นโยบายและแนวทางการดำเนินงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี ปีงบประมาณ 2556 นายแพทย์สมิต ประสันนาการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี
นโยบายการบริหารงาน กระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว)
ภายในทศวรรษต่อไป คนไทย วิสัยทัศน์ ภายในทศวรรษต่อไป คนไทย ทุกคนจะมีสุขภาพแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจของการทำงาน พัฒนาระบบสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ ทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและรักษาโรค รวมทั้งฟื้นฟูสภาพ เป็นระบบที่มีความมั่นคงสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศ มีการทำงานประสานกันแบบบูรณาการทั้งภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์และสนองต่อนโยบายของรัฐบาล พัฒนาระบบการทำงานที่ขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายระหว่างผู้ทำงานร่วมกัน ตลอดจนเกิดคุณค่าต่อยอดและความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ภารกิจงานเร่งด่วน พัฒนาระบบฉุกเฉินเพื่อรองรับอุบัติเหตุโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่กำลังจะเข้ามาถึง การดูแลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ เด็ก สตรี ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาส ผ่านศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พึ่งได้และโครงการ EWEC การแก้ปัญหาผู้ติดยาเสพติดทั้งในด้านการป้องกันและการบำบัดรักษา ให้เกิดการคัดกรองแบ่งกลุ่ม รูปแบบการรักษา ตลอดจนการติดตามแบบใหม่ การปรับปรุงคุณภาพด้านการบริการประชาชน เช่น การลดคิวและระยะเวลารอคอยการรับบริการของผู้ป่วย ประชาชนทุกครัวเรือนมีหมอใกล้บ้านใกล้ใจ ติดต่อได้ทุกเวลา
ภารกิจงานเร่งด่วน การดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย เช่น เด็ก สตรี ผู้สูงอายุตามนโยบายรัฐบาล และกลุ่มโรคเช่น โรคเบาหวาน ภาวะความดันโลหิตสูงที่มีภาระโรคแทรกซ้อนสูง การขยายการบูรณาการการจัดบริการผู้ป่วยที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศของสามกองทุน เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง โครงการในพระราชดำริทุกโครงการ การทบทวนงบลงทุน DPL ให้มีประสิทธิภาพ คุ้มค่า ตรงต่อความต้องการ และการจัดเตรียมงบประมาณปี 2557 ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2556
นโยบาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระบวนการส่งเสริมสุขภาพ กำหนดเป้าหมาย มาตรการ ตามกลุ่มอายุ เชิงประเด็นและนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล กลุ่มอายุ/ประชากร เด็กและสตรี (EWEC) 0-6 วัยรุ่น วัยแรงงาน สูงอายุ ผู้พิการ ประเด็น โครงการพระราชดำริ อาหารปลอดภัย โรคเรื้อรัง สุขภาพผู้นำศาสนา (พระสงฆ์) อื่นๆ เช่น แท๊กซี่
2.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) ปรับแนวคิดการจัดระบบบริการ เพื่อจัดทำแผนทรัพยากร จัดบริการเพื่อแก้ไข ปัญหาสุขภาพ ในพื้นที่ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครือข่ายร่วมกัน ตั้งแต่ รพ.สต. ถึง รพศ.
2.การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) เริ่มที่ 8 ประเด็น 1) โรคหัวใจและหลอดเลือด (NCD เบาหวาน ความดัน) 2) มะเร็ง 3) อุบัติเหตุ 4) ทารกแรกเกิด, อนามัยแม่และเด็ก 5) สุขภาพจิต และจิตเวช 6) ปัญหาบริการ ใน 5 สาขา (สูติ ศัลย อายุรกรรม เด็ก กระดูก) 7) ปัญหาเฉพาะ (ตาและไต) 8) ปัญหาบริการด้านอื่นๆ เช่น การฟื้นฟูสภาพ , การจัดบริการเขตเมือง
นโยบายการดำเนินงาน ปี 2556 นายแพทย์ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 6
นโยบายการดำเนินงาน ปี 2556 ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพที่ 6 คน เน้นประสิทธิภาพ ประเมินตาม MOU KPI ตามประเด็นยุทธศาสตร์ เงิน โรงพยาบาลมีแผนเงินบำรุง KPI โรงพยาบาลสีเขียวด้านการเงิน การจัดระบบบริการ จัดทำแผนงานให้สอดคล้องกลุ่มอายุ เน้นการพัฒนาตาม Service Plan การตรวจเยี่ยมเน้นถึงระดับพื้นที่ อำเภอ โรงพยาบาลชุมชน รพ.สต.
