วันลบมลทินบาป บทที่ 6 วันที่ 9 พฤษจิกายน 2013
วันแห่งการลบมลทินบาป : แกนหลักแห่งหนังสือเบญจบรรณ 6 เพราะเหตุใดเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้จึงถูกบันทึกเอาไว้ในใจกลางของหนังสือเลวีนิติ? วันแห่งการลบมลทินบาป เลวีนิติ. 16 5 5’ บทบัญญัติสำหรับประชาชน เลวีนิติ. 10-15 เลวีนิติ. 17-20 4 4’ บทบัญญัติสำหรับปุโรหิต เลวีนิติ. 8-10 เลวีนิติ. 20-22 3 3’ บทบัญญัติสำหรับสถานศักดิ์สิทธิ์ เลวีนิติ. 1-7 เลวีนิติ. 23-27 2 2’ อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี 1 ปฐมกาล พระบัญญัติ 1’ กระบวนการชำระความผิดบาปของพระเจ้าที่กระทำต่อมนุษย์จะสิ้นสุดลงในวันลบมลทินบาป
ขั้นตอนกระบวนการชำระให้บริสุทธิ์ การถวายบูชาเป็นประจำทุกวัน : ความบาปได้รับการถ่ายทอดไปสู่สถานศักดิ์สิทธิ์ วันแห่งการลบมลทินบาป : ความบาปได้ถูก เคลื่อนย้าย ออกจากสถานศักดิ์สิทธ์ การถวายบูชาของปุโรหิต: มหาปุโรหิตจะต้องเป็นผู้บริสุทธิ์เมื่อเขาจะกระทำพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ เครื่องถวายบูชาอันศักดิ์สิทธิ์; แพะ “สำหรับพระเจ้า”: จะถวายบูชาเพื่อชำระให้สถานศักดิ์สิทธิ์มีความบริสุทธิ์ด้วยโลหิตของแพะตัวนั้น เคลื่อนย้ายความบาป; แพะ “สำหรับ อาซาเซล”: จะถูกนำไปยังป่ากันดารพร้อมกับความบาปของชาวอิสราเอลที่ถูกวางเอาไว้บนแพะตัวนั้น ให้เราศึกษาพิธีกรรมเหล่านี้ โดยการศึกษาในหัวข้อสำคัญๆ ดังนี้: มหาปุโรหิต แพะ “สำหรับพระเจ้า” แพะ “สำหรับอาซาเซล” ประชาชนของพระเจ้า
พระเยซูคริสต์ทรงเป็นมหาปุโรหิตของเราในสถานศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์สถาน “ให้ปุโรหิตผู้ถูกเจิม และรับการสถาปนาเป็นปุโรหิตแทนบิดาของตนทำการลบมลทิน ให้เขาสวมเสื้อผ้าป่านคือเสื้อตำแหน่งบริสุทธิ์ ให้เขาลบมลทินแก่อภิสุทธิสถาน ให้เขาลบมลทินให้แก่เต็นท์นัดพบ และให้แก่แท่นบูชา ให้เขาลบมลทินให้แก่ปุโรหิตทั้งหลายและประชาชนทั้งหมดของชุมนุมชนนั้น” (เลวีนิติ 16:32-33) มหาปุโรหิตจะเป็นผู้กลางระหว่างพระเจ้ากับพล ไพร่ของพระองค์ หน้าที่แรกในวันแห่งการลบมลทินบาปคือ การ ถวายบูชาเพื่อตัวของมหาปุโรหิต และเหล่า ปุโรหิตทั้งหลายก่อน เพราะผู้กลางระหว่างพระ เจ้ากับมนุษย์จะต้องเป็นผู้ปราศจากความบาป “เพราะว่าเราไม่ได้มีมหาปุโรหิตที่ไม่สามารถจะเห็นใจในความอ่อนแอของเรา แต่ทรงเคยถูกทดลองใจเหมือนเราทุกอย่าง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังปราศจากบาป” (ฮิบรู 4:15) พระเยซูคริสต์ทรงเป็นมหาปุโรหิตของเราในสถานศักดิ์สิทธิ์บนสวรรค์สถาน
