น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007 หลักการการวิจัยการจัดการความรู้ (Principles of Knowledge Management Research) KM704 น.ส.ผาณิตดา แสนไชย รหัสนักศึกษา 542132007
การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาทักษะเกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิ : กรณีศึกษา มูลนิธิโครงการหลวง
ที่มา ความสำคัญ โครงการหลวงได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2512 เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการปลูกฝิ่นของชาวเขา จึงทรงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะให้ชาวเขา เลิกปลูกฝิ่นก็ต้องหาพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่าและมีความเหมาะสมที่จะปลูกในที่สูง มาให้ชาวเขาปลูกทดแทนเป็นรายได้เสียก่อน จึงจะสามารถเลิกปลูกฝิ่นได้ พืชทดแทนที่โครงการหลวงได้นำเข้ามาทำการทดลองปลูกบนที่สูง มีจำนวนมากมาย หลายชนิด ทั้งพันธุ์ไม้ ผลไม้ พืชเมืองหนาวต่างๆมีจำหน่ายตลอดปี ซึ่งเป็นที่รู้จักและนิยมทั่วไป สามารถส่งออกต่างประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศได้
ถั่วอะซูกิ เป็นพืชที่โครงการหลวงกำลังต้องการพัฒนา เพิ่มผลผลิตส่งให้ตลาด และขยายตลาดเติบโตได้ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นพืชใหม่และเป็นพืชตระกูลถั่วที่ยังไม่ได้เข้าอยู่ในระบบตลาดเหมือนถั่วชนิดอื่นๆ เกษตรกรที่เพาะปลูกถั่วอะซูกิมีอยู่ในหลายพื้นที่ได้แก่ ปางอุ๋ง, แกน้อย, ขุนแปะ, หนองเขียว ซึ่งจะมีวิธีการเพาะปลูกที่แตกต่างกันตามขนบธรรมเนียมของแต่ละชนเผ่า พื้นที่เพาะปลูก การใช้สารเคมี เทคโนโลยีในการเพาะปลูก และความสามารถทักษะของแต่ละบุคคล จึงต้องการพัฒนาทักษะของเกษตรกรในด้านการเกษตรที่เหมาะสม และให้ได้ผลผลิตที่ดีมีปริมาณมากขึ้น โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง
โจทย์วิจัย โจทย์วิจัยหลัก - จะสามารถพัฒนาทักษะทางด้านการเกษตรของเกษตรกรผู้เพาะปลูกถั่วอะซูกิได้อย่างไร โจทย์วิจัยรอง - ปัจจุบันการทำเกษตรของเกษตกรเป็นอย่างไร - จะสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการผลิตเดิมได้หรือไม่ อย่างไร - สภาพแวดล้อม พื้นที่การเพาะปลูกเอื้ออำนวยกับการเพาะปลูกได้ดีพอหรือยัง
วัตถุประสงค์ - เพื่อพัฒนา/เพิ่มทักษะให้เกษตรกรด้านแนวทางการเพาะปลูกถั่วอะซูกิ - เพื่อให้เกษตรกรทำการเกษตรยั่งยืน - ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิตได้ โดยไม่มีหนี้สิน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ - เกษตรกรได้รับความรู้ที่เหมาะสมในกระบวนการเพาะปลูกถั่วอะซูกิ - สภาพแวดล้อม พื้นที่เพาะปลูกยังคงอุดมสมบูรณ์ - ลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตสูงขึ้น