วช.เพิ่มมูลค่าทรัพย์สินทางปัญญาสู่เชิงพาณิชย์ จัดโดย ภาคกิจโครงการและประสานงานวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม 2553
หัวข้อการสัมมนา การบริหารจัดการและแนวทางการจดทรัพย์สินทางปัญญาในต่างประเทศ แนวคิด ประสบการณ์ และมุมมองการเลือกผลงานวิจัยเพื่อการจดสิทธิบัตรในประเทศไทย การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT คลินิกทรัพย์สินทางปัญญา เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรที่ไม่กระทบกับการจดสิทธิบัตร เทคนิคการยกร่างคำขอสิทธิบัตร เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ได้ Impact Factor สูงสุด
การบริหารจัดการและแนวทางการจดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศเกาหลี (Ms. Hwa-Young Lee) Typical Intellectual Property PATENTS 20 Years – Filling Date 1.Industrial Application 2.Novelty 3.Inventive step UTILITY MODELS 10 Years – Filling Date 1.Small Invention 2.Product Invention DESIGNS 15 Years – Registration Date I.Examination 1.Novelty 2.Originality 3.Reproductibility II.Without Examination Short life cycle:Textures... TRADEMARKS 10 Years – Registration Date Examination Distinctiveness
การบริหารจัดการและแนวทางการจดทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศสหรัฐอเมริกา (Mr. Gordon Stewart) การบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกาหันมามุ่งเน้นความสำคัญกับการนำเอาสิทธิบัตรไปใช้ประโยชน์มากกว่าการเพิ่มจำนวนสิทธิบัตร กล่าวคือ จดเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ จดเพื่อป้องกันผู้นำไปใช้ จดเพื่อนำไปให้ผู้อื่นใช้สิทธิ์ และจะมีความเข้มงวดในการดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ์
มุมมองการเลือกผลงานวิจัยเพื่อการจดสิทธิบัตรในประเทศไทย (ดร. นภาวรรณ นพรัตนราภรณ์) สวก. จะพิจารณาจากประเด็นดังต่อไปนี้ เทคโนโลยีที่เป็นประเด็น Competitive Advantage Innovative Technology เทคโนโลยีที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์
การยื่นคำขอรับสิทธิบัตรผ่านระบบ PCT (นายวีระศักดิ์ ไม้วัฒนา) สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty) เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCT ที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรที่ไม่กระทบกับการจดสิทธิบัตร (รศ.ดร.วันชัย จันทร์ประเสริฐ) ยังไม่เปิดเผยจนกว่าจะได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตร ยื่นคำขอรับสิทธิบัตรแล้วจึงเปิดเผย เปิดเผยได้ในการแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือการแสดงต่อสาธารณชนของทางราชการ แต่ต้องยื่นจดภายใน 12 เดือน ผู้วิจัยหรือผู้เขียนบทความ พิจารณาเลือกการเขียนบทความด้วยตนเอง ให้ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ และไม่เปิดเผยข้อถือสิทธิ์ สาระสำคัญ หรือรายละเอียดของสิ่งประดิษฐ์
เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ได้ Impact Factors สูงสุด (ศ.ดร.ปิยนาถ บุนนาค) ลักษณะของบทความทางวิชาการที่ดี มีการเรียบเรียงเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสม ช่วยให้ผู้อ่านเกิดความกระจ่างในความรู้ความคิดที่นำเสนอ มีการนำเสนอความรู้ ความคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในเรื่องนั้น ๆ โดยมีหลักฐานทางวิชาการอ้างอิง มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญอันเป็นสาระประโยชน์ที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอแก่ผู้อ่าน มีการอภิปรายให้แนวคิด แนวทางในการนำความรู้ ความคิดที่นำเสนอไปใช้ให้เป็นประโยชน์ มีประเด็นใหม่ ๆ ที่กระตุ้นให้ผู้อ่านเกิดความต้องการสืบเสาะหาความรู้หรือพัฒนาการในประเด็นนั้น ๆ ต่อไป มีการอ้างอิงทางวิชาการและให้แหล่งอ้างอิงทางวิชาการอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ และจรรยาบรรณของนักวิชาการ
เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ได้ Impact Factors สูงสุด (ศ.ดร.ปิยนาถ บุนนาค) ขั้นตอนการเขียนบทความทางวิชาการ เขียนเมื่อวิจัยหรือวิเคราะห์เสร็จแล้ว เลือกหัวข้อหรือเรื่องที่จะเขียน กำหนดชื่อเรื่อง กำหนดวัตถุประสงค์และสมมุติฐาน ทำโครงร่าง เริ่มต้นเขียน ให้คำนำกล่าวถึงความเป็นมา ควรเสนอเนื้อหาเป็นประเด็น สรุปเนื้อหาอย่างกระชับและชัดเจน ให้ผู้อื่นช่วยอ่าน เพื่อรับคำวิจารณ์ นำคำวิจารณ์มาปรับปรุง ถ้าเป็นภาษาอังกฤษ ควรให้เจ้าของภาษาช่วยอ่านและแก้ก่อน ทำความเข้าใจกับคำวิจารณ์ แก้ไขและสรุปตามผู้วิจารณ์ แก้ไขภาษาให้สมบูรณ์และเป็นระบบ ตรวจสอบต้นฉบับจากบรรณาธิการอย่างละเอียดถี่ถ้วน
เขียนบทความทางวิชาการอย่างไรให้ได้ Impact Factors สูงสุด (ศ.ดร.ปิยนาถ บุนนาค) ข้อควรระวังในการเขียนภาษาอังกฤษ ควรระวังการเขียนชื่อเฉพาะเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้คำและภาษาตรงกับราชบัณฑิตยสถาน ระวังเครื่องหมายวรรคตอน การใช้ Article และ Tense