การให้ระดับผลการเรียน สมพงษ์ พันธุรัตน์ สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การตัดเกรด (Grading) การตัดสินผลการเรียน การให้ระดับผลการเรียน หรือ การตัดเกรด เป็นขั้นตอนของการประเมินผล (evaluation) โดยการนำผลที่ได้จากการวัดผลการเรียนรู้ตลอดภาคเรียนมาพิจารณาตัดสินหรือกำหนดระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ว่า เก่ง-อ่อน อยู่ในระดับใด
ระบบเกรด 2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย S (ผ่าน) 2 เกรด 3 เกรด 5 เกรด 8 เกรด สัญลักษณ์ ระดับ ความหมาย S (ผ่าน) G (ดี) A 4.0 ดีเยี่ยม (excellent) B B+ 3.5 ดีมาก (very good) 3.0 ดี (good) P (ผ่าน) C C+ 2.5 ค่อนข้างดี (fairly good) 2.0 พอใช้ (fair) D D+ 1.5 อ่อน (poor) 1.0 อ่อนมาก (very poor) U (ไม่ผ่าน) F (ตก) F 0.0 ตก (fail)
ความถูกต้องและเหมาะสมในการตัดเกรด ผลการวัด เป็นข้อมูลที่ได้จากวัดผลผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ด้วยการทดสอบ การสังเกต การปฏิบัติงาน ฯ และใช้เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ เกณฑ์การพิจารณา เป็นระดับความต้องการ หรือความคาดหวัง หรือเป้าหมาย หรือ มาตรฐาน ที่ใช้เปรียบเทียบและตัดสินระดับคุณภาพของผลการเรียนรู้ของผู้เรียน วิจารณญาณของผู้ประเมิน ที่จะต้องใช้ความเป็นธรรม พิจารณาอย่างรอบคอบ ถูกต้อง และเหมาะสม
การตัดเกรดเชิงสมบูรณ์ (absolute grading) นิยมเรียกว่าการตัดเกรดแบบอิงเกณฑ์ (criterion-referenced) มีแนวคิดมาจากทฤษฎีการเรียนเพื่อรอบรู้ แบบทดสอบมีความตรงตามเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สำคัญของวิชา ตัดสินผลการเรียนโดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ล่วงหน้า เหมาะสำหรับการประเมินผลเพื่อพัฒนาระหว่างเรียน (formative evaluation)
การตัดเกรดแบบอิงมวลความรู้ (domain-referenced grading) มีการกำหนดหรือถือว่าข้อสอบที่ครูสร้างขึ้นเป็นตัวแทนที่ดีของข้อสอบทั้งหมดที่ใช้วัดมวลความรู้หรือความรอบรู้ในวิชานั้นๆ คะแนนที่ได้จากการทดสอบถือว่าเป็นปริมาณความรอบรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่ มีการกำหนดจุดตัดและช่วงคะแนนของแต่ละเกรดไว้ล่วงหน้า ตามความเชื่อพื้นฐานของครู ธรรมชาติของเนื้อหาวิชา ความยากของข้อสอบ และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด แบบอิงมวลความรู้ A คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม B คะแนน ร้อยละ 70-79 C คะแนน ร้อยละ 60-69 D คะแนน ร้อยละ 50-59 F คะแนน ร้อยละ 0-49
การตัดเกรดแบบอิงจุดประสงค์ (objective-referenced grading) บางรายวิชามีการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้หลายอย่างที่แตกต่างกัน และไม่สามารถนำคะแนนมารวมกันได้อย่างมีความหมาย ให้พิจารณากำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้ในแต่ละจุดประสงค์ว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน กำหนดเกณฑ์และตัดสินผลการเรียนรู้โดยภาพรวมของวิชานั้นๆ
ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด แบบอิงจุดประสงค์ A เมื่อสอบผ่านจุดประสงค์ทั้งหมด B เมื่อสอบผ่านเฉพาะจุดประสงค์หลัก C เมื่อสอบผ่านไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด D เมื่อสอบผ่านไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด F เมื่อสอบผ่านน้อยกว่า 1 ใน 3 ของจุดประสงค์ทั้งหมด
การตัดเกรดเชิงสัมพันธ์ (relative grading) นิยมเรียกว่า การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม (norm-referenced grading) มีแนวคิดมาจากทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคล และเชื่อว่าความรู้ความสามารถของผู้เรียนมีการกระจายแบบการแจกแจงปกติ การวัดผลต้องใช้แบบทดสอบฉบับเดียวกันหรือคู่ขนานกัน มี ความตรง ความเที่ยง สูง และ ข้อสอบมีค่าความยาก อำนาจจำแนก เหมาะสม การตัดสินผลการเรียนว่าเก่งหรืออ่อนจะใช้การเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้เรียนทั้งหมด เหมาะสำหรับการประเมินเพื่อสรุปผลปลายภาคเรียน (summative evaluation)
