ง 5.ควรหลักเลี่ยงการสรุปแนวคิดด้วยคำพูดที่คุ้นเคย หรือใช้บ่อย ๆ 6.มีการสรุปแนวคิดของเรื่องโดยผู้เขียนเอง

14 ลักษณะของโครงเรื่อง ส่วนใหญ่ โครงเรื่องเกิดจากความขัดแย้ง ย่อมไม่ใช่เรื่องเรียบๆจืดๆ ความขัดแย้งภายนอก ความขัดแย้งระหว่างตัวละครกับสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้งกับธรรมชาติ เป็นเรื่องที่มีปมขัดแย้งทำนองเดียวกัน ความขัดแย้งกับสังคม ตัวละครปฏิเสธค่านิยมกฎเกณฑ์ของสังคม ความขัดแย้งกับมนุษย์ด้วยกัน พบมากในนวนิยาย ความขัดแย้งภายใน ปมขัดแย้งภายในจิตใจของตัวละคร

15 ลักษณะของโครงเรื่อง 2. โครงเรื่องมักจะมีความขัดแย้ง 3. โครงเรื่องที่ดี
มากกว่าหนึ่ง โดยให้คล้อยตาม ธรรมชาติของเรื่องเล่ายาว ๆ มีตัวละครมาก เหตุการณ์มาก ความขัดแย้งก็มากตามไปด้วย 3. โครงเรื่องที่ดี ต้องกำหนดไว้ ทั้งปมขัดแย้ง และ การคลี่คลายปัญหาอย่างสมบูรณ์

16 ลักษณะของโครงเรื่อง 4. รูปแบบของโครงเรื่อง ค่อนข้างเป็นแบบแผนนิยม
จุดเริ่มเรื่อง เป็นส่วนเกริ่นนำ หรือปูพื้นเรื่อง จุดเริ่มต้นของปัญหา การนำเข้าสู่ปัญหาของเรื่อง จุดวิกฤต ความขัดแย้งเข้มข้นเข้าสู่จุดวิกฤต หรือจุดหักเห ปัญหาเริ่มคลี่คลาย สถานการณ์ตึงเครียดของเรื่องเริ่มคลี่คลาย จุดจบของปัญหา การนำไปสู่การคลี่คลายของปัญหาอย่างสมบูรณ์

17 โครงเรื่องย่อย หรือ โครงเรื่องรอง
1. โครงเรื่องรองแบบผิดแผนก โครงเรื่องรองแบบเน้นให้ผิดแปลกไปจากโครงหลัก เช่น นวนิยายเรื่อง ความผิดครั้งแรก ของดอกไม้สด โครงเรื่องรอบแบบคู่ขนาน โครงเรื่องรองที่มีแนวการดำเนินเรื่องขนานไปกับโครงเรื่องหลัก เช่น นวนิยายเรื่อง ชัยชนะของหลวงนฤบาล

18 โครงเรื่องย่อย หรือ โครงเรื่องรอง
3. โครงเรื่องรองแบบเสริม ลักษณะของโครงเรื่องรองที่มีมาก ในนวนิยายทั่ว ๆ ไป มีตัวละครหลายตัว ทำ ให้เกิดเรื่องราวมากมาย อาจเป็นเรื่องของตัวเอกของเรื่องก็ได้ เช่น นวนิยายเรื่อง เขาชื่อกานต์ นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง vanity Fair หรือแม้แต่เรื่อง ข้าวนอกนา

19 สรุป ไม่ว่าเรื่องใดก็ตาม ในบทประพันธ์ที่ดีนั้น โครงเรื่องรองต้องมีความหมาย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับโครงเรื่องหลักเสมอ ไม่ใช่โครงเรื่องที่ปราศจากความหมายหรือปราศจากนัยยะใด ๆ ต่อโครงเรื่องสำคัญ

20 สวัสดี


ดาวน์โหลด ppt องค์ปะกอบของนวยิยาย โดย วณิชยา ธุระอบ.

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google