การแบ่งหนังสือออกตามลักษณะการจัดทำและความเหมาะสมของผู้อ่านแต่ละกลุ่ม
หนังสือปกอ่อน เป็นหนังสือที่มีราคาถูก เพราะต้นทุนการผลิตต่ำกว่าหนังสือปกแข็งโดยทั่วไป สถิติการจำหน่ายสูง เพราะราคาไม่แพง และหาซื้อได้ง่าย มีจำหน่ายทั่วไป
หนังสือสำหรับเด็ก หนังสือสำหรับเด็กเริ่มหัดอ่าน ได้แก่ เด็กอายุระหว่าง 3-6 ปี
หนังสือสำหรับเด็กประถมศึกษา ได้แก่ เด็กอายุระหว่าง 6-11 ปี อาจมีเนื้อหายากขึ้นกว่าระดับแรก เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว เช่น เรื่องการผจญภัย เรื่องเกี่ยวกับสัตว์ ธรรมชาติ คน มีภาพพอๆกับเนื้อหาของหนังสือ แต่อาจจะน้อยกว่าระดับแรก
หนังสือสำหรับเด็กก่อนวัยรุ่น ได้แก่ เด็กอายุระหว่าง 11-14 ปี เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการสะท้อนชีวิตในวัยเด็กของตัวละคร ควรมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับจิตวิทยาเด็ก หลักปรัชญา ศีลธรรม จรรยา
หนังสือตำราเรียน หมายถึง หนังสือแบบเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งสำหรับนักเรียนใช้ในชั้นเรียน หรือตำราเพื่อประกอบการเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง ซึ่งผู้เรียนต้องมีไว้ครอบครองเพื่อช่วยให้การเรียนเป็นไปด้วยดี
หนังสือแปล เป็นหนังสือถ่ายทอดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยใช้วิธีการแปลแบบคำต่อคำตามต้นฉบับเดิม หรือการแปลโดยใช้วิธีสรุปความ ในการเลือกควรพิจารณาภาษาแปลที่อ่านแล้วราบรื่น สละสลวย เข้าใจง่าย และรักษาเนื้อเรื่องของต้นฉบับเดิมไว้อย่างครบถ้วน ต้องมีความน่าเชื่อถือ หนังสือแปลประเภทวิชาการที่ควรเลือกเข้าห้องสมุด ได้แก่ งานแปลของสำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
หนังสืออ้างอิง หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ค้นหาคำตอบหรืออ้างอิงข้อเท็จจริงบางอย่าง โดยทั่วไปหนังสืออ้างอิงจะมีการจัดทำอย่างดี มีลักษณะพิเศษ สำหรับใช้ค้นคว้าเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ หนังสืออ้างอิงจึงมีราคาแพง
หนังสืออ่านประกอบ หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องหรือขยายความเนื้อหาวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตร ไม่ว่าจะสามารถใช้อ่านประกอบได้หมดทั้งเล่มหรือเพียงบางตอนก็ตาม จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนใช้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองตามความเหมาะสมของวัยและความสามารถในการอ่านของแต่ละบุคคล
หนังสือเสริมสร้างประสบการณ์ หนังสือที่กระทรวงศึกษาธิการอนุญาตให้ใช้ในโรงเรียนได้ แต่มิได้กำหนดให้เป็นหนังสือเรียนหรือหนังสืออ่านประกอบ เช่น หนังสืออ่านนอกเวลา
การประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ
ประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อ ทราบว่าทรัพยากรนั้นมีข้อดีและข้อบกพร่องอย่างไร ทราบว่าทรัพยากรนั้นมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด ทราบว่าทรัพยากรนั้นเหมาะสมกับใคร ทราบว่าทรัพยากรนั้นควรจัดหาเข้าห้องสมุดหรือไม่
ประโยชน์ของการประเมินคุณค่า ทำให้รู้จักทรัพยากรประเภทต่างๆ ในแต่ละสาขาวิชาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นแนวทางให้สามารถเปรียบเทียบระดับคุณค่าหรือประโยชน์ของทรัพยากรแต่ละรายการ เป็นประโยชน์ในการเลือกและจัดหาทรัพยากรเข้าห้องสมุด ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการการแนะนำผู้ใช้ห้องสมุด
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการประเมินคุณค่าทรัพยากรสารสนเทศ หลักในการเลือกทรัพยากร และประเภทที่จะประเมินค่า รู้จักใช้เครื่องมือในการเลือกทรัพยากรสารสนเทศ ทราบวัตถุประสงค์และนโยบายการเลือกและจัดหาทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ทราบวิธีการอ่านหนังสือเพื่อประเมินค่า ทราบวิธีการบันทึกผลการประเมินค่า
วิธีการประเมินคุณค่า อ่านหนังสือเรื่องนั้นโดยละเอียด กำหนดสิ่งประทับใจที่ได้รับทั้งด้านดีและในส่วนที่บกพร่อง พิจารณาคุณค่าของหนังสือนั้นตามลักษณะประเภทหนังสือ เปรียบเทียบกับหนังสือที่อยู่ในประเภทเดียวกัน บันทึกผลการประเมินคุณค่าของหนังสือ
หลักในการประเมินคุณค่าหนังสือสารคดี ความน่าเชื่อถือ เนื้อเรื่อง ลักษณะทางกายภาพ อื่นๆ
1. ความน่าเชื่อถือ 1.1 ผู้แต่ง 1.2 สำนักพิมพ์
2. เนื้อเรื่อง 2.1 เนื้อหา เป็นสาขาวิชาใด 2.2 เหมาะสมกับผู้อ่านระดับใด 2.3 วิธีการเขียน
2. เนื้อเรื่อง (ต่อ) 2.4 ระดับของเนื้อหา แบ่งออกเป็น 6 ระดับ สรุปรวบรวมความรู้เรื่องทั่วๆไป อ่านเพื่อความบันเทิงใจ เป็นวรรณกรรมคลาสสิค ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง แต่เป็นเพียงความรู้เบื้อต้นเท่านั้น เป็นตำราหลักของแต่ละสาขาวิชา เป็นความรู้ขั้นสูง งานวิจัย
3. ลักษณะทางกายภาพ 3.1 รูปเล่ม 3.1 รูปเล่ม หนังสือตำราหรือหนังสือวิชาการมักมีขนาด 8 หน้ายก 3.2 การเข้าเล่ม 3.3 ลักษณะการพิมพ์
4. อื่นๆ 4.1 ปีที่พิมพ์ 4.2 ราคา 4.3 ภาพประกอบ 4.1 ปีที่พิมพ์ 4.2 ราคา 4.3 ภาพประกอบ 4.4 การแนะนำและวิจารณ์หนังสือ