วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่
ผู้สอน ชื่อ – สกุล นายภุชงค์ พุดกุเรือ เอกวิชาคณิตศาสตร์ ชื่อ – สกุล นายภุชงค์ พุดกุเรือ เอกวิชาคณิตศาสตร์ แผนกวิชาสามัญ – สัมพันธ์ วิทยาลัยการอาชีพบัวใหญ่ เกิดวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ ปัจจุบันอายุ ๒๔ ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา
ตรีโกณมิติ เรื่อง sin 30 cos 45 tan 60 cosec 37 sec 53 cot 90 arcsin 50 arccos 70 arctan 15
จุดประสงค์การเรียนรู้ สามารถอธิบายรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยใช้ทฤษฎีบทปีทากอรัสได้ เมื่อกำหนดด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากมาให้ 2 ด้านแล้ว สามารถบอกด้านที่เหลือได้ บอกนิยามฟังก์ชันตรีโกณมิติทั้ง 6 ฟังก์ชันในรูปของความยาวของด้านสามเหลี่ยมมุมฉากได้ เมื่อกำหนดความยาวของด้านสามเหลี่ยมมุมฉากมาให้ สามารถหาฟังก์ชันตรีโกณมิติจากรูปสามเหลี่ยมมุมฉากนั้นได้ สามารถประยุกต์ใช้ตรีโกณมิติในชีวิตประจำวันได้
ทฤษฎีบทปีทากอรัส ทฤษฎีบทปีทากอรัส เป็นทฤษฎีบทที่เกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันของด้านสองด้านที่ประกอบมุมฉาก เรียกว่า ด้านประกอบมุมฉาก และด้านที่อยู่ตรงข้ามกับมุมฉาก เรียกว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ดังรูป B c a A b C จากรูป เรียกด้าน a และด้าน b ว่า ด้านประกอบมุมฉาก เรียกด้าน c ว่า ด้านตรงข้ามมุมฉาก ทฤษฎีบทปีทากอรัสของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้กล่าวว่า ผลบวกของกำลังสองของด้านประกอบมุมฉากเท่ากับค่ากำลังสองของด้านตรงข้ามมุมฉาก หรือเขียนเป็นสมการได้เป็น c2 = a2 + b2
ตรีโกณมิติ ตรีโกณมิติ (Trigonometry) หมายถึง มุมสามมุม หรือการวัดเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยม จากรูป ABC เป็นสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยมีมุม C เป็นมุมฉาก มุม A และมุม B เป็นจุดยอดมุมอีก 2 มุม ให้ a, b, c แทนความยาวของด้านตรงข้ามมุม A, B, C ตามลำดับ ความยาวของด้านของสามเหลี่ยมมุมฉากมีความสัมพันธ์กันคือ c2 = a2 + b2 เมื่อคิดเทียบกับมุม A จะเรียก a ว่าด้านตรงข้ามมุม A b ว่าด้านประชิดมุม A c ว่าด้านตรงข้ามมุมฉาก
ดังนั้นฟังก์ชันตรีโกณมิติของมุม A เราอาจนิยามความยาวของด้านของรูปสามเหลี่ยมมุมฉากได้ดังนี้
การประยุกต์ใช้ ตรีโกณมิติ
การประยุกต์ใช้ตรีโกณมิติ
คณิตศาสตร์...ไปช้า ๆ มันไม่ใช่เรื่องยาก แค่ใส่ใจ...ก็ไปโลด
สวัสดี...