แพะ “สำหรับพระเจ้า” “แล้วให้อาโรนฆ่าแพะที่เป็นเครื่องบูชาลบล้างบาปสำหรับประชาชน นำเลือดแพะเข้าไปภายในม่านฒ เอาเลือดแพะไปทำเช่นเดียวกับที่ทำกับเลือดโค คือประพรมบนพระที่นั่งกรุณาและที่ข้างหน้าพระที่นั่งกรุณา” (เลวีนิติ 16:15) จะไม่มีการวางมือ หรือสารภาพบาป หรือประพรมเลือดลง บนเชิงงอนของแท่นเผาเครื่องหอม ดังนั้นเลือดของแพะตัวนี้จึงเป็นเลือดที่ปราศจากบาป เลือดจะถูกนำเข้าไปยังเบื้องหน้าของหีบพันธสัญญาใน ห้องอภิสุทธิสถาน และจะถูกประพรมลงบนพระที่นั่ง กรุณา ดังนั้นโลหิตนี้จึงไม่ได้ถูกใช้เพื่อการอภัยบาป แต่เพื่อการ ชำระให้บริสุทธิ์เท่านั้น
E.G.W. (The Great Controversy, cp. 24, pg. 420) “ความจริงที่สำคัญที่เกี่ยวกับความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปคือ ตัวแทนที่จะเข้ามาแทนที่ของคนบาปซึ่งความบาปของเขาได้รับการชำระด้วยโลหิตของสัตวบูชานั้น ซึ่งหมายความว่าความบาปจะถูกถ่ายเทไปสู่สถานศักดิ์สิทธิ์ และโดยเลือดของสัตวบูชาคนบาปผู้อยู่ใต้ธรรมบัญญัติได้สารภาพการล่วงละเมิดของเขา และแสดงความปรารถนาที่จะได้รับการอภัยโทษบาปจากพระผู้ช่วยให้รอดที่จะเสด็จมา; แต่ทว่าความผิดบาปนั้นมิได้สูญหายไปการลงโทษความบาปยังมิได้เกิดขึ้น ในวันลบมลทินบาปนั้นมหาปุโรหิตจะถวายสัตวบูชาจากที่ประชุมของประชาชน และเข้าไปสู่ห้องอภิสุทธิสถานพร้อมด้วยเลือดของสัตว์นั้น และประพรมบนที่นั่งพระกรุณา ซึ่งอยู่เหนือพระบัญญัติของพระเจ้าเพื่อร้องทูลขอพระเมตตาต่อพระองค์” E.G.W. (The Great Controversy, cp. 24, pg. 420)
แพะ “สำหรับอาซาเซล” “เมื่ออาโรนทำการลบมลทินของอภิสุทธิสถาน เต็นท์นัดพบ และแท่นบูชาเสร็จแล้ว เขาจะถวายแพะตัวที่มีชีวิตอยู่ อาโรนจะเอามือทั้งสองวางบนหัวแพะที่มีชีวิตนั้น สารภาพบาปต่างๆ ของคนอิสราเอล การล่วงละเมิดของพวกเขาทั้งหมด และให้บาปทั้งสิ้นของพวกเขาตกลงบนหัวแพะนั้น จากนั้นจงปล่อยมันเข้าไปในถิ่นทุรกันดารโดยมือของคนที่เลือกไว้ แพะนั้นจะบรรทุกความผิดทั้งหมดไปยังที่เปลี่ยว แล้วเขาก็ปล่อยให้มันเข้าถิ่นทุรกันดารไป” (เลวีนิติ 16:20-22) “อาซาเซล” คือชื่อที่ใช้เรียก ซาตาน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบต่อต้นกำเนิด ของบาปทั้งปวงในจักรวาลนี้ สถานศักดิ์สิทธิ์และประชาชนจะได้รับการชำระให้บริสุทธิ์ เมื่อความ บาปของประชาชนได้ถูกสารภาพและวางลงบนหัวของแพะตัวนี้ จะไม่มีความตายเพื่อการไถ่ถอนบาปเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ และซาตานจะ เป็นผู้รับผิดชอบสูงสุดต่อความบาปมันได้ชักนำให้มนุษย์กระทำตลอดมา เหมือนกับที่อัมมานถูกแขวนบนตะแลงแกงที่เขาเตรียมเอาไว้เพื่อ โมรเดคัย ซึ่งนั่นคือผลจากการกระทำที่เขาเองได้กระทำไว้ต่อคนอื่น