การตัดเกรดโดยกำหนดสัดส่วน ของแต่ละเกรด จากแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์มีคุณลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน และมีการแจกแจงของคุณลักษณะเหล่านั้นเป็นโค้งปกติ จึงมีการกำหนดสัดส่วนหรือจำนวนของแต่ละเกรดได้
C A F B D
การตัดเกรดโดยใช้ค่าพิสัย เรียงคะแนนจากสูงสุดไปหาต่ำสุด หาความถี่ของแต่ละคะแนน หาค่าพิสัย (คะแนนสูงสุด – คะแนนต่ำสุด) กำหนดจำนวนเกรด เช่น 5 เกรด (A-F) หาช่วงห่างระหว่างเกรด (พิสัย/จำนวนเกรด, เศษปัดขึ้น) แบ่งช่วงคะแนนของแต่ละเกรด
ตัวอย่างคะแนนสอบของนักเรียน 90 คน ความถี่ 58 1 40 2 28 3 56 39 27 55 38 26 4 51 37 5 25 6 50 36 24 49 35 23 47 34 7 22 46 33 21 45 32 20 44 31 18 42 30 15 41 29
ตัวอย่างเกณฑ์ตัดเกรด โดยใช้พิสัย คะแนนสูงสุด = 58 คะแนนต่ำสุด = 15 พิสัย = 58-15 =43 กำหนดจำนวนเกรด = 5 ช่วงห่างระหว่างเกรด = 43/5 = 8.6 ปัดเป็น 9 เกรด เกณฑ์ A คะแนนระหว่าง 50 – 58 B คะแนนระหว่าง 41 – 49 C คะแนนระหว่าง 32 – 40 D คะแนนระหว่าง 23 – 31 F คะแนนระหว่าง 15 – 22
การตัดเกรดโดยใช้ค่ามัธยฐาน ผู้สอนจะต้องประเมินกลุ่มผู้เรียนว่ามีความสามารถโดยภาพรวมอยู่ในระดับใด (จาก 7 ระดับ) หรือพิจารณาจากเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนทั้งกลุ่ม ในภาคการเรียนที่ผ่านมา กำหนดค่าจุดต่ำสุดของเกรดสูงสุดที่จะให้ (lower limit factor) จากตารางพิจารณาระดับความสามารถของ Dewey B.Stuit หาค่ามัธยฐาน (median) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ของคะแนน คำนวณจุดตัดของเกรดสูงสุด ส่วนจุดของเกรดถัดไปให้ลบจุดตัดด้วย ค่า SD
ตารางพิจารณาระดับความสามารถ ระดับความสามารถของกลุ่ม คะแนนจีพีเอ(GPA) ร้อยละของเกรด A B C D F ตามลำดับ Lower limit factor 1. ดีเยี่ยม หรือดีเลิศ 2.80 24% 38% 29% 08% 01% 0.7 2. ดีมาก 2.60 18% 36% 32% 12% 02% 0.9 3. ดี 2.40 13% 33% 36% 15% 03% 1.1 4. ค่อนข้างดี 2.20 10% 29% 37% 20% 04% 1.3 5. พอใช้ (ปานกลาง) 2.00 07% 24% 38% 24% 07% 1.5 6. อ่อน 1.80 04% 20% 37% 29% 10% 1.7 7. อ่อนมาก 1.60 03% 15% 36% 32% 14% 1.9
ตัวอย่างการตัดเกรดโดยใช้มัธยฐาน คะแนน จำนวนคน 33 1 32 2 30 5 29 27 8 25 9 24 7 22 16 15 12 จากตารางแจกแจงความถี่คะแนนของนักเรียน 50 คน สมมติว่าครูผู้สอนประเมินว่านักเรียนทั้งกลุ่มมีความรู้ ความสามารถระดับ ดี และเกรดสูงสุดเป็น A ดังนั้น ค่า lower limit factor = 1.1 หาค่ามัธยฐานได้ 25 หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานได้ 5 คะแนนจุดตัดของเกรด A = (1.1 x 5) + 25 = 30.5 คิดเป็น 31 ขึ้นไป คะแนนจุดตัดของเกรด B = 31-5 = 26 คะแนนจุดตัดของเกรด C = 26-5 = 21 คะแนนจุดตัดของเกรด D = 21-5 = 16 คะแนนที่เกรด F คือตั้งแต่ 15 ลงไป
การตัดเกรดโดยใช้ค่าเฉลี่ย ใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นตัวกำหนดช่วงห่างของแต่ละเกรด โดยถือว่าคะแนนมีการแจกแจงแบบปกติ เกรด เกณฑ์ A คะแนนตั้งแต่ ขึ้นไป B คะแนนระหว่าง ถึง C D F คะแนนตั้งแต่ ลงไป
การตัดเกรดแบบอิงกลุ่ม แบบอื่นๆ การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน Z การตัดเกรดโดยใช้คะแนนมาตรฐาน T การตัดเกรด โดยใช้ช่องว่าง
เอกสารอ้างอิง จตุภูมิ เขตจัตุรัส. (2556). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประกฤติยา ทักษิโณ. (2555). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ประภาพร ศรีตระกูล. (2549). การวัดและประเมินผลการศึกษา. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. พัชรี จันทร์เพ็ง. (2557). การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในชั้นเรียน. ขอนแก่น:คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สมพงษ์ พันธุรัตน์. (2554). ความรู้ด้านการวัดผล การประเมิน การวิจัย และ สถิติ ทางการศึกษา. (http://home.kku.ac.th/sompo_pu/spweb/) ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.