การให้ระดับผลการเรียน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ค่ามัธยฐาน จัดทำโดย อ.เทวี บัวแย้ม.
Advertisements

การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
หลักสูตรโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544
การสร้างแบบทดสอบ อาจารย์ ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์ สมพงษ์ พันธุรัตน์
ไม่อิงพารามิเตอร์เบื้องต้น
สถิติ และ การวิเคราะห์ข้อมูล
1.7 ระเบียบวิธีทางสถิติ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
การตัดเกรด โดย อาจารย์ ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส
การวิเคราะห์ข้อสอบ อาจารย์ปรีชา เครือวรรณ อาจารย์สมพงษ์ พันธุรัตน์
แนวคิดการจัดการเรียนรู้ และมาตรฐาน งานการวัดและประเมินผล ในสถานศึกษา
เทคนิคการประเมินผลการเรียนการสอน (การให้ระดับคะแนน:เกรด)
การเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
การวางแผนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริหารและครูต่อสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดย เสมา แสนยากร.
ชี้แจงการประเมินผลการปฏิบัติงาน
การตัดเกรด อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
บทที่ 6 สถิติที่ใช้ในการ วัดผลการศึกษา. การวิเคราะห์ข้อสอบ ก่อนนำไปใช้  จุดมุ่งหมาย เพื่อนำผลการวิเคราะห์ ไปเป็นข้อมูลในการ ปรับปรุงแก้ไขข้อสอบ ก่อนที่จะนำข้อสอบไปใช้
การเขียนรายงานการใช้เอกสารประกอบการสอน
การวัดและประเมินพัฒนาการของผู้เรียน
ผลงาน ความรู้ ความคิดของผู้เรียน ทักษะ การปฏิบัติ ของผู้เรียน คุณลักษณะ ค่านิยม คุณธรรม ของผู้เรียน.
การศึกษาความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนของนิสิตนักศึกษาครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ วิชาเอกคณิตศาสตร์
การทดสอบสมมติฐาน
1 การสัมมนาผู้ตรวจ ประเมินคุณภาพภายใน ปีการศึกษา 2552 วันพฤหัสบดีที่ 21 ตุลาคม 2553 ณ ห้องประชุม 3222 อาคารสิริคุณากร.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ สาระ ดนตรี เรื่อง การเรียนดนตรีพื้นบ้านของจังหวัดน่าน.
การแจกแจงปกติ.
การวัดผล (Measurement)
มาตรฐานการวัด การประเมินและ การประกันคุณภาพภายใน
บทที่ 9 สถิติที่ใช้ในการประเมินผล
Cooperative Education
การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบอัตนัย
การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ สำนักทดสอบทางการศึกษา สพฐ.
คะแนนและความหมายของคะแนน
สรุปสถิติ ค่ากลาง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต เรียงข้อมูล ตำแหน่งกลาง มัธยฐาน
การสร้างและการหาคุณภาพเครื่องมือวิจัย
นางเจริญสุข ผ่องภักดี
ศึกษาการแก้ปัญหาพฤติกรรมการไม่ตั้งใจเรียน
หลักการวัดและประเมินผล การเรียนรู้ - เพื่อพัฒนาผู้เรียนและตัดสิน ผลการเรียน - สอดคล้องครอบคลุมมาตรฐานการ เรียนรู้ / ตัวชี้วัด - ดำเนินการหลากหลายวิธี เหมาะสมกับสิ่งวัด.
ชื่อเรื่อง. ผลของการพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มอ่อน
การประชุม ผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ม.1 ปีการศึกษา 2557
วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต อำเภอเมือง จังหวัด ภูเก็ต
ผู้วิจัย อาจารย์วิโรจน์ เด่นวานิช
ผลงานวิจัยเรื่อง “ การพัฒนาทักษะการต่อวงจรการทำงานแบบอัตโนมัติกระบอกสูบแบบสองทางใน วิชางานนิวแมติกส์และไฮดรอลิกส์ โดยวิธีการใช้วงจรฝึกปฏิบัติพร้อมแบบประเมินผลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่
การวิเคราะห์คุณภาพแบบทดสอบ (Test Quality Analysis)
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
จัดทำโดย นางสาว อรปรียา พ่วงจันทร์ เลขที่ 26 นางสาว นภาพร นฤสุข เลขที่ 38 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์
นายสุชาติ ประวัติ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก (อี.เทค)
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
การประชุม ผู้ปกครองนักเรียน ชั้น ม.2 ปีการศึกษา 2557
การใช้โปรแกรม GSP พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ
วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
แบบทดสอบก่อนเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การนำเสนอข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล คะแนนเต็ม 10 คะแนน.
ผู้วิจัย : นางนิตยา งามยิ่งยง วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ( สยามเทค )
วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการเชียงใหม่
ศึกษาการสอนแบบการฟังและพูดของครูกับนักศึกษา
ชื่อผู้วิจัย จิติวัฒน์ สืบเสนาะ วิทยาลัยเทคโนโลยีระยองบริหารธุรกิจ
การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้แบบฝึกการอ่านของนักเรียนระดับ ปวช
วิทยาลัยเทคโนโลยีวิศวกรรม บริหารธุรกิจ
ผู้วิจัย : นางสาวสรชา เฟื่องสังข์
ผู้วิจัย นายไพรัตน์ ศิลปสาตร์ สังกัด วิทยาลัยเทคโนโลยีภูเก็ต
การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 วิชา วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ( )
การวัดและประเมินผล.
ผลการประเมิน คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา
วิทยาลัยเทคโนโลยีชุมพรบริหารธุรกิจ อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร
การทดลองใช้เอกสารประกอบการเรียน ในวิชาบัญชีเบื้องต้น 2
การใช้ข้อสอบกลางในการ สอบปลายปี
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการสร้างเว็บเพจ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตร วิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 โรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย ที่ได้รับการสอนแบบ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

