จักรเย็บผ้า
จักรเย็บผ้า จักรเย็บผ้าเป็นเครื่องมือในการตัดเย็บที่มีราคาแพงสุด และมีความสำคัญ โดยช่วยให้การเย็บผ้าได้รวดเร็ว สวยงาม และประณีต จักรเย็บผ้ามีอยู่หลายชนิด บางชนิดสามารถปักลาย ซิกแซกและถักรังดุมได้ ราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพและสิทธิภาพการทำงานของจักร ถ้าเป็นจักรธรรมดาใช้สำหรับเย็บเส้นได้อย่างเดียว ไม่สามารถเย็บซิกแซกได้ ราคาประมาณ 1,000 บาท แต่ก็สามารถใช้การได้ดีสำหรับจักรที่มีประสิทธิภาพการใช้งานได้หลายอย่าง เช่น จักรเย็บไฟฟ้าจะมีราคาตั้งแต่ 2,500 บาทถึงราคา 45,500 บาท
ส่วนประกอบของจักรเย็บผ้า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ส่วนประกอบของหัวจักร หัวจักร คือ ส่วนเครื่องจักรที่ตั้งอยู่บนโต๊ะ สปริงกระตุกด้าย ที่คล้องด้ายสำหรับคล้อง ที่บังคับด้ายบน แกนใส่หลอดด้าย ที่ยกตีน หมุดรัดเข็มจักร ตีนผี ห่วงสำหรับคล้องด้าย ไส้กระสวย ฝาครอบกระสวย ที่บังคับฝีเข็ม แกนกรอด้าย วงล้อประคับ หมุดที่บังคับ มอเตอร์กระสวย ฟันจักร 2.ส่วนประกอบของตัวจักร คือ ที่วางเท้า ขาจักร วงล้อพานจักร
การใช้จักรเย็บผ้า การฝึกบังคับจักร ควรปฎิบัติในเบื้องต้นดังต่อไปนี้ 1.นั่งให้ตัวตรง วางเท้าตรงที่วางเท้าของจักรเย็บผ้า 2.มือขวาหมุนวงล้อประดับเข้าหาตัว 3.ขณะที่หมุนวงล้อประดับหมุน ที่วางเท้าจะเคลื่อนไหว เพื่อให้ผู้ฝึกถีบจักรโดยใช้แรงจากปลายเท้าและส้นเท้า ให้วงล้อประดับหมุนเข้าหาตัว โดยจังหวะการหมุนสม่ำเสมอ 4.การบังคับจักรเย็บผ้าให้หยุด ควรค่อยๆ ชะลอความเร็ว ถ้าผู้ฝึกปฏิบัติโดยใช้วิธีกดเท้า ฝีเข็มจะถอยหลัง ด้ายเย็บเป็นปมพันกัน อาจทำให้เข็มหักได้
การบำรุงรักษาจักรเย็บผ้า จักรเย็บผ้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้งานตัดเย็บเสื้อผ้า การบำรุงรักษาจักรให้อยู่ในสภาพดีจะช่วยให้อายุการใช้งานของจักรได้ยาวนานและคงทนถาวร ซึ่งควรปฏิบัติ ดังนี้ 1.หยอดน้ำมันจักรอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง 2.ถ้าไม่ใช้จักรเป็นระยะเวลานาน ควรจะใช้จาระบีใส ทาทุกส่วนที่เป็นโลหะ ให้ทั่ว เพื่อป้องกันสนิมและคลุมจักรให้มิดชิด 3.ไม่เก็บจักรในที่ชื้น หรือห้องที่ชื้น เพราะจะทำให้เป็นสนิมได้ง่าย 4.ทำความสะอาดจักรอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยใช้แปรง นุ่มๆ ปัดบริเวณฟันจักรหมุดรัดเข็มและบริเวณหัวจักรส่วนอื่นๆ
นางสาวพรทิพย์ ชัยปรีชา ชั้น ปวส. 2/1 แผนกการบัญชี เลขที่ 24 จบการนำเสนอ จัดทำโดย นางสาวพรทิพย์ ชัยปรีชา ชั้น ปวส. 2/1 แผนกการบัญชี เลขที่ 24