การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research)
การวิจัยคืออะไร การวิจัยเป็นรูปแบบหนึ่งของการแสวงหาความรู้ ความจริง ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ เกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในสังคมด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Kerlinger : 1988)
เชิงปฏิบัติการ คืออะไร การปฏิบัติงานในกิจกรรมการพัฒนาที่ควบคู่ไปกับการวิจัย
การมีส่วนร่วม คืออะไร การเข้าร่วมอย่างแข็งขันของกลุ่มบุคคลในขั้นตอนต่างๆ ของการดำเนินกิจกรรมอย่างหนึ่ง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม คือ การแสวงหาความรู้ ความจริงที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ ตรวจสอบได้ โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีกลุ่มบุคคลเข้ามาร่วมกันเรียนรู้เพื่อรู้จักตัวเอง ชุมชน สิ่งแวดล้อม ให้เห็นปัญหาของตัวเอง และเห็นทางแก้หรือทางออกจากปัญหา โดยลงมือปฏิบัติจริง ได้ผลจริง แก้ปัญหาได้จริง
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) คือ การวิจัย ค้นว้า และหาความรู้ตามหลักการของการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์แบบเดิมๆ ต่างกันเพียงแต่ว่า PAR นั้นมีวัตถุประสงค์มุ่งไปที่การแก้ปัญหาในการพัฒนา และเป็นการวิจัยที่ดำเนินไปด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ร่วมงาน รวมทั้งในกระบวนการวิจัย และในการมีหุ้นส่วนใช้ประโยชน์ของการวิจัย กมล สุดประเสริฐ (2540 : 8)
ทำไมต้องเป็น PAR การวิจัยแบบเดิม (Tradition Research) เป็นการวิจัยที่ใช้ผู้วิจัยเป็นศูนย์กลาง (Researcher Center) องค์ความรู้ (Body of knowledge) อยู่ที่นักวิจัยที่เป็นคนนอกชุมชน วิจัยเพื่อรู้ ปัญหาของคนอื่น ผลการวิจัยจึงไม่ได้นำไปใช้แก้ปัญหา ส่วนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยโดยคนในชุมชน (Community Center) ร่วมกันเรียนรู้เรื่องชุมชนของตนเอง เห็นปัญหาของตัวเอง เห็นทางออก หรือทางแก้ปัญหาของชุมชนร่วมกัน และทุกคนในชุมชนร่วมกันแก้ปัญหาและรับผลของการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งเป็นการปรับปรุงวิธีการวิจัยดั้งเดิมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป้าหมายของ PAR การเรียนรู้ร่วมกันรวดเร็ว รื่นรมย์ และช่วยกันสร้างสรรค์ชุมชนให้สวยงาม สดใสรุ่งเรือง
แนวคิดพื้นฐานของ PAR ๑.PAR เป็นกระบวนการที่ไม่หยุดนิ่ง ๒.เชื่อว่าทุกคนมีศักยภาพที่จะร่วมกันเรียนรู้ ๓.เริ่มจากความรู้สึกของคนที่มีต่อปัญหา ๔.กระบวนการวิจัยต้องทำอย่างต่อเนื่อง
๕.PAR เป็นกระบวนการงานร่วมกัน เอนเอียงไปทางประชาธิปไตย ๖.เชื่อว่า คนต้องพัฒนาตนเอง แก้ปัญหาเอง ๗.PAR เรียนรู้จากประสบการณ์ ยอมรับความคิดเห็น
วัตถุประสงค์ของ PAR ๑.เพื่อปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนตระหนักในปัญหา หน้าที่ และร่วมกันแก้ปัญหาของตนเอง ๒.เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้แบบพหุภาคี (Steak Holder) ๓.เพื่อให้ชุมชนร่วมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ๔.เพื่อส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม และการทำงานร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
PAR เป็นการวิจัยและพัฒนาชุมชน เป็นเรื่องของชุมชน คนภายนอกควรไปเรียนรู้กับชุมชน หยุดเสียที…คนใจดี…ชี้นำชุมชน
ศึกษาชุมชน คัดเลือกชุมชน เข้าสู่ชุมชน เตรียมคน วิธีการวิจัย PAR ระยะก่อนทำวิจัย สร้างสัมพันธภาพ ศึกษาชุมชน คัดเลือกชุมชน เข้าสู่ชุมชน เตรียมคน
๒. ระยะของการทำวิจัย ๑. ศึกษาชุมชน ปัญหา ๒. วิเคราะห์ปัญหา ๓. วิเคราะห์ความเป็นไปได้ เขียนโครงการแก้ปัญหา
๓. จัดทำแผน ตัดสินใจร่วมกัน ๔. ระยะนำแผนไปปฏิบัติ ๕. ระยะติดตามผลและประเมินผล การทำงาน เขียนรายงานวิจัย
เทคนิคและเครื่องมือวิจัย PAR ๑. การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ๒. Mind Map ๓. Focus Group Interview ๔. การสังเกต ๕. การสัมภาษณ์
๖. กระบวนการ AIC ๗. เทคนิค SWOT ฯ
เรื่องที่ต้องเรียนรู้ ๑. การเข้าสู่ชุมชน (มนุษยสัมพันธ์ ระเบียบวิธีวิจัย วิทยากรกระบวนการ) ๒. ความสำคัญของความหมาย ๓. EMIC ETIC ๔. RAP-port ฯ
บรรยายให้เห็นกระบวนการ ได้มาซึ่งข้อมูล พร้อมทั้งบอก เทคนิคการใช้ การเขียนรายงาน การเขียนรายงาน ต้องเขียน บรรยายให้เห็นกระบวนการ ได้มาซึ่งข้อมูล พร้อมทั้งบอก เทคนิคการใช้