การวิเคราะห์เนื้อหา
เนื้อหา ความหมายการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา โครงสร้างเนื้อหา
ความหมายการวิเคราะห์เนื้อหา เบอเรลสัน ได้ให้ความหมายของการวิเคราะห์เนื้อหาว่า การวิเคราะห์เนื้อหาเป็นเทคนิคการวิจัยอย่างหนึ่ง เพื่ออธิบายเนื้อหาสาระ ของการสื่อสารอย่างมีหลักเกณฑ์มีระบบและสามารถอธิบายในเชิง ปริมาณได้ด้วย หรืออาจกล่าวไดว่า เป็นการศึกษาถึงเนื้อหาสาระสำคัญ เพื่อให้ได้มาซึ่งเนื้อหา (content) ของสื่อการสอน
ขั้นตอนการวิเคราะห์เนื้อหา การสร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart Creation) สร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart) สร้างแผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา (Content Network Chart)
การสร้างแผนภูมิระดมสมอง (Brain Storm Chart Creation) จะเป็นการหาหัวข้อหลักที่สัมพันธ์กับเนื้อหาที่จะทำการสอน โดยมีวิธีการทำคือ ให้เขียนชื่อวิชาไว้ตรงกลาง แล้วจึงหาหัวข้อหลักหรือหัวเรื่องที่ควรจะสอนในวิชานั้น หากเป็นหัวข้อรองจะทำการโยงกับหัวข้อหลัก Topic 1 Topic 2 วิชา Topic 3
สร้างแผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ จากแผนภูมิระดมสมอง จะนำมาทำการวิเคราะห์ความถูกต้องของทฤษฎีหลักการและเหตุผลความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน อย่างละเอียด อาจมีการตัด-เพิ่มหัวเรื่องตามเหตุ-ผล และความเหมาะสม จนสามารถอธิบายและตอบคำถามได้ ผลที่ได้เป็นแผนภูมิที่เรียกว่า แผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ (Concept Chart) โดยมีขั้นตอนการเขียนดังนี้ นำแผนภูมิระดมสมองมาพิจาณาโดยละเอียดเพื่อจัดกลุ่มของหัวเรื่องที่สัมพันธ์เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งตัดหรือเพิ่มหัวเรื่อง หรือย้ายกลุ่มหัวเรื่องเนื้อหาก็ได้ เพื่อให้ หัวเรื่องต่าง ๆ สอดคล้องสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
แผนภูมิโครงข่ายเนื้อหา เป็นนำหัวเรื่องต่าง ๆ จาก แผนภูมิหัวเรื่องสัมพันธ์ เป็นโครงข่ายตามหลักการเทคนิคโครงข่าย โดยคำนึงถึงลำดับการเรียนเนื้อหาก่อน-หลัง ความต่อเนื่องของเนื้อหาหรือเนื้อหานั้นสามารถเรียนแบบขนานกันได้ไม่เกี่ยวข้องกัน แล้วทำการวิเคราะห์เหตุผลความสัมพันธ์ของเนื้อหาโดย วิธีการวิเคราะห์ข่ายงาน(Network Analysis) ซึ่งผลของการสร้างโครงข่ายเนื้อหานี้ จะมีผลต่อการออกแบบระบบเมนูและการ ควบคุมบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขณะที่ใช้บทเรียนด้วย
โครงสร้างเนื้อหา โครงสร้างตามแนวตั้ง โครงสร้างตามแนวนอน โครงสร้างแบบผสม
โครงสร้างตามแนวตั้ง โครงสร้างเนื้อหาแบบนี้มีการเรียงลำดับเนื้อหาย่อยตามลำดับชั้น เนื้อหาที่มีโครงสร้างตามแนวตั้ง มักเป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง หลักการ และกระบวนการที่ต้องแสดงให้เห็นขั้นตอนตามลำดับขั้น โดยอาจจะแสดงจากสิ่งเล็กไปหาสิ่งใหญ่ หรือจากสิ่งใหญ่ไปหาสิ่งที่เล็ก
เนื้อหาที่มีโครงสร้างตามแนวนอน โครงสร้างเนื้อหาแบบนี้ไม่มีการเรียงลำดับเนื้อหาย่อย แต่ละเนื้อหามีความหมายและความสำคัญในตัวเอง
เนื้อหาที่มีโครงสร้างแบบผสม เป็นโครงสร้างทั้งตามแนวตั้งและโครงสร้างตามแนวนอน โครงสร้างเนื้อหาแบบนี้จึงเป็นแบบผสมผสาน การนำเสนอเนื้อหาแบบนี้จึงนำเสนอทั้งเป็นลำดับขั้นและไม่เป็นลำดับขั้น