งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

การนิยามศัพท์ การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "การนิยามศัพท์ การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 การนิยามศัพท์ การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้ ถ้าหากไม่มีการนิยามคำศัพท์อาจจะทำให้การสื่อความหมายคลาดเคลื่อนทั้งในส่วนของผู้อ่านและตัวนักวิจัยเอง

2 การเลือกคำศัพท์ เลือกคำศัพท์ที่มีหลายความหมาย เลือกคำศัพท์ที่คาดว่าผู้อ่านที่อยู่ในสาขาอื่นๆ ไม่เข้าใจ หรือไม่คุ้นเคย โดยทั่วไปมักจะเป็นศัพท์เฉพาะ คำศัพท์ใหม่ๆ ที่คนทั่วไปไม่เข้าใจ

3 ที่มาของคำศัพท์ คำศัพท์ที่จะนำมารวบรวมและให้คำนิยามไว้ในส่วนนิยามคำศัพท์ ได้มาจากทุกส่วนของรายงานตั้งแต่ชื่อเรื่อง ปัญหาการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย สมมุติฐานและปัญหาการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม และวิธีวิจัยแต่ละขั้นตอน

4 หลักการเขียนคำนิยามศัพท์
นิยามคำศัพท์เป็นการนิยามโดยทั่วๆ (Abstract definition) เหมือนคำศัพท์ปกติ และการนิยามคำศัพท์เฉพาะที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น (Operational definition)ซึ่งบางคำศัพท์จะต้องนิยามเฉพาะและอธิบายรายละเอียดมากกว่าแบบแรกและสอดคล้องกับขอบเขตของเรื่องที่วิจัย

5 การอ้างอิงหรือให้แหล่งที่มีของคำนิยามมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการนิยามทั่วไป เพื่อให้การนิยามมีความเชื่อถือมากขึ้น ทั้งจากพจนานุกรม สารานุกรม และแหล่งอื่นๆ การนิยามคำศัพท์ควรมีการแยกเป็นส่วนเฉพาะหรือหัวข้อหนึ่งต่างหาก เขียนแยกเป็นย่อหน้าหรือให้หมายเลขกำกับในแต่ละคำ แต่การให้คำนิยามไม่ควรมากเกิน 2 หน้า

6 Impact of Information Technology on the Provision and Promotion of University Library Services in Developing Countries: A Comparative Study of University Libraries in Kenya and Karnataka India

7

8

9

10 ภาพลักษณ์ของครูบรรณารักษ์ตามทัศนะของนักเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2540

11 คำนิยามศัพท์เฉพาะ 1. ภาพลักษณ์ (Image) หมายถึง ภาพที่เกิดขึ้นตามความรู้สึกนึกคิดของนักเรียน โรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม โดยเป็นภาพลักษณ์ของครูบรรณารักษ์ด้านความรู้และบุคลิกภาพ ที่เกิดจากการรู้จัก การที่มีประสบการณ์ด้วยการได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านหรืออื่นๆ ทั้งนี้ต้องมีระยะเวลาช่วงหนึ่งที่จะสร้างเป็นภาพลักษณ์ทั้งในเชิงบวกหรือเชิงลบก็ได้

12 2. ครูบรรณารักษ์ หมายถึง ครู อาจารย์ ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าสถานศึกษาให้รับผิดชอบในการบริหารและดำเนินงานห้องสมุด โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ปีการศึกษา 2540 โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ 2.1 ครูที่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ คือ ครูบรรณารักษ์ที่มีวุฒิการศึกษาในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ หรือสาขาวิชาเกี่ยวกับบรรณารักษ์ห้องสมุด

13 2.2 ครูที่ไม่มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์ คือ ครูบรรณารักษ์ที่ไม่มีวุฒิการศึกษาเกี่ยวกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศ หรือไม่มีวุฒิสาขาวิชาเกี่ยวกับบรรณารักษ์ห้องสมุด

14 A Study of teaching of library use and information literacy courses in the universities in Thailand

15

16

17 ขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัย
การกำหนดขอบเขตและข้อจำกัดของการวิจัยจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจการวิจัยมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยให้การวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น

18 ขอบเขตและข้อจำกัดการวิจัย จะเกี่ยวข้องกับวิธีการที่ใช้ในการศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรที่ศึกษา ขอบเขตเนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ตลอดจนพื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา

19

20


ดาวน์โหลด ppt การนิยามศัพท์ การทำวิจัยจะต้องมีการนิยามศัพท์ เพราะคำศัพท์มีหลายความหมาย ผู้วิจัยจำเป็นต้องนิยามคำศัพท์ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจเข้าใจความหมายที่ใช้ในงานวิจัยเรื่องนี้

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google