เด็กหญิงสุวรรณี เรืองฤทธิ์ เลขที่ 40 เด็กหญิงสุวรรณี เรืองฤทธิ์ เลขที่ 40 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/10
สถานที่ท่องเที่ยวภาคใต้
ป่าพรุสิรินธร ป่าพรุสิรินธร เป็นส่วนหนึ่งของป่าพรุโต๊ะแดง ป่าพรุแห่งสุดท้ายของประเทศไทย ซึ่งคลุมพื้นที่ของ 3 อำเภอ คือ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโกลก และอำเภอสุไหงปาดี มีพื้นที่ประมาณ 120,000 ไร่ แต่ส่วนที่สมบูรณ์โดยประมาณมีเพียง 50,000 ไร่ เป็นป่าที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ป่าและ พรรณไม้ พื้นที่ป่าพรุมีลำน้ำสำคัญหลายสายไหลผ่าน คือ คลองสุไหงปาดี แม่น้ำบางนรา และคลองโต๊ะแดง อันเป็นที่มาของชื่อป่าภายในศูนย์ฯ ได้จัดให้มีทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา เป็นพื้นที่อนุรักษ์แห่งใหม่ของประเทศไทย ได้รับ การประกาศจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2539 อันเป็นแนวชายแดนไทย-มาเลเซีย มีพื้นที่ประมาณ 270,725 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ทิวเขาสันกาลาคีรี ป่าฮาลาและป่าบาลา เป็นผืนป่าดงดิบที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ได้รับการประกาศเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเดียวกัน คือ ป่าฮาลา ในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา และ อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส แต่ส่วนที่ เปิดให้ประชาชนเข้าไปศึกษาธรรมชาติได้ จะเป็นป่าบาลาเท่านั้น
อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี อุทยานแห่งชาติเทือกเขาบูโด – สุไหงปาดี สมัยก่อนเทือกเขาบูโด-สุไหงปาดี เป็นส่วน หนึ่งของทิวเขาสันกาลาคีรีที่แบ่งเขตแดนไทย-มาเลเซีย เคยเป็นที่ซ่องสุมของผู้ก่อการร้าย จึงไม่ค่อยมีผู้ใดเข้ามาสัมผัสความมหัศจรรย์ของผืนป่าดงดิบแห่งนี้ เมื่อสถานการณ์ คลี่คลายลง ในปี พ.ศ. 2517 กรมป่าไม้จึงจัดตั้งวนอุทยานน้ำตกปาโจ และกลายมาเป็น อุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 294 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ บางส่วนของนราธิวาส ยะลา และปัตตานี
สวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษา สวนรวมพรรณไม้ป่า 60 พรรษา ตั้งอยู่บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ ทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ หมู่ที่ 3 ต.สุไหงปาดี อ.สุไหงปาดี มีพื้นที่ทั้งหมด 100 ไร่เป็นสวนที่ทำการสำรวจเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้ป่ามาปลูกเป็นหมวดหมู่ตามวงศ์ (Family)ตามสกุล(Genus)โดยคำนึงถึงความเหมาะสมทางนิเวศวิทยาเป็นหลัก ปัจจุบันมีพันธุ์ไม้มากกว่า 700 ชนิด หลายชนิดเป็นไม้ที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ บางชนิดเป็นพืชสมุนไพร บางชนิดเป็นไม้ที่หาดูยากและบางชนิดเป็นไม้ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
พระพุทธอุทยานเขากง พระพุทธอุทยานเขากง มีเนื้อที่ 142 ไร่ ตั้งอยู่ที่ตำบลลำภู จากตัวเมืองใช้เส้นทาง นราธิวาส-ระแงะ (ทางหลวงหมายเลข 4055) ประมาณ 9 กิโลเมตร จะมองเห็นวัดเขากง และพระพุทธรูปทักษิณมิ่งมงคลสีทองปางปฐมเทศนาขัดสมาธิเพชรอยู่บนยอดเขา เป็น ศิลปะสกุลช่างอินเดียตอนใต้ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2509 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2512 องค์ พระเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กประดับด้วยโมเสกสีทอง หน้าตักกว้าง 17 เมตร ความสูงวัด จากพระเกศบัวตูมถึงบัวใต้พระเพลา 24 เมตร จัดเป็นพระพุทธรูปกลางแจ้งที่งดงามและ ใหญ่ที่สุดในภาคใต้
น้ำตกสิรินธร น้ำตกสิรินธร ลักษณะโดยทั่วไปไม่ใช่น้ำที่ตกมาจากผาสูง หากแต่เป็นลักษณะธารที่ ค่อยๆลาดไหลมาจากแนวป่าสูง มีแอ่งน้ำลานหิน นั่งพักผ่อนได้ ธารน้ำตกจะไหลไปรวมที่ คลองอัยกาดิง มักจะมีคนท้องถิ่นเข้ามาเที่ยว สิ่งที่ควรชมนอกเหนือจากน้ำตก ก็คือ โครงการสำรวจและรวบรวมพันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับป่าภาคใต้ ในสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีการรวบรวมไว้กว่า 200 ชนิด โดยจัดปลูกพรรณ ไม้ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่ ตามสภาพธรรมชาติ
ชายหาดนราทัศน์ ชายหาดนราทัศน์ เป็นหาดทรายขาวสะอาดยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไปสิ้นสุดที่ปลาย แหลมด้านปากแม่น้ำบางนราซึ่งใช้เป็นสถานที่จัดการแข่งขันเรือกอและที่จัดขึ้นเป็นประจำ ทุกปีด้วย แนวสนทำให้บรรยากาศริมทะเลร่มรื่นมากขึ้น ชาวบ้านนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจ กันที่นี่ ใกล้ๆ กันมีหมู่บ้านชาวประมงตั้งกระจัดกระจายตามริมแม่น้ำบางนรา และบริเวณ เวิ้งอ่าวมีเรือกอและของชาวประมงจอดยู่มากมาย อยู่เลยจากตัวเมืองนราธิวาสไปตาม ถนนสายพิชิตบำรุง ประมาณ 1 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการ รถจักรยานยนต์ รถสามล้อถีบหรือรถสองแถวเล็กจากตัวเมืองนราธิวาสไปยังหาดนรา ทัศน์ได้สะดวก
วนอุทยานอ่าวมะนาว วนอุทยานอ่าวมะนาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลกะลุวอเหนือ ตามทางหลวงหมายเลข 4084 (นราธิวาส-ตากใบ) ประมาณ 3 กิโลเมตร และมีทางแยกไปสู่หาดอีก 3 กิโลเมตร เป็น ชายหาดที่ยาวต่อเนื่องจากชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของจังหวัดปัตตานี เป็นโค้งอ่าว เชื่อมต่อกัน ยาวประมาณ 4 กิโลเมตร มีโขดหินคั่นสลับโค้งหาดเป็นระยะ
ขอบคุณค่ะ