การให้ระดับผลการเรียน สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

การตัดเกรด (Grading) การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน หรือ การตัดเกรด เป็นขั้นตอนของการประเมินผล (evaluation) โดยการนำผลที่ได้จากการวัดผลการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนมาพิจารณาตัดสินหรือกำหนดระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ว่า เก่ง-อ่อน อยู่ในระดับใด

ระบบเกรด 2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย S (ผ่าน)   2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย S (ผ่าน) G (ดี) A 4.0 ดีเยี่ยม (excellent) B B+ 3.5 ดีมาก (very good) 3.0 ดี (good) P (ผ่าน) C C+ 2.5 ค่อนข้างดี (fairly good) 2.0 พอใช้ (fair) D D+ 1.5 อ่อน (poor) 1.0 อ่อนมาก (very poor) U (ไม่ผ่าน) F (ตก) F 0.0 ตก (fail)

ความถูกต้องและเหมาะสมในการตัดเกรด ผลการวัด เป็นข้อมูลที่ได้จากวัดผลผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการทดสอบ การสังเกต การปฏิบัติงาน ฯ และใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา เป็นระดับความต้องการ หรือความคาดหวัง หรือเป้าหมาย หรือ มาตรฐาน ที่ใช้เปรียบเทียบและตัดสินระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ของผู้เรียน วิจารณญาณของผู้ประเมิน ที่จะต้องใช้ความเป็นธรรม พิจารณาอย่างรอบคอบ ถูกต้อง และเหมาะสม

การตัดเกรดเชิงสมบูรณ์ (absolute grading) นิยมเรียกว่าการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced) มีแนวคิดมาจากทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ แบบทดสอบมีความตรงตามเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สำคัญของวิชา ตัดสินผลการเรียนโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เหมาะสำหรับการประเมินผลเพื่อพัฒนาระหว่างเรียน (formative evaluation)

การตัดเกรดแบบอิงมวลความรู้ (domain-referenced grading) มีการกำหนดหรือถือว่าข้อสอบที่ครูสร้างขึ้นเป็นตัวแทนที่ดีของข้อสอบทั้งหมดที่ใช้วัดมวลความรู้หรือความรอบรู้ในวิชานั้นๆ คะแนนที่ได้จากการทดสอบถือว่าเป็นปริมาณความรอบรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ มีการกำหนดจุดตัดและช่วงคะแนนของแต่ละเกรดไว้ล่วงหน้า ตามความเชื่อพื้นฐานของครู ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ความยากของข้อสอบ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด แบบอิงมวลความรู้ A คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม B คะแนน ร้อยละ 70-79 C คะแนน ร้อยละ 60-69 D คะแนน ร้อยละ 50-59 F คะแนน ร้อยละ 0-49

การตัดเกรดแบบอิงจุดประสงค์ (objective-referenced grading) บางรายวิชามีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้หลายอย่างที่แตกต่างกัน และไม่สามารถนำคะแนนมารวมกันได้อย่างมีความหมาย ให้พิจารณากำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้ในแต่ละจุดประสงค์ว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน กำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้โดยภาพรวมของวิชานั้นๆ

ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด แบบอิงจุดประสงค์ A เมื่อสอบผ่านจุดประสงค์ทั้งหมด B เมื่อสอบผ่านเฉพาะจุดประสงค์หลัก C เมื่อสอบผ่านไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด D เมื่อสอบผ่านไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด F เมื่อสอบผ่านน้อยกว่า 1 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด

การตัดเกรดเชิงสัมพันธ์ (relative grading) นิยมเรียกว่า การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (norm-referenced grading) มีแนวคิดมาจากทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล และเชื่อว่าความรู้ความสามารถของผู้เรียนมีการกระจายแบบการแจกแจงปกติ การวัดผลต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันหรือคู่ขนานกัน มี ความตรง ความเที่ยง สูง และ ข้อสอบมีค่าความยาก อำนาจจำแนก เหมาะสม การตัดสินผลการเรียนว่าเก่งหรืออ่อนจะใช้การเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เรียนทั้งหมด เหมาะสำหรับการประเมินเพื่อสรุปผลปลายภาคเรียน (summative evaluation)

การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วน ของแต่ละเกรด จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และมีการแจกแจงของคุณลักษณะเหล่านั้นเป็นโค้งปกติ จึงมีการกำหนดสัดส่วนหรือจำนวนของแต่ละเกรดได้

C A F B D

การตัดเกรดโดยใช้ค่าพิสัย เรียงคะแนนจากสูงสุดไปหาต่ำสุด หาความถี่ของแต่ละคะแนน หาค่าพิสัย (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด) กำหนดจำนวนเกรด เช่น 5 เกรด (A-F) หาช่วงห่างระหว่างเกรด (พิสัย/จำนวนเกรด, เศษปัดขึ้น) แบ่งช่วงคะแนนของแต่ละเกรด

ตัวอย่างคะแนนสอบของนักเรียน 90 คน ความถี่ 58 1 40 2 28 3 56 39 27 55 38 26 4 51 37 5 25 6 50 36 24 49 35 23 47 34 7 22 46 33 21 45 32 20 44 31 18 42 30 15 41 29

ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด โดยใช้พิสัย คะแนนสูงสุด = 58 คะแนนต่ำสุด = 15 พิสัย = 58-15 =43 กำหนดจำนวนเกรด = 5 ช่วงห่างระหว่างเกรด = 43/5 = 8.6 ปัดเป็น 9 เกรด เกณฑ์ A คะแนนระหว่าง 50 – 58 B คะแนนระหว่าง 41 – 49 C คะแนนระหว่าง 32 – 40 D คะแนนระหว่าง 23 – 31 F คะแนนระหว่าง 15 – 22

การตัดเกรดโดยใช้ค่ามัธยฐาน ผู้สอนจะต้องประเมินกลุ่มผู้เรียนว่ามีความสามารถโดยภาพรวมอยู่ในระดับใด (จาก 7 ระดับ) หรือพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งกลุ่ม ในภาคการเรียนที่ผ่านมา กำหนดค่าจุดต่ำสุดของเกรดสูงสุดที่จะให้ (lower limit factor) จากตารางพิจารณาระดับความสามารถของ Dewey B.Stuit หาค่ามัธยฐาน (median) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนน คำนวณจุดตัดของเกรดสูงสุด ส่วนจุดของเกรดถัดไปให้ลบจุดตัดด้วย ค่า SD

ตารางพิจารณาระดับความสามารถ ระดับความสามารถของกลุ่ม คะแนนจีพีเอ(GPA) ร้อยละของเกรด A B C D F ตามลำดับ Lower limit factor 1. ดีเยี่ยม หรือดีเลิศ 2.80 24% 38% 29% 08% 01% 0.7 2. ดีมาก 2.60 18% 36% 32% 12% 02% 0.9 3. ดี 2.40 13% 33% 36% 15% 03% 1.1 4. ค่อนข้างดี 2.20 10% 29% 37% 20% 04% 1.3 5. พอใช้ (ปานกลาง) 2.00 07% 24% 38% 24% 07% 1.5 6. อ่อน 1.80 04% 20% 37% 29% 10% 1.7 7. อ่อนมาก 1.60 03% 15% 36% 32% 14% 1.9

ตัวอย่างการตัดเกรดโดยใช้มัธยฐาน คะแนน จำนวนคน 33 1 32 2 30 5 29 27 8 25 9 24 7 22 16 15 12 จากตารางแจกแจงความถี่คะแนนของนักเรียน 50 คน สมมติว่าครูผู้สอนประเมินว่านักเรียนทั้งกลุ่มมีความรู้ ความสามารถระดับ ดี และเกรดสูงสุดเป็น A ดังนั้น ค่า lower limit factor = 1.1 หาค่ามัธยฐานได้ 25 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 5 คะแนนจุดตัดของเกรด A = (1.1 x 5) + 25 = 30.5 คิดเป็น 31 ขึ้นไป คะแนนจุดตัดของเกรด B = 31-5 = 26 คะแนนจุดตัดของเกรด C = 26-5 = 21 คะแนนจุดตัดของเกรด D = 21-5 = 16 คะแนนที่เกรด F คือตั้งแต่ 15 ลงไป

การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ย ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นตัวกำหนดช่วงห่างของแต่ละเกรด โดยถือว่าคะแนนมีการแจกแจงแบบปกติ เกรด เกณฑ์ A คะแนนตั้งแต่ ขึ้นไป B คะแนนระหว่าง ถึง C D F คะแนนตั้งแต่ ลงไป

การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม แบบอื่นๆ การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน Z การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน T การตัดเกรด โดยใช้ช่องว่าง

เอกสารอ้างอิง จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประกฤติยา ทักษิโณ. (2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประภาพร ศรีตระกูล. (2549). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พัชรี จันทร์เพ็ง. (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2554). ความรู้ด้านการวัดผล การประเมิน การวิจัย และ สถิติ ทางการศึกษา. (http://home.kku.ac.th/sompo_pu/spweb/) ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.