ครู สุนิสา เมืองมาน้อย การจัดองค์ประกอบภาพ ครู สุนิสา เมืองมาน้อย
การจัดองค์ประกอบภาพ การจัดองค์ประกอบภาพที่มี วัตถุสิ่งของครบถ้วนสมบูรณ์ สื่อความหมายถึงผู้รับได้ ถูกต้องตรงกับเจตนาของผู้สื่อ
การจัดองค์ประกอบภาพอยู่ 10 ลักษณะ 1.รูปทรง (Form) 2.มิติ รูปร่างลักษณะ 3.ความสมดุลที่เท่ากัน 4. ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน 5.ฉากหน้า 6. ฉากหลัง 7.กฏสามส่วน 8 .เส้นนำสายตา 9.เน้นด้วยกรอบภาพ 10 .เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน
1.รูปทรง มีการจัดวางโครงสร้างให้ได้รูปทรงที่สวยงาม สิ่งนั้นประกอบด้วย คน วัตถุ สิ่งของ จัดวางให้เกิดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น รูปทรง สามเหลี่ยม ทรงกลม รูปทรงตัวที(T) หรือตัวเอส (S) ให้ความรู้สึก สง่างาม มั่นคง
ตัวอย่างรูปทรง
2.มิติ รูปร่างลักษณะ ตรงข้ามกับรูปทรง เน้นให้เห็นเป็นภาพ 2 มิติ คือ ความกว้างกับความยาว ไม่ให้เห็นรายละเอียดของภาพ หรือที่เรียกว่าภาพเงาดำ เป็นภาพที่ดูแปลกตา น่าสนใจ ลึกลับให้อารมณ์และสร้างจินตนาการ ในการในการดูภาพได้ดี นิยมถ่ายภาพในลักษณะย้อนแสง
ตัวอย่างมิติ รูปร่างลักษณะ
3.ความสมดุลที่เท่ากัน เป็นการจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ภาพดูนิ่ง สง่างาม น่าศรัทธา เน้นการให้น้ำหนักรูป รูปทรงซ้ายขวาเท่ากัน ดูธรรมดา ไม่สะดุดตาเท่าใดนัก แต่ก็มีเสน่ห์และความงามในตัว
ตัวอย่างความสมดุลที่เท่ากัน
3.ความสมดุลที่ไม่เท่ากัน วัตถุทั้งสองข้าง มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน แต่สมดุลด้วยปัจจัยต่าง ๆ กัน เช่น สี รูปทรง ท่าทางฉากหน้า ฉากหลัง ฯลฯ ภาพดูน่าสนใจกว่าแบบสมดุลที่เท่ากัน แต่ความรู้สึกที่มั่นคงจะ น้อยกว่า
ตัวอย่างความสมดุลที่ไม่เท่ากัน
5.ฉากหน้า เรามักใช้ฉากหน้าเป็นตัวช่วยให้เกิดระยะ ใกล้ ไกล หรือมีมิติขึ้น ทำให้ภาพดูน่าสนใจ บางครั้งอาจใช้กิ่งไม้ วัตถุ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกล้องมาบังเพื่อช่วยเน้นจุดสนใจ ดูเด่นขึ้น และไม่ให้ภาพมีช่องว่างเกินไป
ตัวอย่างฉากหน้า
6.ฉากหลัง พื้นหลังของภาพก็มีความสำคัญหากเลือกที่น่าสนใจ กลมกลืน หรือช่วยให้สิ่งที่ต้องการเน้นเด่นขึ้นมา ควรเลือกฉากหลังที่กลมกลืน ไม่ทำให้จุดเด่นของภาพด้อยลง หรือมารบกวนทำให้ภาพนั้นขาดความงามไป
ตัวอย่างฉากหลัง
7.กฏสามส่วน เป็นการจัดภาพที่นิยมมากที่สุด ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จืดชืด การจัดภาพโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ทั้งแนวตั้งและแนวนอน การวางจุดสนใจของภาพจะเลือกวางใกล้ ๆ หรือ ตรงจุด 4 จุดนี้จุดใดจุด หนึ่ง โดยหันหน้าของวัตถุไปในทิศทางที่มีพื้นที่ว่างมากกว่า ทำให้ภาพดูเด่น ไม่อึดอัด ไม่แน่น หรือหลวมจนเกินไป
ตัวอย่างกฏสามส่วน
8.เส้นนำสายตา เป็นการจัดภาพที่ใช้เส้นที่เกิดจากวัตถุ หรือสิ่ง อื่น ๆ ที่มีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน เรียงตัวกันเป็นทิศทางไปสู่จุดสนใจ ช่วยให้วัตถุที่ต้องการเน้นมีความ เด่นชัดและน่าสนใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเส้นนำสายตา
9.เน้นด้วยกรอบภาพ การจัดให้ฉากหน้าหรือส่วนประกอบอื่นล้อมกรอบจุดเด่น เพื่อลดพื้นที่ว่าง ทำให้ภาพกระชับ น่าสนใจ
ตัวอย่างเส้นนำสายตา
9.เน้นรูปแบบซ้ำซ้อน เป็นการจัดภาพที่มีรูปร่าง ลักษณะ ที่คล้าย ๆ กันวางเป็นกลุ่มทำให้ภาพดูสนุก สดชื่น และมีเสน่ห์แปลกตา
ตัวอย่างเส้นนำสายตา
ภาระงานในชั่วโมง จับคู่กับเพื่อน (ใช้คู่เดิมจากชั่วโมงที่แล้ว) จับฉลากเพื่อรับหัวข้องาน (1 คู่จะได้รับ 2 หัวข้อ) เข้าเครือข่ายการเรียนรู้ ตอบประเด็นสัปดาห์ที่ 4 นักเรียนชั้น ม. 5/….สืบค้นรูปภาพ ชื่อ.........นามสกุล.....เลขที่ คู่กับ ชื่อ........นามสกุล........เลขที่ ชื่อภาพ ภาพ (เมื่อเพื่อนโพสตอบเรียบร้อยแล้ว อีกคนที่คู่กันไปตอบใต้โพส เพื่อนเพื่อยืนยันว่าเราช่วยเพื่อนทำ) นักเรียนแต่ละคนสรุปความรู้จาก ใบความรู้ที่ 4 การจัดองค์ประกอบภาพ ใส่สมุดไม่น้อยกว่า 7 บรรทัดส่งท้ายชั่วโมง