นโยบายการดำเนินงาน ปี 2556 3 ธงนำ 4 เข็มมุ่ง นายสมิต ประสันนาการ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี
3 ธงนำ 1.ลดคนป่วย - โรคไม่ติดต่อ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม - โรคติดต่อ โรคไข้เลือดออก , วัณโรค - โรคแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์ , ลดผู้ป่วยติดเตียง ทุกกลุ่มอายุ, ลดผู้พิการรายใหม่ 2.เพิ่มคนสุขภาพดี - กลุ่มเด็ก 0-5 ปี มุ่งเน้น เพิ่ม IQ EQ – กลุ่มผู้สูงอายุ ติดเตียง ให้การดูแล เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน - ใช้นโยบาย 3อ. 2ส. 3.ขยายการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน - ศูนย์เด็กเล็ก ดำเนินงานร่วมกับ อบจ./เทศบาล/อบต. - โรงเรียน ดำเนินงานร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ และเทศบาล - โรงงาน ดำเนินงานร่วมกับ กระทรวงแรงงาน และภาคเอกชน - ชุมชน ดำเนินงานร่วมกับ ภาครัฐทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ภาคท้องถิ่นและภาคเอกชน
4 เข็มมุ่ง เข็มมุ่งที่ 1 : พัฒนาระบบบริการตาม Service Plan 1.1 เพื่อให้ประชาชนได้รับ Insurance ครอบคลุม 100% Accessibility มากกว่า 90% Quality ครอบคลุม 100% 1.2 เพื่อพัฒนาเป็นเครือข่ายบริการไร้รอยต่อมีเครือข่ายในจังหวัดชลบุรี (ระดับ S) (ระดับ M1) (ระดับ M2) 1.3 เพื่อให้หน่วยบริหาร หน่วยบริการ ในจังหวัดชลบุรี มีการดำเนินการตามแผนโครงสร้าง แผนทรัพยากรและแผนพัฒนาคุณภาพ เข็มมุ่งที่ 2 : พัฒนาระบบข้อมูลของ สสจ.ชลบุรี และหน่วยบริการทุกระดับ 2.1 เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลเป็น Electronic Report 2.2 เพื่อพัฒนาข้อมูลการคัดกรองประชาชนทั้ง 1,300,000 คน แยกตามกลุ่มสภาวะ เป็นกลุ่มดี เสี่ยง ป่วยเรื้อรัง และหรือพิการ 2.3 เพื่อพัฒนาข้อมูลการให้บริการ 21 แฟ้ม 12 แฟ้ม และการคืนข้อมูลจากโรงพยาบาลทั่วไป/ โรงพยาบาลชุมชน ไปยัง รพ.สต. 2.4 เพื่อพัฒนาข้อมูลการเงินการคลังของหน่วยบริการ , Unit cost 2.5 เพื่อพัฒนาให้ สสจ.ชลบุรี เป็น Data Center ของระบบข้อมูลสาธารณสุขโดยใช้ระบบของศูนย์เทคโนโลยีและสารสนเทศ (สป.)
เข็มมุ่งที่ 3 : พัฒนาศักยภาพของบุคลากร 3.1 มุ่งเน้น On The Job Training 3.2 ใช้ CBL เป็นเครื่องมือในการพัฒนา (Hospital based + Community based) พัฒนาแพทย์ที่ปรึกษา และ นสค. 3.3 พัฒนาทีมนิเทศงานปฐมภูมิของอำเภอ เข็มมุ่งที่ 4 : พัฒนาระบบ Implement งานในพื้นที่ 4.1 ใช้ SRM เป็นเครื่องมือบูรณาการทุกภาคส่วนในพื้นที่ โดยเฉพาะ อปท. 4.2 วิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพประชากร แยกรายตำบล โดยเฉพาะกลุ่ม CANDO เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 4.3 จัดทำโครงการที่มุ่งเน้นให้เกิด Impact ในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพที่ดีขึ้นในประชาชน กลุ่มเป้าหมาย (10 prevention 20 prevention 30 prevention) 4.4 มีคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการระดับอำเภอ ระดับจังหวัด
แนวทางการดำเนินงาน 1. แต่งตั้งคณะทำงาน 4 ชุด ชุดที่ 1 การจัดทำ Service Plan ชุดที่ 2 การพัฒนาระบบข้อมูล ชุดที่ 3 พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ชุดที่ 4 พัฒนาระบบ Implement งานในพื้นที่ 2. กำหนดเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดในแต่ละเข็มมุ่ง 3. วิเคราะห์ส่วนขาดและสนับสนุน Input ให้แก่หน่วยบริการทุกระดับ 4. จัดทำ Flow chart กระบวนการพัฒนา เพื่อการสื่อสารทุกระดับ 5. จัดทำผังกำกับงาน และประเมินผลทุก 2 เดือน 6. สรุปผลงานตามเข็มมุ่งทั้งหมด ในเดือน กันยายน 2556
...สวัสดี...