นโยบายพลังงาน - ปตท. และ ก๊าซ CBG 4
ประเทศไทยมีการพึ่งพาการนำเข้าด้านพลังงานอยู่ใน ระดับสูงและมีจุดอ่อนหลายประการ
การบริโภคพลังงานโดยรวมขยายตัวเร็วกว่า GDP และเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน
การใช้พลังงานของประเทศไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบ กับประเทศอื่นในภูมิภาคและทั่วโลก
การพึ่งพาพลังงานฟอสซิลจากแหล่งต่างประเทศยังคงเพิ่มสูง อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในระยะยาว ถ้าไม่ เร่งรีบพัฒนาพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนและมีผลต่อการเพิ่ม รายได้ประชาชน
การพัฒนาพลังงานทดแทนจะไม่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ของพืชอาหาร แต่จะเป็นการเพิ่มรายได้และความมั่นคงของ เกษตรกร เป็นเครื่องมือเพิ่มมูลค่าพืชผลของเกษตรกรและลด ความเสี่ยงด้านต่างๆ
ความเหนือชั้นและความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันของภาค เกษตรและป่าไม้คือพลังงานทดแทน ซึ่งจะทำให้สังคมการเกษตร และป่าไม้ ก้าวไปสู่นวัตกรรมใหม่และการผลิตที่ใช้องค์ความรู้ที่ สูงขึ้นแทนการผลิตสินค้า ขั้นปฐมที่มีความเสี่ยงและขาดทุน ซ้ำซากมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน
Biogas และ Biomethane คือคำตอบสุดท้ายของสังคมไทย และทางเลือกทีดีทีสุดในด้านพลังงานทดแทน One Best Way ดังที่ประเทศเยอรมันทำอยู่ขณะนี้
ตัวอย่างโรงงาน Biogas ระดับฟาร์ม ในพื้นที่ชนบทที่เป็น ฟาร์มเกษตรกรของเยอรมันใช้วัติถุดิบง่ายๆ อาทิเช่น มูลวัว หญ้าหมัก ข้าวโพดหมัก เท่านั้นเอง ไม่มีอะไรซับซ้อน และยัง ไม่มีโรงงานใหนเป็น NPL ผมไปดูงานมาแล้ว
ประเทศไทยกำลังพายเรือในอ่าง เพราะส่งเสริมการ ผลิต biogas จากมูลสัตว์ที่ให้ผลผลิต น้อยกว่าพืช พลังงานพวกหญ้าและมันสำปะหลัง