2.3 การเสนอตัวอย่างการคำนวณเบี้ยประกัน ตามที่สหกรณ์ฯมีแนวคิดที่จะจัดหาหลักประกันเงินกู้สามัญของสมาชิก เพื่อเป็นหลักประกันแก่สหกรณ์ฯซึ่งจัดตั้งโดยสมาชิกและเงินลงหุ้นของสมาชิกทุกคนให้มีความมั่นคง รวมถึงคลายความกังวลใจให้กับสมาชิกผู้ต้องเป็นผู้ค้ำประกัน ซึ่งในความเป็นจริงสมาชิกจะมีแนวคิดเป็นสองทางคือ 1. ผู้กู้อยากได้วงเงินกู้ที่สูงสุด 2. ผู้ค้ำประกันไม่ค่อยสบายใจเมื่อต้องอยู่ในสภาพจำยอมในฐานะผู้ค้าประกัน ได้มีตัวแทนบริษัทประกันภัยมานำเสนอการจัดทำประกันชีวิตของสมาชิกผู้กู้เงินสามัญ ให้กับคณะกรรมการฯได้พิจารณา
โดยหลักการจะเป็นการทำประกันชีวิตวงเงินกู้ที่เกินกว่าทุนเรือนที่มีอยู่รวมกับเงินสวัสดิการสงเคราะห์ที่สมาชิกพึงได้เมื่อเสียชีวิต ตลอดอายุสัญญาที่สมาชิกขอกู้ ตัวอย่างเช่นสมาชิกขอกู้เงินจำนวน 1,000,000 บาท สมาชิกต้องมีทุนเรือนหุ้น 20% คือ 200,000 บาท รวมกับเงินสวัสดิการสงเคราะห์ที่สมาชิกพึงได้เมื่อเสียชีวิต 150,000 บาท รวม 350,000 บาท สมาชิกต้องทำประกันชีวิตในวงเงินที่เกินกว่า 350,000 บาท คือ วงเงิน 650,000 บาท
เรื่องของการส่งเบี้ยประกันจะหักครั้งเดียวเมื่อสมาชิกรับเงินกู้สามัญ เพศหญิง,เพศชาย,อายุ,ระยะเวลาของสัญญาจะเสียเบี้ยประกันต่างกันโดยจะกำหนดในตารางแสดงอัตราเบี้ยประกัน ตัวอย่างกรณีเพศหญิง จ.ส.อ.หญิง จริงใจฯ อายุ 35 ปี ขอกู้เงินจากสหกรณ์ฯ จำนวน 1,000,000 บาท ผ่อนชำระจำนวน 120 งวด (10ปี) เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์แล้ว จ.ส.อ.หญิง จริงใจฯ ต้องทำเบี้ยประกันในส่วนที่เกินตามข้างต้นจำนวน 650,000 บาท จะต้องเสียเบี้ยประกันทั้งสิ้น = 11.63 คูณ 100,000 หาร 1,000 คูณ 6.5 เท่ากับ 7,559.50 บาท นั่นคือ จ.ส.อ.หญิง จริงใจฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ณ วันรับเงินกู้สามัญจำนวน 7,559.50 บาท คุ้มครองทั้งสิ้น 10ปี
ตัวอย่างกรณีเพศชาย จ. ส. อ ตัวอย่างกรณีเพศชาย จ.ส.อ.รักจริงฯ อายุ 35 ปี ขอกู้เงินจากสหกรณ์ฯ จำนวน 1,000,000 บาท ผ่อนชำระจำนวน 120 งวด (10ปี) เมื่อพิจารณาหลักเกณฑ์แล้ว จ.ส.อ.รักจริงฯ ต้องทำเบี้ยประกันในส่วนที่เกินตามข้างต้นจำนวน 650,000 บาท จะต้องเสียเบี้ยประกันทั้งสิ้น = 28.12 คูณ 100,000 หาร 1,000 คูณ 6.5 เท่ากับ 18,278 บาท นั่นคือ จ.ส.อ.รักจริงฯ ต้องจ่ายเบี้ยประกัน ณ วันรับเงินกู้สามัญจำนวน 18,278 บาท คุ้มครองทั้งสิ้น 10ปี
ทั้งกรณีเพศชายและเพศหญิงหากผ่อนชำระจำนวน 180 งวด (15ปี) อัตราการจ่ายเบี้ยประกันจะเปลี่ยนแปลงตามตารางดังนี้ เพศหญิง = 19.31 คูณ 100,000 หาร 1,000 คูณ 6.5 เท่ากับ 12,551.50 บาท เพศชาย = 46.73 คูณ 100,000 หาร 1,000 คูณ 6.5 เท่ากับ 30,374.50 บาท จากตัวอย่างจะเห็นได้ชัดว่า จำนวนเงินขอกู้,เพศ,อายุ และจำนวนงวดชำระตลอดอายุสัญญาจะต่างกัน เพศชายจะเสียเบี้ยประกันมากกว่าเพศหญิงเนื่องจากในหลักการประกันชีวิตจะเห็นว่าเพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง อายุมากจะเสียเบี้ยประกันมากกว่าอายุน้อย
นอกจากการประกันชีวิตของผู้กู้แล้ว ยังมีการประกันอีกอย่างที่คณะกรรมการได้พิจารณาแล้วเห็นว่าสมาชิกบางคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงควรจะต้องทำ นั่นคือการประกันผู้ค้ำประกัน นั่นหมายถึงไม่ใช่กรณีเสียชีวิตของสมาชิกแต่เป็นกรณีที่สมาชิกที่มีความเสี่ยงในการส่งชำระหนี้ซึ่งเคยมีกรณีตัวอย่างสมาชิกกู้เงินไปส่งชำระค่างวดได้ 2 ถึง 3 งวด แล้วหนีหายจากราชการ ซึ่งกรณีนี้เมื่อสมาชิกขาดการชำระหนี้ 2 งวดติดต่อกัน ตามข้อบังคับสหกรณ์ฯสมาชิกผู้ค้ำประกันทั้ง 2 จะต้องชำระหนี้แทน ซึ่งก็สร้างความเดือดร้อนในกับสมาชิก การทำประกันผู้ค้ำประกัน (กรณีสมาชิกมีพฤติกรรมเสี่ยงโดยคณะกรรมการฯพิจารณาแล้ว) จะทำค้ำประกันในวงเงินที่เกินกว่าทุนเรือนหุ้นที่ตนมีอยู่ในอัตรา 100,000 ต่อ 300 บาท ต่อปี ตัวอย่างเช่น ส.อ.สุดเดชฯ ขอกู้เงินสหกรณ์ฯ จำนวน 500,000 บาท มีทุนเรือนหุ้น 20% ของ 500,000 เท่ากับ 100,000 บาท เมื่อคณะกรรมการพิจารณาแล้วเห็นว่า ส.อ.สุดเดชฯ มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการชำระหนี้ ส.อ.สุดเดชฯต้องจัดทำประกันผู้ค้ำประกันเพิ่มนอกจากการทำประกันชีวิตแล้วในส่วนที่เกินทุนเรือนหุ้น 400,000 บาท
ส.อ.สุดเดชฯ จะต้องจ่ายค่าทำประกันกรณีนี้ = 300 คูณ 400,000 หาร 100,000 เท่ากับ 1,200 บาท จ่าย ณ วันรับเงินกู้สามัญ และในปีถัดไป จะหักจากเงินปันผลและเฉลี่ยคืนประจำปี ตามจำนวนเงินต้นที่เหลือ กรณีหนี้จ่ายเท่ากันหมดทั้งเพศหญิงและชาย ที่ประชุม...รับทราบ