ชาวอิสราเอลกระทำสิ่งใดในวันลบมลทินบาป? เราได้เรียนรู้สิ่งใดบ้าง? ประชากรของพระเจ้า “ให้เป็นกฎเกณฑ์ถาวรแก่เจ้าทั้งหลายว่าในวันที่สิบเดือนที่เจ็ด พวกเจ้าต้องปฏิเสธความปรารถนาของตนเอง และต้องไม่ทำการงานใดๆ ทั้งตัวชาวเมืองเองหรือคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ท่ามกลางพวกเจ้า” (เลวีนิติ 16:29) ชาวอิสราเอลกระทำสิ่งใดในวันลบมลทินบาป? เราได้เรียนรู้สิ่งใดบ้าง? พวกเขาต้องปฏิเสธความปรารถนาของตนเอง (ถ่อมกายใจลง) พวกเขาจะไม่ทำการงานใดๆ พวกเขาจะมารวมตัวกันที่สถานศักดิ์สิทธิ์ และจดจ่ออยู่กับพิธีกรรมอันสำคัญนี้ ถ้ามีคนใดในหมู่ชาวอิสราเอลในสมัยนั้นไม่ปฏิบัติตามนี้ พวกเขาจะถูกตัดออกจากชุมนุมชน และถูกสังหาร (เลวีนิติ 23:29, 30) วันแห่งการลบบาปเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นความเป็น และความตายสำหรับชาวอิสราเอล ซึ่งเป็นคำสั่งที่ให้ประชากรของพระเจ้ามีความสัตย์ซื่อต่อพระองค์อย่างสมบูรณ์
”ขณะนี้พวกเรามีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาแห่งวันลบบาปที่สำคัญยิ่ง ในสมัยก่อนเมื่อมหาปุโรหิตได้ทำการลบบาปให้กับชาวอิสราเอลนั้น พวกเขาจะต้องระงับความปรารถนาของตนถ่อมจิตใจลงด้วยการกลับใจจากบาปต่อเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้า มิฉะนั้นเขาจะต้องถูกตัดออกจากชุมชนชาวอิสราเอล ในลักษณะเดียวกัน เหล่าผู้ที่มีชื่ออยู่ในสมุดบัญชีแห่งชีวิต, ในช่วงระยะเวลาแห่งพระกรุณาที่ยังเหลืออยู่เพียงเล็กน้อยนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องควบคุมจิตใจของเรา เสียใจในความผิดบาปและกลับใจอย่างแท้จริงต่อเบื้องพระพักตร์ของพระเจ้า”… E.G.W. (Christ in His Sanctuary, cp. 9, pg. 126)
… จะต้องมีการกลับใจอย่างลึกซึ้งเพื่อแสวงหาแสงสว่างความจริง การเป็นคริสเตียนที่ตามใจตนเองจะต้องถูกนำออกไป เป็นสงครามเริ่มแรกที่จะต้องผ่านไปและความชั่วร้ายนี้ก็พยายามมุ่งที่จะทำลายเราให้ได้ เป็นสิ่งแรกที่เราจะต้องกระทำด้วยตัวของเราเอง ความรอดมิได้รับมาโดยกลุ่มชน หรือโดยการเป็นสมาชิกของคริสตจักร ความบริสุทธิ์และการอุทิศถวายจะไม่สามารถชดเชยให้กับบุคคลอื่นได้ ผ่านทางชนชาติต่างๆ ได้ผ่านกระบวนการพิพากษาของพระเจ้ามาแล้วก่อนหน้านี้ จะเป็นตัวอย่างให้เราเห็นได้ว่าการพิจาณาพิพากษานั้นเกิดขึ้นเฉพาะตัวแต่ละบุคคลที่อยู่บนโลกนี้ และทุกคนจะต้องผ่านการทดสอบจนกระทั่งสามารถตรวจสอบได้ว่าพวกเขาจะต้องปราศจากตำหนิหรือริ้วรอยใดๆ E.G.W. (Christ in His Sanctuary, cp. 9, pg. 126)